Music Hit In your life

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

มาอีกแว้วววว... ความหวัง บรอดแบรนด์แห่งชาติ (ข่าว)

            จุติแนะทุกฝ่ายหยุดหมกมุ่นเรื่อง 3 จี เดินหน้าโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ กระจายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั่วประเทศค่าบริการ 200 บาทต่อเดือน



             นายจุติ ไกรฤกษ์ รมว.กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า ขณะนี้ต้องการให้ทุกคนหยุดหมกมุ่นและหลงประเด็น อยู่กับเรื่อง 3 จี ได้แล้ว เพราะ 3 จีเป็นเพียงหนึ่งในโครงการบรอดแบนด์แห่งชาติ หรือ การกระจายการใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงให้เข้าถึงทั่วประเทศ ซึ่งเป็นแผนใหญ่และมีประโยชน์มากกว่า จึงอยากให้หันมาให้ความนำคัญในเรื่องนี้แทน


ทั้งนี้ เพราะโครงการบรอดแบนด์ถือเป็นความร่วมมือระดับประเทศ โดยเป็นการใช้โครงข่ายร่วมกันระหว่าง การไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ทีโอที กสท โทรคมนาคม และผู้ให้บริการมือถือทั้ง 3 ราย คือ บรัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค และ บริษัท ทรูมูฟ

สำหรับแผนบรอดแบนด์แห่งชาตินั้นมี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงาน มีเป้าหมายขยายโครงข่ายบรอดแบนด์ครอบคลุมประชากรไม่น้อยกว่า 80% ภายในปี 2558 และ ไม่ต่ำกว่า 95% ในปี 2563 ค่าบริการโดยเฉลี่ยไม่เกิน 2% ของรายได้ประชากรหรือประมาณ 150-200 บาทต่อเดือน ซึ่งถือว่าต่ำมากหากเทียบกับค่าบริการปัจจุบันที่มีราคาเฉลี่ย 599ต่อเดือน หรือ 6% ของรายได้ประชากร

              นายจุติ กล่าวว่า ขณะนี้กำลังเร่งร่างแผนเพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการบรอดแบนด์ก่อนนำเข้าสู่ที่ประชุม ครม.อนุมัติ เบื้องต้นมีโครงการหลักๆ ของทีโอที และ กสทฯ ที่จะเข้ามาช่วยในเรื่องนี้ คือ โครงการโครงข่ายอนาคต หรือ เอ็นจีเอ็นมูลค่า 1.3 หมื่นล้านบาท โครงการเคเบิลใต้น้ำ โครงการขยายโครงข่ายเพื่อรองรับการใช้งานมัลติมีเดีย หรือ เอฟทีทีเอกซ์ มูลค่า 6,000 ล้านบาท

             นายวรุธ สุวกร กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทีโอที กล่าวว่า โครงการเอ็นจีเอ็นอยู่ระหว่างการนำเสนอให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศราฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ หลังจากนั้นจึงเสนอให้ครม.อนุมัติ


ทั้งนี้ จะนำร่องให้บริการ 100 จุด ใน 3 จังหวัด คือ ตรัง นครศรีธรรมราช และ พิษณุโลก ให้บริการที่ความเร็ว 2 เมกะบิตต่อวินาที ค่าบริการเดือนละ 200 บาท


              นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสทฯ กล่าวว่า เตรียมขยายการใช้งานบรอดแบนด์เพิ่มอีก 20% ในโซนภาคตะวันออกและตะวันตกที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรม และขยายจุดให้บริการอินเทอรืเน็ตไร้สายความเร็วสูง หรือ ไว-ไฟ เป็น 3.5 หมื่นแห่งทั่วประเทศ


อย่างไรก็ตาม บรอดแบนด์แห่งชาติ ถือเป็นหนึ่งในแผนแนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทย ตามแผนแม่บทไอซีที ฉบับที่ 2 ซึ่งมี 4 เรื่องที่ต้องดำเนินการ คือ บรอดแบนด์ แปรสัมปทานมือถือ แผนพัฒนาอุตสาหกรรมโทรศัพท์เคลื่อนที่ และ แผนพัฒนาอุตสาหกรรมการสื่อสารไร้สาย ทั้งหมดนี้จะต้องเสร็จภายใน 2 ปี

ที่มา : http://www.posttoday.com 

** ต้องคอยลุ้นกันอีกทีครับว่า การแถลงข่าวครั้งนี้จะเป็นการแก้ตัวให้กับ CAT หรือไม่ ๆๆๆ

วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

สุภิญญา นำชาวเน็ตแถลงการณ์ จี้รัฐบาลกดดัน กสท. ถอนฟ้อง กทช. กรณีประมูล 3G

22 กย. เมื่อวันที่ 20 กันยายน นส.สุภิญญา กลางณรงค์ เครือข่ายพลเมืองเน็ต และผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจำนวนหนึ่ง ร่วมกันร่างแถลงการณ์ขอให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมืองสนับสนุนการปฏิรูป กิจการโทรคมนาคมเพื่อประชาชนกรณีการประมูล 3G

ทั้งนี้ ได้มีการเปิดให้ผู้ที่เห็นด้วยลงชื่อในแถลงการณ์ โดยมีผู้ร่วมลงชื่อหลายร้อยคน ส่วนแถลงการณ์มีเนื้อหา ดังนี้

แถลงการณ์
ขอให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมืองสนับสนุนการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมเพื่อประชาชน กรณีการประมูลสามจี
จากกรณีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้ดำเนินการจัดประมูลคลื่นความถี่ 2100 หรือ 3G  ซึ่งตามกำหนดการเดิมจะมีการเริ่มต้นประมูลในวันนี้ (20 กันยายน 2553) รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับรู้และมีส่วนร่วมในแนวทางดังกล่าวของ กทช. มาโดยตลอด รวมทั้งหลายภาคส่วนในสังคมสนับสนุนแนวทางการประมูลครั้งนี้ ด้วยหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย

ทว่า หน่วยงานในกำกับของรัฐบาล คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด มหาชน ได้ดำเนินการฟ้องทางกฏหมายต่อ กทช. เรื่องอำนาจหน้าที่เพื่อจะระงับการประมูล (ข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ) จนนำไปสู่การชะงักงันของการประมูล ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย การฟ้องร้องครั้งนี้สะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่มีต่อองค์กรอิสระ ในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ
แม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีความซับซ้อนสูง เพราะปัญหาภายในที่สั่งสมมายาวนานของสังคมไทย แต่ทุกอย่างย่อมแก้ไขได้ด้วยเจตจำนงทางการเมือง ดังนั้นผู้มีรายชื่อข้างท้ายดังต่อไปนี้
ขอเสนอแนวทางต่อรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาต่อกรณีการประมูลสามจีที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้



