Music Hit In your life

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูล (Database System)
          ระบบฐานข้อมูล คือระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องกันเป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีรูปแบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน เช่น ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลครู ข้อมูลรายวิชา เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมอาจจะเก็บอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ เมื่อมีการใช้วิธีการจัดเก็บเป็นระบบฐานข้อมูล ก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดเก็บไว้ภายในฐานข้อมูลเดียวกัน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขององค์กร ทำให้แต่ละหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูล ก็สามารถทำได้โดยโดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)

ระบบจัดการฐานข้อมูล

(Database Management System : DBMS)

          ระบบจัดการฐานข้อมูล คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว หรือ ให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและการแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้สามารถติดต่อกันได้

ประโยชน์ในการใช้ระบบฐานข้อมูล
เมื่อมีการนำระบบจัดการฐานข้อมูลมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูล แก้ไขปรับปรุงข้อมูล ค้นหาข้อมูล  รวมทั้งกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูล เป็นต้น ทำให้ฐานข้อมูลมีประโยชน์มากมาย ได้แก่
1.       ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลของหน่วยงานซึ่งจัดเก็บไว้หลายที่ อาจมีข้อมูลในส่วนที่เหมือนกันหลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน และ ฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูล ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
2.       ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล ถ้ามีการแก้ชื่อ ที่อยู่ ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ชื่อและที่อยู่ของฝ่ายอื่นๆ ก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย
3.       ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำเข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูลจะคอยควบคุมให้มีการนำเข้าข้อมูลเป็นไปตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้มีความถูกต้อง
4.       สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูปแบบที่แน่นอนได้ และแต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน
5.       มีความปลอดภัย การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกันสามารถวางมาตรฐานในการแก้ไขและป้องกันที่ดีกว่า สามารถกำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลในแต่ละราย โดยระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการตรวจสอบสิทธิ์ ในการทำงานกับข้อมูล เช่น การเรียกดูข้อมูล การลบข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล และการเพิ่มข้อมูล เป็นต้น
6.      ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูล ต้องมีการตกลงรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน
7.      ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้ฐานข้อมูล ถึงแม้ว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบจัดการฐานข้อมูลนั้นจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่บ้างดังต่อไปนี้
1.      เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้ในระบบจัดการฐานข้อมูลมีราคาค่อนข้างแพง รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีประสิทธิภาพสูง
2.      เกิดการสูญเสียข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดีจึงต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ


หลักการออกแบบฐานข้อมูล
          ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างฐานข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการออกแบบฐานข้อมูลเสียก่อนว่า ข้อมูลที่จะนำมาเก็บในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีการจัดเก็บในรูปแบบใด แล้วจึงค่อยเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูล ซึ่งขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูลนั้นมีดังต่อไปนี้
1.       กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล
2.       กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างฐานข้อมูล
3.       สอบถามความต้องการของผู้ใช้
4.       วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
5.       จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บในระบบฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของตาราง (Table)
6.       วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง
7.       พิจารณาเขตข้อมูลหลัก หรือฟิลด์หลัก (Primary Key) ของแต่ละตาราง
8.       วิเคราะห์โครงสร้างหลักของข้อมูลที่ได้ตามหลักการ Normalization
9.       กำหนดชนิดข้อมูล (Data Type)
10.   กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูล (Relationship)
11.   ออกแบบหน้าจอการใช้งาน

กฎการ Normalization
          กฎการ Normalization เป็นกฎที่ใช้ในการออกแบบตาราง เพื่อลดความซ้ำซ้อน แก้ไขตารางได้ง่าย และถ้าเปลี่ยนแปลงข้อมูล จะมีผลกระทบต่อข้อมูลอื่นน้อยที่สุด มีทั้งหมด 4 ข้อดังนี้
1.       กฎที่ข้อที่ 1 (First Normal Form) กล่าวว่า จะต้องไม่มีเซลล์ใดในตารางที่มีค่าเกิน 1 ค่า
2.       กฎที่ข้อที่ 2 (Second Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 2  จะต้องไม่มีแอททริบิวต์ หรือฟิลด์ที่ไม่ใช่คีย์หลักไปผสมหรือปนอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของคีย์หลัก
3.       กฎที่ข้อที่ 3 (Third Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อ 3 จะต้องไม่มีแอททริบิวต์ใดที่ขึ้นกับแอททริบิวต์อื่นที่ไม่ใช่คีย์หลัก
4.       กฎที่ข้อที่ 4 (Fourth Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อ 4 จะต้องไม่มีการขึ้นต่อกันแบบเชิงกลุ่มภายในตารางเดียวกัน

