Music Hit In your life

วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

ประวัติ และข้อคิดจาก สตีฟ จอบส์


สตีเฟน พอล "สตีฟ" จอบส์ (เกิด 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1955) เป็นผู้นำธุรกิจและนักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน ผู้ร่วมก่อตั้ง ประธาน อดีตประธานกรรมการบริหารของแอปเปิลคอมพิวเตอร์ และยังเคยเป็นประธานกรรมการบริหารพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ และเป็นคณะกรรมการบริหารบริษัทเดอะวอลต์ดิสนีย์ใน ค.ศ. 2006 หลังดิสนีย์ซื้อกิจการพิกซาร์
เขาร่วมก่อตั้งแอปเปิลคอมพิวเตอร์กับสตีฟ วอซเนียก ใน ค.ศ. 1976 เป็นผู้มีส่วนช่วยทำให้แนวความคิดเรื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเป็นที่นิยมขึ้นมา ด้วยเครื่อง Apple II ต่อมา เขาเป็นผู้แรกที่มองเห็นศักยภาพทางการค้าของส่วนประสานงานผู้ใช้แบบกราฟิกส์และเม้าส์ ที่ถูกพัฒนาขึ้นในศูนย์วิจัยซีร็อกซ์พาร์ค ของบริษัทซีร็อกซ์ และได้มีการผนวกเทคโนโลยีเหล่านี้เข้าไว้ในเครื่องแมคอินทอช หลังพ่ายแพ้ในการแย่งชิงอำนาจกับคณะกรรมการบริหารใน ค.ศ. 1984 จ็อบส์ลาออกจากแอปเปิลและก่อตั้งเน็กซ์ บริษัทพัฒนาแพลตฟอร์มคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะในการศึกษาขั้นอุดมศึกษาและตลาดธุรกิจ การซื้อกิจการเน็กซ์ของแอปเปิลใน ค.ศ. 1996 ทำให้จ็อบส์กลับเข้าทำงานในบริษัทแอปเปิลที่เขาร่วมก่อตั้งขึ้นนั้น และเขารับหน้าที่ CEO ตั้งแต่ ค.ศ. 1997 ถึง 2011 จ็อบส์ยังเป็นประธานกรรมการบริหาร และผู้บริหารระดับสูงของพิกซาร์แอนิเมชันสตูดิโอส์ ผู้นำด้านการผลิตภาพยนตร์แอนิเมชันด้วยคอมพิวเตอร์กราฟิกส์ ทั้งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่ 50.1% กระทั่งบริษัทวอลต์ดิสนีย์ซื้อกิจการไปใน ค.ศ. 2006 จ็อบส์เป็นผู้ถือหุ้นมากที่สุดของดิสนีย์ที่ 7% และเป็นสมาชิกคณะกรรมการบริหารของดิสนีย์
สตีฟ จอบส์ เกิดที่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย มีชื่อจริงว่า สตีเวน พอล จอบส์ เป็นบุตรบุญธรรมของนายพอล และนางคลารา จอบส์ (สกุลเดิม ฮาโกเพียน) ต่อมาพ่อแม่บุญธรรมก็รับผู้หญิงมาเป็นบุตรบุญธรรมอีกคน ชื่อ แพตตี้ ส่วนบิดามารดาที่แท้จริงของจอบส์ เขามีบิดาชื่อ นายอับดุลฟัตตะห์ จันดาลี ชาวซีเรียมุสลิม นักศึกษา (ในขณะนั้น) แต่ต่อมาได้ทำงานเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยสาขารัฐศาสตร์ กับนางโจแอน ซิมป์สัน นักศึกษาชาวอเมริกัน ต่อมาได้ทำงานเป็นวิทยากรในการบำบัด ต่อมาภายหลังบิดามารดาได้สมรสกันและให้กำเนิดน้องสาวร่วมสายเลือดของจอบส์ คือ โมนา ซิมป์สัน นักแต่งนวนิยาย
ในปีค.ศ. 1972 จอบส์จบการศึกษาจากโฮมสตีดไฮสคูล ในเมืองคิวเปอร์ทีโน มลรัฐแคลิฟอร์เนีย และได้สมัครเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยรีด (Reed College) ในเมืองพอร์ตแลนด์ มลรัฐโอเรกอน แต่ก็ต้องลาพักการเรียนหลังจากเข้าเรียนได้เพียงหนึ่งภาคการศึกษา หลายปีต่อมา ในปาฐกถาครั้งหนึ่งในพิธีสำเร็จการศึกษาของบัณฑิตมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ปีค.ศ. 2005 จอบส์ได้กล่าวว่าเขายังคงศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยรีด รวมทั้งเข้าชั้นเรียนคัดตัวหนังสือ "ถ้าผมขาดเรียนวิชานั้นไปเพียงวิชาเดียวที่วิทยาลัยรีด เครื่องแมคอินทอชคงจะไม่มีรูปแบบอักษรหลากหลาย และปราศจากฟอนต์ที่มีการแบ่งระยะห่างอย่างถูกสัดส่วนเช่นนี้" จอบส์กล่าว