1. ขอ ให้รัฐบาลเจรจากับผู้บริหาร กสท. ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับ เพื่อพิจารณาทบทวนการฟ้องร้อง กทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้การประมูลเดินหน้าไปได้
2. ขอ ให้รัฐบาลมีแนวทางในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อแก้ปัญหาของทั้งสองหน่วยงาน ที่จะได้รับผลประทบจากการประมูลสามจี สำหรับทางออกในระยะยาว
3. ใน ขณะที่ กทช. เดินหน้าเรื่องการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคม ขอให้รัฐบาลและรัฐสภาผลักดันกระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เป็นอิสระเพื่อมาปฏิรูปกิจการกระจายเสียงต่อไป
เราเห็นว่าการประมูลสามจีภายใต้เงื่อนไขของ กทช. ครั้งนี้ จะนำไปสู่การปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การ ประมูลครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิรูปกิจการโทรคมนาคม จากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต ภายใต้การกำกับดูแลโดยองค์กรอิสระ ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขันเสรีตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
2. การ ประมูลครั้งนี้จะนำไปสู่กระบวนการปฏิรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการปรับตัวในเรื่องประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะด้านโทร คมนาคม
3. การประมูลครั้งนี้จะนำ ไปสู่การพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อกระจายการเข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศออกไปในชนบท ลดช่องว่างทางเทคโนโลยี (digital divide) ในสังคม (ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์พื้นฐาน 10.37% อินเทอร์เน็ต 25.80% ในขณะที่เข้าถึงโทรศัพท์มือถือ 122.57%)
4. รัฐ จะได้ประโยชน์จากรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการประมูลคลื่นความถี่ฯ ที่ กทช. ต้องนำส่งเข้ารัฐเต็มจำนวน โดยไม่ถูกหักรายทางเหมือนระบบสัมปทาน
5. ถ้า การประมูลครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ต่อสายตาคนไทยและชาวโลกด้วยความโปร่งใส มากที่สุด จะช่วยกอบกู้ภาพลักษณ์ของประเทศในเรื่องการทุจริต การสมยอมได้
ดัง นั้น พวกเราตามรายชื่อข้างท้ายนี้เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมือง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคม ด้วยการให้ กสท.ยุติการดำเนินการทางกฏหมายต่อ กทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้การประมูลสามจีเดินหน้าไปได้ และก่อประโยชน์ร่วมของสังคมไทย
ด้วยความหวังที่จะได้เห็นการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมไทย






ร่วมลงชื่อได้ที่ http://bit.ly/thai3g-form


ดูรายชื่อผู้ร่วมสนับสนุนได้ที่ http://bit.ly/thai3g-name


เครดิต : http://news.mthai.com/general-news/88178.html 

วันพุธที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553

อัพเดตสถิติการคุกคามจากไวรัสคอมพิวเตอร์ เดือนกันยายน 2553

จากเว็บไซต์ http://www.virus-radar.com/ 





ไวรัสที่คุกคามมากที่สุด คือ a variant of Win32/Injector.BZ trojan (Shows specified virus progress in the last 24 hours)

ไวรัสที่คุกคามมากที่สุด 5 อันดับคือ
1. a variant of Win32/Injector.BZ trojan
2. Win32/Zafi.B worm
3. Win32/Netsky.Q worm
4. Win32/Oficla.II trojan
5. Win32/Netsky.AB worm

ดูข้อมูลกันแล้วก็อย่าลืมอับเดตโปรแกรม Anti Virus ของท่านอยู่เสมอนะครับ และก็หมั่นอับเดตข้อมูล ไวรัสคอมพิวเตอร์อย่างสม่ำเสมอ ได้ทาง เว็บบล็อกของเรา และก็ที่ http://www.virus-radar.com/ นะครับ

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

ลองมองหาเว็บไซต์ Social Network ดีๆสักเว็บเพราะเขาบล็อก Hi5 กับ Facebook

                  ในปัจจุบันมีเว็บไซต์ที่เป็น Social Network มากมาย กว่า 500 เว็บไซต์ แต่ที่นิยมกันมากๆ ในประเทศไทยก็เห็นจะเป็นเว็บไซต์


แต่ก็จะมีคนไทยบางส่วนที่หันไปเล่น เว็บไซต์ Myspace และ Multiply แต่จนแล้วจนรอดก็หนีไม่พ้น Facebook ที่ติดอันดับคนเล่นมากเป็นอันดับที่ 21 ของโลก และมีคนเล่นมากมายถึงกว่า 500 ล้านคนทีเดียว!

แล้วพอจะมีเว็บอื่นอีกไหม!!!
       
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต


        ที่พอจะมีแต่ก็ไม่ค่อยมีใครเล่นก็เห็นจะเป็นเว็บไซต์  www.flickr.com ที่เป็นเว็บไซต์ Social Network เจ้าของคือ Yahoo! นั่นเอง ที่ใช้แบ่งปันภาพถ่าย ที่มีคนไทยบางส่วนนิยมเล่น แต่ก็ยังไม่มากเท่าไร แค่ประมาณ 30 ล้านคนเท่านั้น เป็นสังคมแห่งการแชร์ภาพถ่าย แนวอาร์ตๆจากทั่วทุกมุมโลก





ภาพจาก www.flickr.com  

เทคโนโลยี 4G ในปัจจุบัน (Forth Generation )

                4G (สี่จี หรือ โฟร์จี) กล่าวถึงมาตรฐานโทรศัพท์มือถือที่เป็นรุ่นมาตรฐานที่ต่อจาก 3G และ 2G โดยความหมายของคำว่า 4G นั้นมีการกล่าวถึงในหลายความหมาย โดยความหมายที่นิยมในปัจจุบันจะอ้างอิงถึง IMT Advanced ที่กำหนดโดยไอทียู ที่มีข้อกำหนดว่า อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลต้องมีค่าข้อมูลสูงสุดที่ 100 Mbit/s ในช่วง high mobility และ 1 Gbit/s ในช่วง low mobility
ในปัจจุบัน เทคโนโลยี LTE มักจะถูกเรียกแทน "4G" (หรือบางครั้ง "3.9G") แม้กระนั้นมาตรฐาน LTE ในปี 2552 ยังไม่สอดคล้องกับมาตรฐานของทาง "IMT-Advanced" ซึ่งทางไอทียูได้มีการแนะนำ LTE Advanced สำหรับเรียกแทน 4G ที่แท้จริง
ในขณะเดียวกันได้มีการพัฒนา IEEE 802.16m WiMax สำหรับพัฒนาเป็น 4G เช่นกัน

การพัฒนา
ในสวีเดนและนอร์เวย์ ได้มีการเปิดตัว 4G โดยใช้เทคโนโลยี LTE
ในอเมริกา สปรินต์ได้เรียกระบบโทรศัพท์มือถือที่ใช้ WiMax ว่า 4G โดยมีความเร็วสูงสุดที่ 10 Mbit/sผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ TeliaSonera จากสวีเดน ได้เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือรุ่นที่ 4 หรือ 4G ที่ใช้เทคโนโลยี LTE แล้ว โดยเริ่มจากกรุงสตอกโฮล์ม ประเทศสวีเดน และกรุงออสโล ประเทศนอร์เวย์บริษัทได้กล่าวว่า จะเริ่มให้ลูกค้าได้ใช้เครือข่ายนำร่องนี้ในไตรมาสแรกของปี 2010

ข้อมูลจาก Wikipedia
            เทคโนโลยี 4จี เป็นเครือข่ายไร้สายความเร็วสูงชนิดพิเศษ หรือเป็นเส้นทางด่วนสำหรับข้อมูลที่ไม่ต้องอาศัยการลากสายเคเบิล โดยระบบเครือข่ายใหม่นี้ จะสามารถใช้งานได้แบบไร้สาย รวมถึงคุณสมบัติการเชื่อมต่อเสมือนจริงในรูปแบบสามมิติ (three-dimensional) ระหว่างผู้ใช้โทรศัพท์ด้วยกันเอง นอกจากนั้น สถานีฐาน ซึ่งทำหน้าที่ในการส่งผ่านสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่จากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง และมีต้นทุนการติดตั้งที่แพงลิ่วในขณะนี้ จะมีให้เห็นกันอย่างแพร่หลายเช่นเดียวกับหลอดไฟฟ้าตามบ้านเลยทีเดียว สำหรับ 4จี จะสามารถส่งผ่านข้อมูลแบบไร้สายด้วยระดับความเร็วสูงที่เพิ่มขึ้นถึง 100 เมกะไบต์ต่อวินาที ซึ่งห่างจากความเร็วของชุดอุปกรณ์ที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน ที่ระดับ 10 กิโลบิตต่อวินาที