รายวิชาคอมพิวเตอร์ สาระเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5    

เผย สเปก HTC J Butterfly ในญี่ปุ่น

หลังจากมีข่าวลือตั้งแต่เดือนสิงหาคม ว่าเอชทีซีจะเปิดตัวสมาร์ทโฟนหน้าจอยักษ์ 5 นิ้วความละเอียดสูง 1080p วันนี้เอชทีซีประกาศเปิดตัว HTC J Butterfly แล้วเพื่อลุยตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะ
 

       
       HTC J Butterfly ชูจุดขายที่การใช้หน้าจอความละเอียดสูงเทคโนโลยี full HD Super LCD 3 ขนาด 5 นิ้วเต็มตา ความละเอียดจอภาพ 1920×1080 พิกเซลคิดเป็น 440 พิกเซลต่อนิ้ว (ppi) ถือว่าทะลุเกินสถิติหน้าจอเรตินาดิสเพลย์ของไอโฟน 5 (iPhone 5) ซึ่งมีความละเอียด 326 ppi
       
       J Butterfly มีจุดเด่นเรื่องความบางเครื่องและสีสันสดใส ลูกเล่นสีแดงและดำตัดกันทำให้ J Butterfly ดูน่าใช้งาน ภายในเครื่องติดตั้ง RAM ขนาด 2GB หน่วยความจำภายใน 16GB มีพอร์ตเสียบหน่วยความจำ microSD card เพิ่ม ทั้งหมดทำงานบนชิปควอดคอร์ 1.5GHz Snapdragon S4 Pro APQ8064

       
       ตัวกล้องมาพร้อมความละเอียด 8MP สามารถถ่ายภาพความละเอียด 3280×2464 พิกเซล และบันทึกภาพวิดีโอความละเอียด 1080p แบตเตอรี่ความจุ 2,020mAh
       
       น่าเสียดายที่ J Butterfly ยังเป็นสมาร์ทโฟนที่จำหน่ายเฉพาะญี่ปุ่นในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม เอชทีซียืนยันว่าหน้าจอความละเอียดสูงใน J Butterfly จะถูกนำมาใช้ในสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นในตลาดต่อไป
       
       ขณะนี้ J Butterfly มีข้อมูลเพียงว่าจะเริ่มจำหน่ายช่วงธันวาคม โดยยังไม่มีข้อมูลวันวางจำหน่ายที่แน่นอน โดยเว็บไซต์เอชทีซีประเทศญี่ปุ่นให้ข้อมูลเพียงว่าจะพร้อมจำหน่ายในเร็วๆนี้