สุนทรพจน์ของสตีฟ จ็อปส์ (Steve Jobs) 


“คุณต้องค้นหาสิ่งที่คุณรักให้พบ”
(You’ve got to find what you love)


“คุณต้องค้นหาสิ่งที่คุณรักให้พบ”
นี่เป็นสุนทรพจน์ที่กล่าวในงานรับปริญญาโดยสตีฟ จ็อปส์ CEO ของ Apple Computer และ Pixar Animation Studios เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2005 ที่ผ่านมา
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้มาร่วมงานกับทุกคนวันนี้ในงานรับ ปริญญาของมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าดีที่สุดในโลก ผมไม่เคยเรียนจบสูงขนาดนี้ มันเป็นความสัตย์จริง นี่เป็นระดับสูงที่สุดที่ผมสำเร็จจากสถาบันอุดมศึกษา วันนี้ผมอยากจะเล่าเรื่องเกี่ยวกับชีวิตของผมให้ฟังสัก 3 เรื่อง ไม่มีอะไรมาก แค่เรื่อง 3 เรื่อง
เรื่องแรกเป็นเรื่องของการเชื่อมต่อเรื่องราวต่างๆ
ผมตัดสินใจหยุดเรียนชั่วคราวหลังจากเข้าเรียนที่ Reed College ได้ประมาณ 6 เดือน แต่ก็ยังไปเรียนอยู่ประมาณ 18 เดือนก่อนที่จะลาออกจริงๆ ทำไมผมถึงเลือกที่จะหยุดเรียนชั่วคราวหล่ะ?
เรื่องมันเริ่มตั้งแต่ผมเพิ่งลืมตามาดูโลกนี้ แม่บังเกิดเกล้าของผมขณะนั้นอายุยังน้อย ยังไม่ได้แต่งงาน และยังเรียนหนังสือระดับอุดมศึกษาอยู่ ท่านก็ตัดสินใจที่จะพาผมไปฝากเลี้ยงไว้สักที่หนึ่ง ท่านมีความตั้งใจอย่างแรงกล้าว่าต้องหาคนที่เรียนจบอุดมศึกษามาเลี้ยงดูผม ท่านจึงทำทุกอย่างให้ผมได้อยู่กับทนายความท่านหนึ่งกับภรรยาของเขาตั้งแต่ผม เกิด แต่ปรากฏว่าท่านทั้งสองต้องการลูกสาวมากกว่า จึงต้องเปลี่ยนไปเลือกครอบครัวอื่นที่อยู่ในรายชื่อ กลางดึกคืนนั้นแม่ของผมโทรไปหาและถามว่า “เรามีเด็กชายแรกเกิด คุณต้องการเลี้ยงเขาไหม?” ปลายทางตอบตกลง แต่แม่บังเกิดเกล้ามาพบทีหลังว่าแม่ใหม่ของผมไม่ได้จบระดับอุดมศึกษา แถมพ่อใหม่ของผมก็ไม่ได้จบมัธยมด้วยซ้ำ ท่านจึงไม่ยอมลงนามในเอกสารส่งตัวผม จนหลายเดือนต่อมาท่านจึงยอมเมื่อพ่อและแม่ใหม่ของผมสัญญาว่าจะส่งเสียให้ผม ได้เรียนจนถึงระดับอุดมศึกษา
17 ปีผ่านไป ผมได้เข้าเรียนในสถาบันอุดมศึกษาจริงๆ แต่ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผม ผมเลือกที่จะเรียนในที่ที่ค่าเล่าเรียนแพงพอๆ กับ Stanford เงินเก็บของผู้ปกครองของผมที่สะสมมาต้องนำมาจ่ายเป็นค่าเล่าเรียน เมื่อผ่านไป 6 เดือน ผมไม่เห็นว่ามันจะได้อะไร ผมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าผมต้องการอะไรในชีวิต ไม่รู้เลยว่าสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้จะช่วยให้ผมรู้อะไรมากขึ้น และผมก็กำลังใช้เงินที่ผู้ปกครองของผมเก็บสะสมมาตลอดทั้งชีวิตของท่าน ผมจึงตัดสินใจที่จะหยุดเรียนชั่วคราว และเชื่อมั่นว่านั่นเป็นการดี ผมรู้สึกกลัวเหมือนกันขณะนั้น แต่เมื่อมองถอยกลับไป นั่นเป็นการตัดสินใจที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตของผม เมื่อผมเลือกที่จะหยุดเรียนจากหลักสูตรปกติ ผมสามารถเลือกที่จะไม่เรียนวิชาที่ผมไม่สนใจ แล้วเริ่มเสาะหาที่เรียนเฉพาะวิชาที่ผมสนใจเท่านั้นพอ