ลักษณะเด่นของ 4G


              4G คือ Forth Generation ซึ่งในบ้านเรายังไม่มีให้เห็นกัน เมื่อพูดถึงเทคโนโลยีสื่อสารในยุค 4G เรื่องความเร็วนั้นเหนือกว่า 3G มาก คือทำความเร็วในการสื่อสารได้ถึงระดับ 20-40 Mbps เมื่อเทียบกับความเร็วที่ได้จาก 3G นั้นคนละเรื่องกันเลย ที่ญี่ปุ่นนั้นเครือข่ายโทรศัพท์ที่ใช้เทคโนโลยี 4G สามารถให้บริการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านมือถือได้แล้ว หรือจะโหลดตัวอย่างภาพยนตร์มาชมบนโทรศัพท์มือถือก็มีให้เห็นเช่นกัน ทำไมญี่ปุ่นถึงรีบกระโดดไปสู่ยุค 4G กันเร็วเหลือเกิน คำตอบง่าย ๆ ก็คือ “ดิจิตอลคอนเทนต์” เป็นตัวผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นนั่นเอง เมื่อผู้ให้บริการหลายหลายรูปแบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายที่มีความเร็วสูง สามารถรับส่งข้อมูลได้ในปริมาณมาก ๆ ดังนั้น การผลักดันตัวเองให้เข้าสู่ยุค 4G ที่ใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า 3G ก่อนคู่แข่ง น่าจะเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้องที่สุด


               ความโดดเด่นของ 4G คือ ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานบนเครือข่ายที่กินพื้นที่กว้างก็ได้หรือจะทำเป็นเครือข่ายขนาดย่อม ๆ แบบ WLAN ได้อีกด้วย นั่นจึงทำให้หลายคนมองว่า 4G จะมาเบียดเทคโนโลยีของ Wi-Fi หรือไม่ เพราะสามารถใช้งานได้ทั้งสองแบบ






ทำไมจึงอยากได้ 4G
เป็นคำถามที่น่าสนใจ มีเหตุผลอะไรจึงอยากได้เทคโนโลยีโทรศัพท์เคลื่อนที่ในยุคที่ 4 หรือ 4G กันมาก ถ้าจะสรุปเป็นคำตอบก็คงจะได้หลายประการด้วยกัน ซึ่งจะกล่าวถึงพอเป็นสังเขปดังนี้
1. สนับสนุนการให้บริการมัลติมีเดียในลักษณะที่สามารถโต้ตอบได้ เช่น อินเทอร์เน็ตไร้สาย และ เทเลคอนเฟอเรนซ์ เป็นต้น
2. มีแบนด์วิทกว้างกว่า สามารถรับ-ส่งข้อมูลด้วยอัตราความเร็ว (bit rate) สูงกว่า 3G
3. ใช้งานได้ทั่วโลก (global mobility) และ service portability
4. ค่าใช้จ่ายถูกลง
5. คุ้มค่าต่อการลงทุนด้านโครงข่าย

ที่มา http://www.tlcthai.com/

วันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2553

ใส่ @ นำหน้าชื่อเพื่อนใน Facebook ได้แล้ว ใส่ชื่อเพื่อนในโพสต์

            ฟีเจอร์ยอดนิยมใน Facebook คือการใส่แท็ก (tagging) ให้กับเพื่อนๆ ในรูปที่เราอัพโหลด ภายหลังได้ขยายมายังวิดีโอและ note ด้วย ล่าสุดอาจเป็นเพราะกระแสของ Twitter หรืออย่างไรก็ไม่ทราบ Facebook ได้ขยายการใส่แท็กเข้ามายัง status update แล้ว




            รูปแบบการใส่แท็กของ status update จะต่างออกไปจากรูปหรือวิดีโอ (ที่คลิกที่รูปแล้วมีชื่อเพื่อนขึ้นมาให้เลือกจิ้ม) แต่จะใช้การพิมพ์แล้วใส่ @ นำหน้าชื่อเพื่อนแทน จากนั้น Facebook จะขึ้นรายชื่อเพื่อนมาให้เลือกอีกครั้งหนึ่ง ในข้อความที่แสดงบน status update จะไม่มีตัว @ แต่จะกลายเป็นลิงก์ไปยังเพื่อนของเราคนนั้นแทน
เพื่อนคนที่ถูกแปะแท็กสามารถเอาชื่อตัวเองออกจาก status update ได้ Facebook กำลังทยอยเปิดฟีเจอร์นี้ให้ผู้ใช้เป็นบางส่วนอยู่ครับ


เครดิต http://www.blognone.com/node/13079

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

มาตรฐาน IEEE กับ Wi-Fi

              Wi-Fi หรือ เทคโนโลยีเครือข่ายไร้สายมาตรฐาน IEEE 802.11 ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 จัดตั้งโดยองค์การ Institute of Electrical and Electronics Engineers หรือ IEEE (ไอทริปเปิ้ลอี : สถาบันวิศวกรรมทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กโทรนิคส์) มีความเร็ว 1 Mbps ในยุคเริ่มแรกนั้นให้ประสิทธิภาพการทำงานที่ค่อนข้างต่ำ ทั้งไม่มีการรับรองคุณภาพของการให้บริการที่เรียกว่า QoS (Quality of Service) และมาตรฐานความปลอดภัยต่ำ จากนั้นทาง IEEE จึงจัดตั้งคณะทำงานขึ้นมาปรับปรุงหลายกลุ่มด้วยกัน โดยที่กลุ่มที่มีผลงานเป็นที่น่าพอใจและได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการว่า ได้มาตรฐานได้แก่กลุ่ม 802.11a , 802.11b และ 802.11g