ตัวอย่างแผนบูรณาการเศรษฐกิจพอเพียง

รายวิชาคอมพิวเตอร์ ช่วงชั้นที่ 1 - 3




ขอมอบเป็นตัวอย่างเท่านั้นนะครับ
นายสุเมธ ราชประชุม

ราชบัณฑิต เสนอแก้ 176 คำทับศัพท์ แนะเพิ่มวรรณยุกต์เขียนตรงเสียง


นางกาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิต และนายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้กองศิลปกรรมได้จัดทำแบบสำรวจความคิดเห็นประมาณ 300 ชุด เกี่ยวกับการเขียนคำยืมจากภาษาอังกฤษในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 เพื่อสอบถามความเห็นจากคณะกรรมการราชบัณฑิต ภาคีสมาชิก และผู้ที่เกี่ยวข้องในการเปลี่ยนแปลงการเขียนคำที่ยืมจากภาษาอังกฤษใหม่ เนื่องจากพบว่ามีคำศัพท์ที่ยืมมาจากคำภาษาอังกฤษ 176 คำ เขียนผิด และไม่ตรงกับเสียงวรรณยุกต์ของคำนั้นๆ ตามอักขรวิธีไทย และการอ่านออกเสียง ที่ผ่านมามีหลายคนตั้งคำถามว่าทำไมคำคำนี้ เขียนแบบนี้ โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่มาเรียนภาษาไทย หรือว่าฝึกอ่านภาษาไทย ซึ่งได้เรียนวิธีการเขียนและอ่านอย่างถูกต้องมาแล้ว เมื่อมาเจอคำศัพท์บางคำที่ไม่มีวรรณยุกต์ ก็เกิดความสับสน และอ่านไม่ออก
นางกาญจนากล่าวต่อว่า ปัญหานี้เกิดขึ้นมาจากขั้นตอนการถอดคำ หรือว่ายืมคำมาจากภาษาอังกฤษ เมื่อแปลมาเป็นภาษาไทย ไม่ได้เติมวรรณยุกต์เสียงเอก โท หรือตรี รวมทั้ง ไม้ไต่คู้ ให้ตรงตามอักขรวิธีไทย อย่างคำว่า “แคลอรี” การเขียนให้ตรงกับการออกเสียงต้องเป็น “แคลอรี่” หรือว่าคำว่า “โควตา” ถ้าจะให้ตรงกับการออกเสียงต้องเป็นคำว่า “โควต้า” รวมทั้ง “เรดาร์” ต้องเป็นคำว่า “เรด้าร์” เพื่อให้ตรงตามเสียงของคำนี้ เป็นต้น
“ที่หลายคนกังวลว่าการเปลี่ยนวิธีการเขียนคำครั้งนี้ อาจทำให้สับสน หรือว่าเข้าใจผิดเกี่ยวกับการเขียนศัพท์ต่างๆ นั้น ไม่น่าจะสับสน เพราะถ้าอ่านภาษาไทยก็ไม่น่าสับสน คำศัพท์หลายๆ คำในปัจจุบันมีคนเขียนตามคำศัพท์ที่จะเปลี่ยนแปลงแล้ว แต่ถ้าใครจะเขียนแบบเดิมๆ ก็ไม่ได้ว่าอะไร แต่ที่เสนอให้แก้ไข เพื่อให้เขียนถูกต้องตามเสียงของคำนั้นๆ แม้ว่าหลายคนอาจมองว่าแปลก และไม่ควรแก้ไข” นางกาญจนากล่าว
นางกาญจนากล่าวต่อว่า เบื้องต้นได้สอบถามความเห็นจากสภาราชบัณฑิต ส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการเติมวรรณยุกต์ และเปลี่ยนแปลงคำศัพท์ทั้ง 176 คำ เพื่อเขียนให้ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม คงต้องรอดูผลการสำรวจความคิดเห็นอีกครั้งว่าส่วนใหญ่จะเห็นด้วยทุกคำ หรือเห็นด้วยเฉพาะบางคำ ซึ่งตามกำหนดเวลาแล้ว ภายในวันที่ 31 ตุลาคมนี้ ทุกคนต้องส่งแบบสอบถามดังกล่าวกลับที่กองศิลปกรรม เพื่อประมวลผลความคิดเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่ และมีข้อเสนออะไร ทั้งนี้ การขอปรับแก้คำศัพท์ทั้ง 176 คำนั้น หากเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าควรเปลี่ยน ก็จะนำไปบรรจุในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตย สถาน พ.