มันไม่ง่ายอย่างที่คิด ผมไม่มีแม้หอพัก ผมต้องนอนที่พื้นห้องของเพื่อน ผมต้องหาขวดน้ำอัดลมเปล่าไปแลกเงิน 5 เซนต์เพื่อซื้ออาหาร ทุกคืนวันอาทิตย์ผมต้องเดินข้ามเมืองเป็นระยะทางกว่า 7 ไมล์เพื่อไปรับประทานอาหารดีๆ ที่โบถส์ Hare Krishna ผมชอบมาก และเมื่อผมได้เดินตามความอยากรู้อยากเห็นและความคิดชอบแล้ว มันเป็นประสบการณ์ที่สูงค่ายิ่งนักในเวลาต่อมา ผมจะยกตัวอย่างให้ฟังสักเรื่อง
ที่ Reed College ขณะนั้นมีหลักสูตรการออกแบบตัวอักษร (Calligraphy) ที่ดีที่สุดในประเทศ ตัวหนังสือที่พบเห็นได้อยู่ทั่วไปในที่นั่น ไม่ว่าจะเป็นโปสเตอร์ หรือป้ายหน้าลิ้นชัก จะเป็นตัวหนังสือสวยๆ ที่ประดิบประดอยด้วมมือ และขณะนั้นผมยังพักการเรียนอยู่ ผมไม่ต้องเข้าเรียนตามปกติ ผมจึงเลือกที่จะไปเรียนเรื่องการออกแบบตัวอักษร ผมต้องเรียนตัวอักษรทั้งแบบเซอรี (serif) และ ซอง เซอรี (san serif) การเลื่อนไหลของแบบตัวหนังสือ และการทำให้ตัวอักษรนั้นดูดีที่สุด มันสวยงาม มันน่าประทับใจ มันเป็นศิลปะในแบบที่อธิบายไม่ได้ด้วยวิทยาศาสตร์ และผมตกหลุมรักมันเข้าแล้ว
นี่ไม่ได้เป็นเรื่องที่ผมไฝ่ฝันว่าจะนำมาใช้ในชีวิตผม แต่สิบปีให้หลัง เมื่อครั้งที่ผมและทีมงานกำลังออกแบบเครื่อง Macintosh เครื่องแรกอยู่นั้น มันก็ผุดขึ้นในหัวของผมอีกครั้ง ผมและทีมงานจึงบรรจุมันไว้ในเครื่อง Mac ด้วย มันเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่ใช้ตัวหนังสือที่สวยงาม ถ้าผมไม่ได้เลือกเรียนวิชานั้น เครื่อง Mac ก็จะไม่มีตัวหนังสือหลายๆ รูปแบบ แถมยังมีช่องไฟที่เปลี่ยนไปตามแบบตัวอักษร (proportionally spaced fonts) ขณะที่ Windows เองก็ทำได้เพียงเลียนแบบ Mac ก็จะไม่มีคอมพิวเตอร์เครื่องไหนมีแบบนี้เลย และถ้าผมไม่ได้พักการเรียนชั่วคราว ผมก็คงจะไม่ได้เข้าเรียนวิชานั้น และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลบนโลกนี้ก็จะไม่มีตัวหนังสือสวยๆ ให้ใช้ แน่นอนว่ามันไม่อาจจะเชื่อมโยงเรื่องราวต่างๆ ได้เลย ถ้าผมยังเรียนหนังสือแบบเดิม มันชัดเจนมากเมื่อมองย้อนกลับไปสัก 10 ปี
และเช่นกันคุณจะไม่สามารถเชื่อมโยงเรื่องราวไปในอนาคตอีก 10 ปีข้างหน้าได้เลย คุณทำได้แค่เพียงมองย้อยกลับไปในอดีต ดังนั้นคุณต้องเชื่อมั่นว่าเรื่องราวมันจะเชื่อมโยงไปถึงอนาคต คุณต้องเชื่อในบางสิ่งบางอย่าง ไม่ว่าจะเป็นกึ๋นของคุณเอง พรหมลิขิต หรือแม้แต่กรรมของคุณ แนวคิดนี้ไม่เคยทำให้ผมท้อถอย มีแต่จะทำให้สิ่งต่างๆ มากมายเกิดขึ้นในชีวิตของผม