  • มาตรฐาน IEEE 802.11b เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2542 ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า CCK (Complimentary Code Keying) ผนวกกับ DSSS (Direct Sequence Spread Spectrum) เพื่อปรับปรุงความสามารถของอุปกรณ์ให้รับส่งข้อมูลได้ด้วยความเร็วสูงสุดที่ 11 Mbps ผ่านคลื่นวิทยุความถี่ 2.4 GHz (เป็นย่านความถี่ที่เรียกว่า ISM (Industrial Scientific and Medical) ซึ่งถูกจัดสรรไว้อย่างสากลสำหรับการใช้งานอย่างสาธารณะด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และการแพทย์ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ความถี่ย่านนี้ก็เช่น IEEE 802.11, Bluetooth, โทรศัพท์ไร้สาย, และเตาไมโครเวฟ) มีระยะการส่งสัญญาณได้ไกลมาก ถึง 100 เมตร ปัจจุบันผลิตภัณฑ์อุปกรณ์เครือข่ายไร้สายภายใต้มาตราฐานนี้ถูกผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก และที่สำคัญแต่ละผลิดภัณฑ์มีความสามารถทำงานร่วมกันได้ อุปกรณ์ของผู้ผลิตทุกยี่ห้อต้องผ่านการตรวจสอบจากสถาบัน Wi-Fi Alliance เพื่อตรวจสอบมาตราฐานของอุปกรณ์และความเข้ากันได้ของแต่ละผู้ผลิต ปัจจุบันนี้นิยมนำอุปกรณ์ WLAN ที่มาตราฐาน 802.11b ไปใช้ในองค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา สถานที่สาธารณะ และกำลังแพร่เข้าสู่สถานที่พักอาศัยมากขึ้น มาตราฐานนี้มีระบบเข้ารหัสข้อมูลแบบ WEP ที่ 128 บิต
  • มาตรฐาน IEEE 802.11a เสร็จสมบูรณ์เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยออกเผยแพร่ช้ากว่าของมาตรฐาน IEEE 802.11b ใช้เทคโนโลยีที่เรียกว่า OFDM (Orthogonal Frequency Division Multiplexing) เพื่อปรับปรุงความเร็วในการส่งข้อมูลให้วิ่งได้สูงถึง 54 Mbps บนความถี่ 5Ghz ซึ่งจะมีคลื่นรบกวนน้อยกว่าความถี่ 2.4 Ghz ที่มาตรฐานอื่นใช้กัน ที่ความเร็วนี้สามารถทำการแพร่ภาพและข่าวสารที่ต้องการความละเอียดสูงได้ อัตราความเร็วในการรับส่งข้อมูลสามารถปรับระดับให้ช้าลงได้ เพื่อเพิ่มระยะทางการเชื่อมต่อให้มากขึ้น แต่ทว่าข้อเสียก็คือ ความถี่ 5 Ghz นั้น หลายๆประเทศไม่อนุญาตให้ใช้ เช่นประเทศไทย เพราะได้จัดสรรให้อุปกรณ์ประเภทอื่นไปแล้ว และยิ่งไปกว่านั้น ระยะการส่งข้อมูลของ IEEE 802.11a ยังสั้นเพียง 30 เมตรเท่านั้น อีกทั้งอุปกรณ์ของ IEEE 802.11a ยังมีราคาสูงกว่า IEEE 802.11b ด้วย ดังนั้นอุปกรณ์ IEEE 802.11a จึงได้รับความนิยมน้อยกว่า IEEE 802.11b มาก จึงทำให้ไม่ค่อยเป็นที่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร
  • มาตรฐาน IEEE 802.11g เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2546 ทางคณะทำงาน IEEE 802.11g ได้นำเอาเทคโนโลยี OFDM ของ 802.11a มาพัฒนาบนความถี่ 2.4 Ghz จึงทำให้ใช้ความเร็ว 36-54 Mbps ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่ามาตราฐาน 802.11b ซึ่ง 802.11g สามารถปรับระดับความเร็วในการสื่อสารลงเหลือ 2 Mbps ได้ตามสภาพแวดล้อมของเครือข่ายที่ใช้งาน มาตราฐานนี้เป็นที่ยอมรับจากผู้ใช้เป็นจำนวนมากและกำลังจะเข้ามาแทนที่ 802.11b ในอนาคตอันใกล้
  • นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นนี้มีบางผลิตภัณฑ์ใช้เทคโนโลยีเฉพาะตัวเข้ามาเสริม ทำให้ความเร็วเพิ่มขึ้นจาก 54 Mbps เป็น 108 Mbps แต่ต้องทำงานร่วมกันเฉพาะอุปกรณ์ที่ผลิตจากบริษัทเดียวกันเท่านั้น ซึ่งความสามารถนี้เกิดจากชิป (Chip) กระจายสัญญาณของตัวอุปกรณ์ที่ผู้ผลิตบางรายสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการรับส่ง สัญญาณเป็น 2 เท่าของการรับส่งสัญญาณได้แต่ปัญหาของการกระจายสัญญาณนี้จะมีผลทำให้อุปกรณ์ ไร้สายในมาตราฐาน 802.11b มีประสิทธิภาพลดลงด้วยเช่นกัน[2]
  • มาตรฐาน IEEE 802.11e คณะทำงานชุดนี้ได้รับมอบหมายให้ปรับปรุง MAC Layer ของ IEEE 802.11 เพื่อให้สามารถรองรับการใช้งานหลักการ Qualitiy of Service สำหรับ application เกี่ยวกับมัลติมีเดีย (Multimedia) เนื่องจาก IEEE 802.11e เป็นการปรับปรุง MAC Layer ดังนั้นมาตรฐานเพิ่มเติมนี้จึงสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ทุกเวอร์ชันได้ แต่อย่างไรก็ตามการทำงานของคณะทำงานชุดนี้ยังไม่แล้วเสร็จในขณะนี้
  • มาตรฐาน IEEE 802.11i คณะทำงานชุดนี้ได้รับมอบหมายให้ปรับปรุง MAC Layer ของ IEEE 802.11 ในด้านความปลอดภัย เนื่องจากเครือข่าย IEEE 802.11 WLAN มีช่องโหว่อยู่มากโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเข้ารหัสข้อมูล (Encryption) ด้วย key ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คณะทำงานชุด IEEE 802.11i จะนำเอาเทคนิคขั้นสูงมาใช้ในการเข้ารหัสข้อมูลด้วย key ที่มีการเปลี่ยนค่าอยู่เสมอและการตรวจสอบผู้ใช้ที่มีความปลอดภัยสูง มาตรฐานเพิ่มเติมนี้จึงสามารถนำไปใช้กับอุปกรณ์ IEEE 802.11 WLAN ทุกเวอร์ชันได้ แต่อย่างไรก็ตามการทำงานของคณะทำงานชุดนี้ยังไม่แล้วเสร็จในขณะนี้
  • มาตรฐาน IEEE 802.11n เป็นมาตรฐานใหม่ที่ทางWi-Fi Alliance กำลังอยู่ในช่วงการทดสอบ โดยคาดว่าจะมีความเร็วในการถ่ายโอนข้อมูลอยู่ที่ 74 Mbps และสูงสุดที่ 248 Mbps ซึ่งหมายถึงว่าความเร็วกว่ารุ่นก่อนถึงประมาณ 5 เท่า นอกจากนี้ก็ยังมีรัศมีทำการภาย ในอาคารที่ 70 เมตร และนอกอาคารที่ 160 เมตร เพิ่มความสามารถในการกันสัญญาณกวนจากอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ความถี่ 2.4GHz เหมือนกัน และสามารถรองรับอุปกรณ์มาตรฐาน IEEE 802.11b และ IEEE 802.11g ได้ มาตรฐาน IEEE 802.11n นี้ได้เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2552 แล้ว
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/Wifi
          http://www.vipconsulting.com/ 

HDTV ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

              ประเทศไทยเริ่มทดลองออกอากาศแบบ HD เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2552 และช่องแรกคือไทยทีวีสีช่อง 3 โดยทดลองออกอากาศระหว่างละครเวลา 20.30-22.30 และต่อมาในเวลา 19.00-20.00 โดยอุปกรณ์ทั้งหมดที่ต้องใช้เพื่อรับชมแบบ HD คือโทรทัศน์แบบ HD อย่างเดียว ไทยเป็นประเทศที่สามของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่เริ่มออกอากาศโทรทัศน์ในแบบ HD โดยประเทศที่ออกอากาศก่อนประเทศไทย คือ สิงคโปร์ และ มาเลเซีย ประเทศที่เริ่มออกอากาศแบบ HD ครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือสิงคโปร์ เริ่มออกอากาศตั้งแต่ต้นปี 2551. ประเทศที่เริ่มหลังจากประเทศไทยคือลาว ออกอากาศครั้งแรกระหว่างวันที่ 3-7 พฤษภาคม 2553 ทดลองออกอากาศระหว่างเวลา 9.00-15.30 ในการถ่ายทอดสด LTV Summer จากโรงเรียนแห่งชาติลาว. หลังจากช่อง 3 ได้ทดลองเรียบร้อยแล้วเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 23.59 หลังจากนั้นช่อง 3 ไม่สามารถรับชมแบบ HD ถ้าไม่มี Thai HD Receiver. ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553 เวลา 00.00น. ช่อง 3 เริ่มออกอากาศแบบ HD ตลอดเวลาทาง Thai HD Receiver