ศ.2554 ซึ่งกำลังดำเนินการปรับปรุงเพื่อจัดพิมพ์เล่มใหม่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า คำศัพท์ที่อยู่ในแบบสำรวจ เพื่อขอความเห็นในการเปลี่ยนแปลงการเขียนใหม่ ดังนี้
1.คำที่ใส่เครื่องหมายไม้ไต่คู้เพื่อแสดงสระเสียงสั้น 
ได้แก่ ซีเมนต์ เปลี่ยนเป็น ซีเม็นต์, เซต-เซ็ต, เซนติกรัม-เซ็นติกรัม, เซนติเกรด-เซ็นติเกรด, เซนติลิตร-เซ็นติลิตร, ไดเรกตริกซ์-ไดเร็กตริก, เทนนิส-เท็นนิส, นอต-น็อต, นิวตรอน-นิวตร็อน, เนตบอล-เน็ตบอล, เนปจูน-เน็ปจูน, เบนซิน-เบ็นซิน, แบคทีเรีย-แบ็คทีเรีย, มะฮอกกานี-มะฮ็อกกานี, เมตริก-เม็ตตริก, เมตริกตัน- เม็ตริกตัน, แมงกานิน-แม็งกานิน, อิเล็ก ตรอน-อิเล็กตร็อน, เฮกโตกรัม-เฮ็กโตกรัม, เฮกโตลิตร-เฮ็กโตลิตร
2.คำที่เปลี่ยนตัวพยัญชนะเป็นอักษรสูง 
ได้แก่ คอร์ด-ขอร์ด, แคโทด-แคโถด, ซัลเฟต-ซัลเฝต, ไทเทรต-ไทเถรต, ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ, พาร์เซก-พาร์เส็ก, แฟลต-แฝล็ต, สเปกโทร สโกป-สเป็กโทรสโขป, ไอโซโทป-ไอโซโถป
3.คำที่ใส่เครื่องหมายวรรณยุกต์เอก 
ได้แก่ กอริลลา-กอริลล่า, แกโดลิเนียม-แกโดลิ เนี่ยม, แกมมา-แกมม่า, แกลเลียม-แกลเลี่ยม, คูเรียม-คูเรี่ยม, แคดเมียม-แคดเมี่ยม, แคลเซียม-แคลเซี่ยม, แคลอรี-แคลอรี่, โครเมียม-โครเมี่ยม, ซิงโคนา-ซิงโคน่า, ซิลิคอน-ซิลิค่อน, ซีเซียม-ซีเซี่ยม, ซีนอน-ซีน่อน, ซีเรียม-ซีเรี่ยม, โซลา-โซล่า, ดอลลาร์-ดอลล่าร์, เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่, แทนทาลัม-แทนทาลั่ม, ไทเทเนียม-ไทเท เนี่ยม, เนบิวลา-เนบิวล่า, ไนลอน-ไนล่อน, แบเรียม-แบเรี่ยม, ปริซึม-ปริซึ่ม, ปิโตรเลียม-ปิโตรเลี่ยม, แพลทินัม-แพลทินั่ม, ฟังก์ชัน-ฟังก์ชั่น, ฟาทอม-ฟาท่อม, ไมครอน-ไมคร่อน, ยิปซัม-ยิปซั่ม, ยูเรเนียม-ยูเรเนี่ยม, เลเซอร์-เลเซ่อร์, วอลเลย์บอล-วอลเล่ย์บอล, อะลูมิเนียม-อะลูมิเนี่ยม, อีเทอร์-อีเท่อร์, เอเคอร์-เอเค่อร์, แอลฟา-แอลฟ่า, ฮาห์เนียม-ฮาห์เนี่ยม, ฮีเลียม-ฮีเลี่ยม
4.คำที่ใส่ ห นำเพื่อแสดงเสียงวรรณยุกต์เอก 
ได้แก่ กะรัต-กะหรัต, แกรนิต-แกรหนิต, คลินิก-คลิหนิก, คาทอลิก-คาทอหลิก, คาร์บอเนต-คาร์บอเหนต, คาร์บอลิก-คาร์บอหลิก, โคออร์ดิเนต-โคออร์ดิเหนต, รูเล็ตต์- รูเหล็ตต์,
5.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์โท 