ที่มา : 

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554

"เฟซบุ๊ค"ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว ครั้งใหม่ เปิดใช้พร้อมกันทั่วโลก 25 ส.ค.นี้














เฟซบุ๊ค ได้ประกาศการเปลี่ยนแปลงครั้งใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้สามารถควบคุมความเป็นส่วนตัวได้มากยิ่งขึ้น

โดยหนึ่งในการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้คือ ทุกครั้งที่ผู้ใช้โพสต์สิ่งใดลงไป จะมีแถบตั้งค่าสำหรับการแบ่งปัน เพื่อให้ผู้ใช้ได้พิจารณาว่าควรแบ่งปันให้ใครทราบบ้าง


นี่ถือเป็นความพยายามล่าสุดของเฟซบุ๊คที่พยายามปรับปรุงให้ผู้ใช้สามารถจัดการข้อมูลส่วนบุคคลให้มีประสิทธิภาพขึ้น ในอดีต เฟซบุ๊คเคยถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่เปิดเผยเมนูการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวให้กับผู้ใช้ทราบอย่างชัดเจน

ปัจจุบัน ผู้ใช้ซึ่งถูก"แท็ก"ในการโพสต์ต่างๆ อาทิ ภาพถ่ายหรือวิดีโอ  สามารถมีทางเลือกในการ"ยอมรับ"หรือ"ลบ" การถูกระบุตัวตนก่อนที่สิ่งดังกล่าวจะปรากฏบนหน้าโพรไฟล์ ซึ่งเฟซบุ๊คหวังว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ปัญหาอันเกิดจากการถูกแท็กโดยที่ผู้ใช้ไม่ต้องการลดลง ซึ่งวิธีการดังกล่าวมักถูกใช้โดยกลุ่มผู้ไม่ประสงค์ดีที่ต้องการใส่ชื่อของบุคคลอื่นลงไปพร้อมภาพที่ไม่มีความเหมาะสม


นอกจากนั้น ในหน้าวอลล์รวม ทุกๆโพสต์จะมีแถบตั้งค่าความเป็นส่วนตัว อาทิ สามารถเผยแพร่สู่สาธารณะได้ (public) เฉพาะเพื่อน (friends) และ custom อีกทั้งผู้ใช้ยังสามารถลบ"แท็ก"ที่คนอื่นส่งมาให้ หรือร้องขอให้คนที่แท็กลบออกได้ หรือบล็อกคนที่แท็กได้เช่นกัน


ผู้ใช้ยังสามารถแท็กใครก็ได้ ไม่เฉพาะเพื่อนในเฟซบุ๊คเท่านั้น โดยบุคคลอื่นๆสามารถเลือกที่จะไม่ยอมรับการถูกแท็กในโพรไฟล์ของตนได้ อีกทั้งยังสามารถระบุตำแหน่งที่ตั้งของผู้ใช้ได้ ไม่เฉพาะในแอพพลิเคชันทางโทรศัพท์มือถือเท่านั้น

นายคริส ค็อกซ์ รองประธานด้านผลิตภัณฑ์ของเฟซบุ๊คเปิดเผยว่า การเปิดตัวของการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวใหม่ครั้งนี้  ไม่ได้หมายความว่าจะมีการยกเลิกการใช้ระบบเก่า เขาไม่คิดว่าระบบเก่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เพียงแต่เห็นว่าระบบใหม่น่าจะดีกับผู้ใช้มากกว่า และตั้งเป้าหมายว่าจะทำให้การใช้งานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและทันสมัยมากขึ้น


เขาปฏิเสธรายงานข่าวที่ว่า การปรับปรุงระบบของเฟซบุ๊คครั้งนี้ เพื่อต้องการขยายให้เฟซบุ๊คสามารถเข้าถึงเด็กๆที่มีอายุต่ำกว่า 13 ปี ซึ่งเป็นสิ่งที่มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก เคยกล่าวว่าเป็นสิ่งที่เขาต้องการเห็น และให้คำมั่นว่าจะไม่มีการรบกวนหรือการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นในระบบการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ ระหว่างที่กระบวนการปรับปรุงกำลังดำเนินการ

ทั้งนี้ ทางเลือกในการตั้งค่าความเป็นส่วนตัวนี้จะเริ่มมีผลต่อผู้ใช้ทุกคนในวันพฤหัสบดี ที่ 25 นี้