ภาพจากช่อง MCOT HD ซึ่งทำการออกอากาศโทรทัศน์ความละเอียดสูงครั้งแรกของไทย



ปัจจุบันในประเทศไทยมีผู้ให้บริการที่นำระบบ HDTV มาให้บริการดังต่อไปนี้


  • สถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมเอ็มคอท (MCOT) ซึ่งเป็นสถานีโทรทัศน์ของ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) ออกอากาศช่องรายการเอ็มคอท (เอ็ชดี) (MCOT HD) ผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ระบบ C-Band ด้วยเทคโนโลยี Digital Television DVB-S2 แบบ MPEG-4/HD[3][4] เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2552 ซึ่งนับเป็นสถานีโทรทัศน์ไทยช่องแรกที่ทำการแพร่ภาพในระบบ HD อย่างเป็นทางการ (ไม่ใช่ทดลองออกอากาศ) โดยรายการที่ออกอากาศแบบ HD แม้จะยังไม่เหมือนกับรายการช่อง MCOT แบบปรกติแต่เป็นรายการที่มีการผลิตรองรับระบบภาพ HD
  • ทรูวิชั่นส์ ได้ออกอากาศด้วยระบบ HD อย่างเป็นทางการเมื่อ 12 เมษายน พ.ศ. 2553 ผ่านระบบ DSTV ผ่านดาวเทียมไทยคม 5 ระบบ Ku-Band ด้วยเทคโนโลยี Digital Television DVB-S2 แบบ MPEG-2/HD[7]โดยมี 2 ช่อง HD คือ True Sport HD และ HBO HD โดยผู้รับต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ที่รองรับระบบ HD และมีแผนจะส่งสัญญาณ HD ในระบบ CATV ด้วยเทคโนโลยี Digital Television DVB-C เร็วๆนี้โดยผู้รับต้องเปลี่ยนอุปกรณ์ใหม่ที่รองรับระบบ HD เช่นกัน[8] และเมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2553ทางทรูวิชั่นได้เพิ่มช่อง True Reality HD สำหรับถ่ายทอดรายการ True Academy Fantasia สำหรับความละเอียดสูง

  • ทรีบรอดแบนด์ ผู้ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง มีบริการ 3BB HDTV แบบบอกรับเป็นสมาชิกบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงแก่ลูกค้า โดยสามารถต่อ อุปกรณ์ Set Top Box เข้ากับเครื่องรับโทรทัศน์ที่รองรับเพื่อรับชมรายการต่างๆ ซึ่งถือเป็น CATV ด้วยเทคโนโลยี Digital Television DVB-C
  • ช่อง 3 ออกอากาศละครในแบบ HDTV ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2552 โดยละครที่ออกอากาศอยู่ในช่วง 20.30-22.30, 19.00-20.00 และ 15.00-16.00 (เฉพาะละครที่ออกอากาศครั้งแรกหลังวันที่ 1 สิงหาคม 2552) ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2553 เริ่มออกอากาศแบบ HD ผ่านทาง Thai HD Receiver.
 
           นอกจากนี้ยังมีการถ่ายทอดสัญญาณแบบ HDTV เป็นครั้งคราวในโอกาสต่างๆ อาทิ การประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 23-25 ตุลาคม 2552 ณ โรงแรมดุสิตธานี หัวหิน ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ ได้มีการถ่ายทอดสัญญาณแบบ HDTV ส่งสัญญาณขึ้นดาวเทียม AsiaSat-5 เพื่อกระจายสู่ประเทศสมาชิก
 
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki

โทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition television หรือ HDTV)

                โทรทัศน์ความละเอียดสูง (High-definition television หรือ HDTV) เป็นการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ที่มีความละเอียดของภาพมากกว่าสัญญาณโทรทัศน์แบบดั้งเดิม (NTSC, SÉCAM, PAL) สัญญาณจะถูกแพร่ภาพในระบบดิจิทัล การถ่ายทอดสัญญาณภาพ HD เกิดขึ้นครั้งแรกของโลกในช่วงปี ค.ศ.1980 [1] สถานีโทรทัศน์ที่ออกอากาศระบบ HD แห่งแรกของโลกคือสถานีโทรทัศน์ NBC[2] ของสหรัฐอเมริกา จากนั้นเริ่มแพร่หลายไปใน ยุโรป ช่วงยุคปี ค.ศ.1992


สัญญาณที่ใช้กับ HDTV ต้องมีคุณสมบัติดังนี้


- จำนวนเส้นในการแสดงผล
- Progressive scan หรือ Interlace
- จำนวน frame หรือ field ต่อวินาที

ตัวอย่างเช่น 1080i50 หรือ 1080p60 เป็นต้น


              ขณะนี้ประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีการกระจายสัญญาณภาพและเสียงในระบบ HDTV อย่างเป็นทางการแล้ว ได้แก่ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ลาว และ ฟิลิปปินส์. ความละเอียดของ HDTV สามารถให้ความละเอียด ได้ 1920x1080 พิกเซล หรือเรียกว่า Full HD ซึ่งรองรับความละเอียดได้เต็มระบบของสัญญาณภาพสุงสุด ในระบบการออกอากาศของสัญญาณทีวีความละเอียดสูง (High-Definition Broadcasts) ความละเอียดของ HDTV ปัจจุบัน สูงถึง 3840 x 2160 พิกเซล หรือเรียกว่า Quad HDTV ส่วนใหญ่ไม่ใช้สำหรับรับสัญญาณโทรทัศน์ แต่ใช้สำหรับภาพที่มีความละเอียดสูง

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki

วิธีการเสียบปลั๊กอะแดปเตอร์ของโน้ตบุ๊ก

การเสียบปลั๊กอะแดปเตอร์ หรือ ที่ชาร์ตแบตที่ถูกต้องของโน้ตบุ๊ก นั้นให้เรา

1) เสียบปลั๊กเข้ากับเต้ารับที่บ้านหรือที่ทำงานก่อน
2) จากนั้นค่อยเอาปลายอีกด้านที่เหลือมาเสียบเข้ากับโน้ตบุ๊ก

วิธีการนี้จะทำให้ไม่เกิดการสปาร์กของกระแสไฟ และทำให้อุปกรณ์ต่างๆ ของโน้ตบุคทำให้ ใช้งานได้นานด้วยครับ

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การคงทนต่อความเสียหาย (Fault Tolerance)

                    Fault Tolerance คือ คุณสมบัติของระบบที่ทำให้ระบบสามารถปฏิบัติงานต่อไปได้แม้ว่าจะมีองค์ประกอบภายในบางอย่างเสียหาย หรือถ้าหากประสิทธิภาพการทำงานของระบบลดลงเนื่องจากความเสียหายภายใน ความสามารถที่ลดลงก็จะสอดคล้องกับความเสียหายภายในที่เกิดขึ้น ต่างจากระบบที่ไม่มี Fault Tolerance ซึ่งระบบทั้งหมดสามารถล้มเหลวโดยสิ้นเชิงได้เพียงเพราะความเสียหายที่เล็กน้อยก็ตาม ตัวอย่างของ Fault Tolerance ในแง่ของคอมพิวเตอร์ เช่น Load Balancing คือการกระจายงานไปให้คอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายอย่างเท่าๆกัน เพื่อที่ว่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะไม่ต้องรับภาระที่หนักเกินไป และเมื่อเครื่องใดเครื่องหนึ่งเสียหาย Load Balancer ก็จะกระจายงาน

                    เป็นความสามารถของระบบที่จะทำงานต่อไปได้ ในสภาวะที่มีความเสียหายเกิดขึ้น เป้าหมายของระบบที่คงทนต่อความเสียหาย คือป้องกันการล้มเหลวของการทำงานของระบบเท่าที่สามารถทำได้ การคงทนต่อความเสียหายสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งจะเป็นได้อย่างชัดเจนว่าการซ่อนความเสียหาย เป็นเทคนิคหนึ่งของการคงทนต่อความเสียหาย วิธีการอื่นได้แก่การตรวจจับข้อผิดพลาด และระบุตำแหน่งความเสียหาย เพื่อทำการจัดรูปการทำงานของระบบใหม่ (Reconfiguration) และนำโมดูลที่เสียหายออกจากระบบ การจัดรูปการทำงานของระบบเป็นขั้นตอนการนำโมดูลที่เสียหายออกจากระบบ และนำระบบกลับมาทำงานอย่างต่อเนื่อง การทำการจัดรูปการทำงานของระบบ ผู้ออกแบบจะต้องคำนึงถึงกระบวนการดังต่อไปนี้