ได้แก่ กลูโคส-กลูโค้ส, กิโลไซเกิล-กิโลไซเกิ้ล, กิโลเมตร-กิโลเม้ตร, กิโลเฮิรตซ์-กิโลเฮิ้รตซ์, กีตาร์-กีต้าร์, แกรไฟต์-แกรไฟ้ต์, คาร์บอน-คาร์บ้อน, คาร์บูเรเตอร์-คาร์บูเรเต้อร์, เคเบิล-เคเบิ้ล, โควตา-โควต้า, ชอล์ก-ช้อล์ก, ซอส-ซ้อส, โซเดียม-โซเดี้ยม, ไดนาไมต์-ไดนาไม้ต์, แทนเจนต์-แทนเจ้นต์, แทรกเตอร์-แทรกเต้อร์, นิกเกิล-นิกเกิ้ล, ไนต์คลับ-ไน้ต์ขลับ, ไนโตรเจน-ไนโตรเจ้น, บารอมิเตอร์-บารอมิเต้อร์, บีตา-บีต้า, ปาทังกา-ปาทังก้า, ปาร์เกต์-ปาร์เก้ต์, พลาสติก-พล้าสติก, ฟาสซิสต์- ฟ้าสซิสต์, มอเตอร์-มอเต้อร์, เมตร-เม้ตร, ไมกา-ไมก้า, ยีราฟ-ยีร้าฟ, เรดอน-เรด้อน, เรดาร์-เรด้าร์, เรเดียม-เรเดี้ยม, ลิกไนต์- ลิกไน้ต์, แวนดา-แวนด้า, อาร์กอน-อาร์ก้อน, แอนติบอดี-แอนติบอดี้, เฮิรตซ์-เฮิ้รตซ์, ไฮดรา-ไฮดร้า, ไฮโดรเจน-ไฮโดรเจ้น
6.คำที่เติมเครื่องหมายวรรณยุกต์ตรี 
ได้แก่ กราฟ-กร๊าฟ, ก๊อซ-ก๊อซ, กอล์ฟ-ก๊อล์ฟ, เกาต์-เก๊าต์, ออกไซด์-อ๊อกไซด์, โคบอลต์- โคบ๊อลต์, ดราฟต์-ดร๊าฟต์, ดัตช์-ดั๊ตช์, ดิสโพรเซียม-ดิ๊สโพรเซี่ยม, เดกซ์โทรส-เด๊ก โทรัส, เต็นท์-เต๊นท์, บาสเกตบอล-บ๊าสเก้ต บอล, บิสมัท-บิ๊สมั้ท, แบงก์-แบ๊งก์, โบต-โบ๊ต, ปลาสเตอร์-ปล๊าสเต้อร์, ปิกนิก-ปิ๊กหนิก, ออกซิเจน-อ๊อกซิเย่น, ออกซิเดชัน-อ๊อก ซิเดชั่น, ออกไซด์-อ๊อกไซด์, อาร์ต-อ๊าร์ต, เอกซเรย์-เอ๊กซเรย์, แอสไพริน-แอ๊สไพริน, แอสฟัลต์-แอ๊สฟัลต์, โอ๊ด-โอ๊ต
และ 7.คำที่มีหลายพยางค์ 
ได้แก่ คอนเดนเซอร์-ค็อนเด็นเซ่อร์, คอนแวนต์-ค็อนแว็นต์, คอนเสิร์ต-ค็อนเสิร์ต, คอมพิวเตอร์-ค็อมพิ้วเต้อร์, คอมมานโด-ค็อมมานโด, คอมมิวนิสต์-ค็อมมิวนิสต์, คูปอง- คูป็อง, เครดิตฟองซิเอร์-เครดิตฟ็องซิเอร์, แคดเมียม-แค็ดเมี่ยม, แคปซูล-แค็ปซูล, แคลเซียมไซคลาเมต-แคลเซี่ยมไซคลาเมต, ช็อกโกเลต/ ช็อกโกแลต-ช็อกโกแล็ต, เซนติเมตร-เซ็นติเม้ตร, โซเดียมคาร์บอเนต-โซเดี้ยมคาร์บอเหนต, โซเดียมไซคลาเมต-โซเดี้ยมไซคลาเหมต, โซเดียมไฮโดรเจนกลูทาเมต-โซเดี้ยมไฮโดรเจ้นกลูตาเหมต, โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต-โซเดี้ยมไฮโดร เจ้นคาร์บอเหนต, ดีเปรสชัน-ดีเปร๊สชั่น, เทคโนโลยี-เท็คโนโลยี่, แทรกเตอร์-แทร็ก เต้อร์, แบดมินตัน-แบ็ดมินตั้น, แบตเตอรี่-แบ็ตเตอรี่, พลาสมา-พล้าสม่า, โพแทสเซียม-โพแท้สเซี่ยม, เมนทอล-เม็นท่อล, แมงกานีส-แม็งกานี้ส, แมกนีเซียม-แม็กนีเซี่ยม, รีดักชัน-รีดั๊กชั่น, ลอการิทึม-ล็อกการิทึ่ม, สเปกตรัม-สเป๊กตรั้ม, สเปกโทรสโกป-สเป็กโตรสโขป, ออกซิเดชัน-อ๊อกซิเดชั่น, อัลตราไวโอเลต-อัลตร้าไวโอเหล็ต, แอกทิเนียม-แอ๊กทิเนี่ยม, แอนติอิเล็ก ตรอน-แอ็นติอิเล็กตร็อน, เฮกตาร์-เฮ็กต้าร์ และเฮกโตเมตร- เฮ็กโตเม้ตร