การตรวจจับความเสียหาย (Fault Detection): เป็นกระบวนการที่ตรวจจับว่ามีความเสียหายเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งการตรวจจับความเสียหายมักเป็นความต้องการแรก ก่อนที่จะดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป


การระบุตำแหน่งความเสียหาย (Fault Location): เป็นกระบวนการสำหรับหาว่าระบบมีความเสียหายที่จุดไหน เพื่อที่จะสามารถดำเนินการกู้คืนได้ถูกต้อง


การจำกัดเขตความเสียหาย (Fault Containment): เป็นกระบวนการเพื่อแยกหรือกันความเสียหายออกจากการทำงานของระบบ เพื่อไม่ให้ความเสียหายดังกล่าวส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของระบบ หรือแพร่กระจายไปทั้งระบบ การจำกัดเขตความเสียหายเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ของระบบที่คงทนต่อความเสียหายทุกระบบ


การกู้คืนจากความเสียหาย (Fault Recovery): เป็นกระบวนการที่ทำให้ระบบสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง หรือกลับมาทำงานได้ ระหว่างการจัดรูปแบบการทำงาน เมื่อเกิดความเสียหายขึ้น

หลักการและความสำคัญของเทคโนโลยี Fault Tolerance

รายละเอียดและองค์ประกอบ
Fault Tolerance นั้นเหมือนเป็นชื่อเรียกกระบวนการที่จะจัดการกับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น ให้ระบบสามารถทำงานต่อไปได้ ซึ่งสามารถสร้างขึ้นในทุกๆระบบ ไม่จำเป็นจะต้องเป็นระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่ง ณ ที่นี่ จะกล่าวถึงเฉพาะ ในระบบคอมพิวเตอร์

การทำ Fault Tolerance ด้วยวิธี duplication เป็นหลักการโดยรวมในกระบวนการนี้ สามารถแบ่งได้เป็น 3 อย่างคือ
1. Replication จัดการสร้างการทำงานในลักษณะเดียวกัน หลายๆ ชุด โดยทำงานพร้อมๆกัน แล้วจึงนำมาเปรียบเทียบกันเพื่อ เลือกผลลัพธ์ที่ถูกต้องที่สุด
2. Redundancy จัดการสร้างระบบที่เหมือนๆกับระบบหลัก หลายๆชุด เพื่อมาสำรองใช้เวลา ที่ระบบหลักเกิดปัญหาขึ้น
3. Diversity จัดการกับงานในหลายๆ วิธี หลายๆรูปแบบ และทำในลักษณะเดียวกับแบบ Replication คือ เลือกผลลัพธ์ที่ถูกต้องที่สุด
 
วิธี Duplication นั้น เป็นเหมือนในลักษณะการป้องกัน คือไม่ให้เกิดความผิดพลาด หรือโอกาสเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด แต่เมื่อเจอกับความผิดพลาดแล้ว ระบบที่มี Fault Tolerance มักจะมีกระบวนในการจัดการเพื่อให้ระบบสามารถทำงานต่อไปได้ ซึ่งแบ่งได้คร่าวๆ ดังนี้



              – Fail-safe โปรแกรมป้องกันหรือระบบป้องกัน ที่จะทำงานเมื่อพบความผิดพลาดในระบบ


              – Failover ความสามารถในการสับเปลี่ยนระบบการทำงานหลักไปสู่ระบบสำรอง(Redundant) ซึ่งสามารถทำงานแก้ไขข้อผิดพลาดให้ถูกต้องได้ และทำงานต่อไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น จนกว่า ระบบหลักจะสามารถทำงานต่อได้


            – Failback ความสามารถในการทำให้ระบบกลับไปสู่สถานะ ก่อนที่จะเกิดความผิดพลาด โดยวิธีนี้ อาจจำเป็นต้องมีการทำ checkpoint เป็นประจำเพื่อเก็บสถานะที่ทำงานได้ถูกต้องล่าสุดเอาไว้


เครดิต http://hpc.ee.kmutnb.ac.th

ระบบกระจายศูนย์ (Distributed Systems)

ระบบกระจายศูนย์ (Distributed Systems) ประกอบด้วยโฮสต์คอมพิวเตอร์จำนวนหนึ่งที่มีขีดความสามารถในการประมวลผลด้วยตัวเอง ซึ่งกระจายกันอยู่ในสถานที่ต่างกัน ทำให้โฮสต์แต่ละเครื่องสามารถทำการประมวลผลได้โดยอิสระจากโฮสต์เครื่องอื่น ไม่มีผู้ใดให้คำจำกัดความของระบบการกระจายศูนย์ไว้อย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะมีความคล้ายคลึงกับนิยามของระบบแยกศูนย์ แต่จุดเด่นของระบบนี้คือการที่มีโฮสต์กระจายอยู่หลายแห่งซึ่งสามารถทำการประมวลผลได้แม้ว่าโฮสต์บางส่วนอาจหยุดทำงาน ในขณะที่ระบบแยกศูนย์เน้นเฉพาะการแยกข้อมูลออกจากศูนย์กลางโดยไม่ได้กล่าวถึงเรื่องโฮสต์ที่ทำการประมวลผล และการทำงานของระบบปฏิบัติการ เป็นต้น



                  โฮสต์เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องจะเชื่อมต่อกันผ่านระบบเครือข่ายเพื่อให้สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ จำนวนโฮสต์ของผู้ให้บริการและความสามารถของการประมวลผลนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้แต่ละกลุ่มเป็นหลัก การเชื่อมต่อแบบกระจายศูนย์ที่มีเครื่องเมนเฟรมอยู่ที่จุดศูนย์กลางเชื่อมต่อกับเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ที่อยู่ไกลออกไป
 

                      การควบคุมการทำงานบนระบบนี้อาจทำได้จากศูนย์กลางหรือจากโฮสต์ตัวใดตัวหนึ่งหรือหลายตัว การควบคุมจากศูนย์กลาง (Centralized Control) เครื่องเซิร์ฟเวอร์ (Server) ที่ทำหน้าที่ควบคุมระบบจะต้องเก็บรักษาข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรที่มีอยู่ในระบบทั้งหมด ระบบที่เป็นแบบกระจายศูนย์อย่างแท้จริงจะปล่อยให้โฮสต์แต่ละเครื่องควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ของตนเอง ในขณะเดียวกันก็สามารถใช้ทรัพยากร โปรแกรมประยุกต์และข้อมูลจากโฮสต์เครื่องอื่นที่มีอยู่ในระบบได้

คุณลักษณะของระบบกระจายศูนย์

ระบบการทำงานแบบกระจายศูนย์ได้รับการพัฒนาขึ้นมาให้สอดคล้องกับคุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ทางฝั่งผู้ใช้ เช่น เครื่องพีซีที่มีขีดความสามารถสูงทัดเทียมกับเครื่องเมนเฟรมในอดีต ทางด้านผู้ใช้จึงต้องมีการปรับปรุงการทำงานให้เหมาะสมกับความสามารถของเครื่องพีซีที่สูงขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องการใช้อุปกรณ์หรือข้อมูลร่วมกัน
ประเภทของระบบกระจายศูนย์

การแยกประเภทของระบบกระจายศูนย์สามารถพิจารณาได้หลายวิธี คือ ระบบกระจายศูนย์ตามตำแหน่งผู้ใช้ ระบบกระจายศูนย์ตามหน้าที่การทำงาน ระบบกระจายศูนย์ตามวิธีการควบคุม และระบบกระจายศูนย์ตามวิธีการประมวลผล
            1 ระบบกระจายศูนย์ตามตำแหน่งผู้ใช้

ระบบกระจายศูนย์ตามตำแหน่งผู้ใช้ (Distribution by Location) ประกอบด้วยเซิร์ฟเวอร์และผู้ใช้จำนวนหนึ่งซึ่งอยู่คนละสถานที่ เช่น ต่างเมือง ต่างอาคาร ต่างห้องทำงาน หรืออยู่ในห้องทำงานเดียวกันแต่เป็นคอมพิวเตอร์คนละเครื่อง ที่ทำงานเป็นอิสระจากกันและกัน โดยมีการ เชื่อมต่อถึงกันด้วยระบบเครือข่ายสื่อสาร ตามคำจำกัดความนี้ระบบกระจายศูนย์ทุกแบบจัดว่าเป็นระบบกระจายศูนย์ตามตำแหน่งผู้ใช้
         2 ระบบกระจายศูนย์ตามหน้าที่การทำงาน

บริการทั้งหมดที่มีให้แก่ผู้ใช้ในระบบกระจายศูนย์นั้นอาจถูกแยกติดตั้งไว้ยังสถานที่ต่างกันได้ เช่น เครื่องมินิคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการทำงานของกลุ่มผู้ใช้ที่ทำหน้าที่ป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Data Entry) อาจมีโปรแกรมเพียงสองชนิดคือโปรแกรมสำหรับการป้อนข้อมูลและโปรแกรมสำหรับการแก้ไขข้อมูล ส่วนโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดเก็บ ค้นหา และวิเคราะห์ข้อมูลอาจ ติดตั้งไว้ที่โฮสต์ที่ศูนย์กลาง ระบบที่มีการวางโปรแกรมตามลักษณะการใช้งานเรียกว่า ระบบกระจายศูนย์ตามหน้าที่การทำงาน (Distributed by Functions) อย่างไรก็ตามเครื่องโฮสต์ที่กลุ่มผู้ใช้อาจมีโปรแกรมสำหรับการประมวลผลข้อมูลอยู่ด้วยก็ได้ ทำให้ข้อมูลที่จะส่งไปยังศูนย์กลางอาจเหลือเพียงข้อสรุปแทนที่จะเป็นข้อมูลที่ป้อนเข้ามาทั้งหมด
        3 ระบบกระจายศูนย์ตามวิธีการควบคุม

ระบบกระจายศูนย์ตามวิธีการควบคุม (Distribution by Control) เน้นที่การบริหาร (Management) เป็นหลัก ในระบบกระจายศูนย์ ผู้บริหารอาจนั่งทำงานอยู่ที่สถานที่ใดก็ได้ รวมทั้งที่ศูนย์กลาง ถ้าหากการควบคุมแยกอยู่ที่สาขา การแก้ไขเปลี่ยนแปลงโปรแกรมและโครงสร้างข้อมูลอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บริหาร ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อโปรแกรมอื่นรวมทั้งความสัมพันธ์กับข้อมูลในส่วนอื่นของระบบ ดังนั้นการเปลี่ยนแปลงจึงต้องกระทำภายใต้การควบคุมที่รัดกุม
       4 ระบบกระจายศูนย์ตามวิธีการประมวลผล

ระบบกระจายศูนย์อาจถูกกำหนดลักษณะจากวิธีการโครงสร้างของคอมพิวเตอร์ภายในระบบ ซึ่งมีการเชื่อมต่อถึงกันและวิธีการที่คอมพิวเตอร์เหล่านี้ถูกนำมาใช้ในการประมวลผลซึ่งเรียกว่า ระบบกระจายศูนย์ตามวิธีการประมวลผล (Distribution by Processing) เนื่องจากเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องอาจมีขีดความสามารถในการประมวลผลเท่าเทียมกันหรือบางเครื่องอาจมีความสามารถสูงกว่าเครื่องอื่น จึงแบ่งวิธีการจัดกลุ่มออกเป็นสองวิธีคือ ระบบกระจายศูนย์แบบตามลำดับชั้น และระบบกระจายศูนย์แบบตามแนวระนาบ ระบบกระจายศูนย์แบบตามระดับชั้น(Hierarchical Distributed System) จะจัดการแบ่งกลุ่มงานส่วนหนึ่งให้ทำการประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์กลาง ซึ่งมีขีดความสามารถสูงสุดในระบบ ส่วนที่เหลือนำไปประมวลผลที่เครื่องในกลุ่มผู้ใช้หรือที่เครื่องผู้ใช้โดยตรงที่ใช้คอมพิวเตอร์ที่มีขีดความสามารถในระดับธรรมดา บางทีเรียกระบบนี้ว่า ระบบแนวตั้ง (Vertical System)

 
เครดิต : http://www.dcs.cmru.ac.th/

IP Address (IPV4) กำลังจะหมดในปีหน้า!!!

          รายงานข่าวล่าสุด ที่อาจทำให้หลายคนเริ่มรู้สึกกังวลนั่นก็คือ IP Address หรือ IPV4 ชุดตัวเลข 32 บิต (ตัวอย่างเช่น 192.150.232.xxx) ที่ใช้อ้างอิงคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต (Internet) กำลังจะหมดภายในปีหน้านี้แล้ว นั่นหมายความว่า อุปกรณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากนั้นจะไม่มี IP ให้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ ฟังดูคล้ายกับปัญหา Y2K เมื่อ 10 ปีที่แล้วเลย



          เว็บไซต์ ReadWriteWeb รายงานว่า John Currn ซีอีโอของ American Registry of Internet Numbers (ARIN) เชื่อว่า Internet จะไม่มี IP address เหลือให้ใช้อ้างอิงภายในหนึ่งปีนับจับนี้ไป โดยสามารถติดตามการนับถอยหลังสำหรับวันที่เหลือได้จากทวิตเตอร์ IPv4 Countdown
 


          IPv4 เป็นการใช้ชุดหมายเลข 32 บิต ซึ่งทำให้สามารถอ้างอิงไอพีแอดเดรสที่ไม่เหมือนกันได้มากสุด 4 พันล้านหมายเลข แต่ผลจากการที่อุปกรณ์ต่างๆ ในปัจจุบันต่างก็สามารถเชื่อมต่อเน็ตได้หมด ตั้งแต่คอมพิวเตอร์ มือถือ ทีวี ไปจนถึงรถยนต์ ทำให้ IP Address ถูกใช้ไปอย่างรวดเร็วจนใกล้จะหมดภายในปีหน้านี้แล้ว ทางออกที่ได้มีการดำเนินการไปก่อนหน้านี้ก็คือ การใช้ IPv6 ซึ่งจะเป็นการใช้ชุดหมายเลข 128 บิต โดยจะทำให้มีแอดเดรสไว้ใช้อ้างอิงเพิ่มขึ้นหลายเท่าทวีคูณ หรือ 340,282,366,920,938,463,463,374,607,431,768,211,456 ไอพีแอดเดรส



           สถานการณ์ปัจจุบัน IPv4 เหลือแค่ 6% เท่านั้น ในขณะที่การเปลี่ยนจาก IPv4 ไปใช้ IPv6 ค่อนข้างช้า บริษัทอย่าง Google และ Facebook จะต้องทำการย้ายไอพีไปใช้การอ้างอิงแบบหมายมากมาย และหากการย้ายระบบไปสู่ IPv6 ไม่เร็วพอ จะเกิดการขาดแคลน IP จนอาจจะมีการขายไอพีในตลาดมึดด้วยราคาที่สูงมาก หวังว่า เราคงจะมีทางออกสำหรับการแก้ปัญหาในเร็ววันนี้ ข้างล่างเป็นมิเตอร์นับถอยหลังวันหมด IP Adress http://inetcore.com/project/ipv4ec/index_en.html






ที่มา http://www.3bb.co.th/news/techno_detail.php?cnt_id=526

วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553

กทช.ทวงจิตสำนึกโอปอเรเตอร์ เหตุนัมเบอร์พอร์ตฯเลื่อน


บอร์ด กทช. ทวงจิตสำนึกโอปอเรเตอร์ เหตุนัมเบอร์พอร์ตฯเจอโรคเลื่อน ระบุให้เวลาเตรียมงานตั้ง 1 ปี ชี้โทษปรับขั้นต่ำวันละ 2 หมื่นบาท เตรียมสรุปบทลงโทษที่ชัดเจน 6 ก.ย. ...


เมื่อวันที่ 1 ก.ย. นายสุรนันท์ วงศ์วิทยกำจร กรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กทช. เมื่อวันที่ 1 ก.ย.ว่า กทช.ได้มอบหมายให้คณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ โดยมีนายประเสริฐ อภิปุญญา รองเลขาธิการ กทช. เป็นประธาน ไปพิจารณาความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จากกรณีที่เอกชนไม่สามารถเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมาย หรือ นัมเบอร์พอร์ตทิบิลิตี้ ได้ตามกำหนดในวันที่ 31 ส.ค.2553 โดยให้กลับมารายงาน รวมถึงบทลงโทษที่จะมีกับเอกชนให้ชัดเจนต่อบอร์ด กทช.อีกครั้งในวันที่ 6 ก.ย.นี้


กรรมการ กทช. กล่าวต่อว่า ความผิดดังกล่าวถือเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 66 พ.ร.บ.ประกอบกิจการโทรคมนาคม มีโทษปรับขั้นต่ำวันละ 2 หมื่นบาท นับจากวันที่ฝ่าฝืนคำสั่ง ตลอดจนพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตประกอบกิจการ โดยค่าปรับนั้นอาจมากขึ้นตามการพิจารณาความเสียหายที่ประชาชน และส่วนรวมจะได้รับ นอกจากนี้ จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม หรือ สบท. มีประชาชนร้องเรียนเกี่ยวกับเรื่องนี้เข้ามาจำนวนมากเช่นกัน อย่างไรก็ตาม บทลงโทษครั้งนี้จะไม่มีผลต่อบริษัทที่จะเข้าร่วมประมูล 3 จี เนื่องจากเป็นคนละบริษัทกับที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ 2 จี


"กทช.ไม่ ได้รู้สึกเสียหน้ากับการที่นัมเบอร์ พอร์ตฯ ไม่เกิดขึ้น แต่เรื่องนี้เป็นจิตสำนึกของเอกชนมากกว่า ถ้าเอกชนตั้งใจที่จะให้บริการจริง ต้องเตรียมการไว้ตั้งแต่ล่วงหน้า เพราะระยะเวลาที่กทช.ให้ดำเนินการมากกว่า 1 ปี หากมีการติดตั้งระบบจริงก็สามารถเปิดทดลองให้บริการ แบบไม่เต็มรูปแบบได้ แต่กลับไม่ดำเนินการ แม้กทช.ชุดนี้จะหมดวาระลง แต่คำสั่งเรื่องบริการนัมเบอร์พอร์ตฯ ยังมีผลบังคับใช้ต่อไป นับจากนี้ไปสำนักงาน กทช.คงจะ ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนไม่มีการผ่อนผันอีกต่อไป อย่างไรก็ตาม ค่าปรับสูงหรือต่ำไม่สำคัญ แต่การจะเปิดใช้บริการได้เมื่อใดสำคัญมากกว่า เพราะเป็นประโยชน์สาธารณะที่ประชาชนควรจะได้รับ” นายสุรนันท์ กล่าว



ด้าน นายปรีย์มน ปิ่นสกุล ประธานกรรมการ บริษัท ศูนย์ให้บริการคงสิทธิเลขหมายโทรศัพท์ จำกัด หรือ เคลียริ่งเฮ้าส์ กล่าวว่า มาตรการที่ กทช.จะ ดำเนินการกับผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ ต้องดูว่าจะออกมาแบบไหน เพราะมาตรการที่จะปรับวันละ 2 หมื่น บาท หากเปิดบริการคงสิทธิเลขหมายไม่ทัน ก็ยังไม่เห็นกทช.ดำเนิน การอย่างใด จึงยังไม่สามารถให้ความเห็นได้ โดยที่ผ่านมาเข้าพบและหารือร่วมกับคณะกรรมการคงสิทธิเลขหมายอย่างต่อเนื่อง ทุกสัปดาห์ และให้เหตุผลไปแล้วว่าไม่สามารถเปิดให้บริการได้ทันตามที่กทช.กำหนด เพราะเอกชนทั้ง 5 ราย ประกอบด้วย บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส บริษัท ทรูมูฟ จำกัด บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือ ดีแทค บมจ. ทีโอที และบมจ กสท โทรคมนาคม หรือ CAT จะสามารถเปิดให้บริการคงสิทธิเลขหมายได้ในเดือน ธ.ค.2553 เนื่องจากต้องใช้เวลา 4-5 เดือนในการทดสอบระบบร่วมกันก่อนเปิดให้บริการ.

ที่มา http://www.norsorpor.com/

Joomla คืออะไร



Joomla! คือ โปรแกรม open source ที่เป็นระบบบริหารจัดการเนื้อหาเว็บไซต์ (Web Content Management Systems: CMS) ซึ่งถูกพัฒนาด้วย PHP และใช้ฐานข้อมูลของ MySQL ในการเก็บข้อมูล มีเทคนิคการเขียนโปรแกรมขั้นสูงภายใต้มาตรฐาน XHTML สามารถทำงานได้หลายแพลตฟอร์มที่รองรับ PHP และ mySQL ทั้งนี้ Joomla! ได้ถูกพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องจากทีมพัฒนาที่มีอยู่ทั่วโลก ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา โดยระยะเริ่มต้น Joomla! ได้มุ่งเน้นเพื่อใช้ในการพัฒนา Coporate Website หรือเว็บไซต์ของบริษัทและองค์กรต่างๆ รวมไปถึงเว็บ Intranet ภายในหน่วยงาน โดยมีจุดเด่นอยู่ที่ความสวยงามของรูปแบบที่ดูเป็นสากล รวมถึงความง่ายต่อการใช้งานของทั้งผู้พัฒนาและผู้เข้าชมเว็บไซต์ ซึ่งให้ความรู้สึกแตกต่างจาก CMS ทั่วไป ตรงที่คุณสามารถออกแบบและสร้างหน้าตาของเว็บไซต์ (Template) ได้ตามต้องการ


และเนื่องจากการพัฒนา Joomla! ที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ปัจจุบันมีเครื่องมือเสริมหลายตัวที่ช่วยในการนำไปใช้สร้างเว็บไซต์ได้หลายประเภทมากขึ้น อาทิ การสร้างเว็บไซต์เชิงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Commerce การสร้างเว็บท่า (Portals) การสร้างเว็บไซต์เพื่อใช้เป็น Community และเว็บไซต์ประเภทอื่นๆ หลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับการประยุกต์ใช้



หากคุณต้องการที่จะสร้างเว็บไซต์ แต่ไม่เคยรู้ว่าจะทำได้อย่างไร Joomla! สามารถช่วยได้โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านการเขียนโปรแกรมอย่าง HTML, XML, DHTML, PHP หรือแม้แต่ mySQL ซึ่งคุณสามารถเพิ่มเติมและเปลี่ยนแปลงเนื้อหา โดยไม่จำเป็นต้องเสียเวลาไปกับการแก้ไขโปรแกรม รวมถึง Joomla! ยังไม่มีขีดจำกัดในเรื่องของการออกแบบ ทำให้คุณสามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาเว็บไซต์ของคุณได้สวยงามตามต้องการ

เครดิต http://www.idesign.in.th/