Music Hit In your life

วันเสาร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

การเช็คหมายเลขโทรศัพท์ว่าอยู่ในระบบใด

วิธีการตรวจสอบง่ายๆ ให้ไปที่

http://www.checkber.com/

เป็นบริการตรวจสอบเลขหมายโทรศัพท์มือถือ "ครอบคลุมทั้ง 9 ผู้ให้บริการ AIS, DTAC, True Move, Hutch, DPC, ThaiMobile, CAT, TOT และ ACeS"


ซึ่งผลการตรวจสอบจะบอกทั้ง ระบบ ผู้ให้บริการ พื้นที่ใช้บริการ(ภาค) สามารถเติมเงินได้อีกด้วย

RFID อาร์เอฟ ไอดี คืออะไร

อาร์เอฟไอดี (RFID ย่อมาจากคำเต็มว่า Radio-frequency identification) เป็นวิธีการในการเก็บข้อมูลหรือระบุข้อมูลแบบอัตโนมัติ โดยทำงานผ่านการรับสัญญาณจากแท็กเข้าสู่ตัวส่งสัญญาณ ผ่านทางคลื่นวิทยุ แท็กของอาร์เอฟไอดีโดยปกติจะมีขนาดเล็กซึ่งสามารถติดตั้งเข้ากับผลิตภัณฑ์สินค้า สัตว์ บุคคลได้ ซึ่งเมื่อตัวส่งสัญญาณส่งคลื่นวิทยุไป และพบเจอแท็กนี้ สัญญาณจะถูกส่งกลับพร้อมกับข้อมูลที่เก็บไว้ในแท็ก โดยตัวส่งสัญญาณนี้เองยังสามารถบันทึกข้อมูลลงในแท็กได้

แท็กอาร์เอฟไอดีจะประกอบไปด้วยสองส่วนหลักคือ ส่วนวงจรไฟฟ้าที่เก็บข้อมูลและคำนวณการของข้อมูล และอีกส่วนคือส่วนเสาอากาศหรือตัวรับส่งสัญญาณ

RFID tag มีการทำงานบ่างส่วนที่สามารถทำงานได้ในขณะที่ไม่มีแบตเตอรี่ และมีแบตเตอรี่ นั้นคือการอ่านและเขียนบน EEPROM ผ่านทาง Low frequency radio

วันจันทร์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

เรื่องแปลก ๆ ใน microsoft word

ลองพิมพ์คำว่า =rand(100,99) ใน Microsoft word แล้ว กด enter

แล้วลองดสิูว่า จะเกิดอะไรขึ้น

บลาๆๆ

วิธีย้ายลิสต์จาก MSN จากเก่าไป MSN ใหม่

วิธีย้ายลิสต์จาก MSN จากเก่าไป MSN ใหม่สำหรับวิธีย้าย Contact List ของ MSN นั้นอันดับแรก คุณต้องบันทึก Contact List ที่ต้องการเสียก่อน
วิธีการคือ :
1. ให้คุณเปิด MSN ขึ้นมา
2. ที่แถบด้านบนของตัวโปรแกรม เลือกคำสั่ง Contacts > Save > Save instant messaging contacts... จะมีหน้าต่าง Save Messenger Contact List ปรากฏขึ้น
3. ให้ระบุตำแหน่งของแฟ้มที่ต้องการบันทึกไฟล์
4. ตั้งชื่อที่ต้องการแล้ว ...
5. กด OK เพียงเท่านี้ คุณก็จะได้ไฟล์รายชื่อ Contact List (นามสกุล .ctt) บันทึกในรูปแบบไฟล์แล้ว

วิธีการนำไปใช้ :
1. ให้คุณ Sing-in โปรแกรม MSN ด้วยอีเมล์ใหม่

2. จากนั้นให้คลิกคำสั่ง Contacts ของโปรแกรม MSN สังเกตที่บรรทัดล่างสุด
3. จะพบกับคำสั่งย่อย Import Contacts from a Saved File... ให้คลิกคำสั่งนี้แล้วจะปรากฏหน้าต่างให้ค้นหาไฟล์ Contact List ขึ้นมา

4. ให้คุณระบุตำแหน่งไปที่ไฟล์ที่คุณสร้างไว้ตอนต้น
5. แล้วกด Open


เครดิต :
http://danai.blog.mthai.com/2010/05/18/public-3

คำสั่งลัด ใน msn

/all <ข้อความ> = ส่งข้อความไปถึงทุกๆหน้าต่างที่เปิดอยู่ตอนนั้น หรือพิมพ์/ แล้วจะมีกล่องขึ้นมาให้เลือกคนที่เราจะส่งข้อความ
/appearoffline = เปลี่ยนสถานะเปน เสมือนออฟไลน์ (appear offline)
/away = เปลี่ยนสถานะเปน ไม่อยู่ (away)
/brb = เปลี่ยนสถานเปน เดี๋ยวกลับมา (be right back)
/busy = เปลี่ยนสถานะเปน กำลังยุ่ง (busy)
/online = เปลี่ยนสถานะเปน ออนไลน์ (online)
/onphone = เปลี่ยนสถานะเปน รับโทรศัพท์ (in a call)
/lunch = เปลี่ยนสถานะเปน ไปกินข้าว (out to lunch)
/block <อีเมล์ผู้ติดต่อ> = บล็อค
/call = เริ่มต้นการสนทนาด้วยเสียง
/checkupdates = เช็คการอับเดต Msn Pluss
/close = ปิดหน้าต่างที่คุยอยู่
/ctcinfo = ข้อมูลพิเศษของคนที่คุยด้วย จะมีกล่องข้อความขึ้นมา เราเก็บภาพเพื่อนที่สนทนาอยู่ด้วย
/displaypic = เปลี่ยนรูปดิสเพลย์ของคุณ
/emoticon = เลือกใช้ อีโมติคอนแสดงอารมณ์ หรือ กด Ctrl + E บนคีย์บอร์ด
/exit = ออกจากโปรแกรม msn
/find = หาข้อความในบทสนทนา หรือ Ctel + F บนคีย์บอร์ด
/font = เปลี่ยนแบบตัวหนังสือ
/invite = ลากคนอื่นมาร่วมวงเม้าส์
/logging = เปิด/ปิด บันทึกสนทนาหน้าต่างนั้นๆ
/me = แสดงชื่อเอม (says ของคุณ) ตามด้วยข้อความอะไรก๊ได้ /msg <อีเมล์ผู้ติดต่อ> = เริ่มต้นสนทนากับคนอื่น (ใส่ e-mail ไป)
/name <ข้อใหม่> = เปลี่ยนชื่อเอ็ม (says)
/notif <อีเมล์ผู้ติดต่อ> = เตือนเมื่อเค้ามีการกระทำ
/nudge = สั่น
/persostat = ตั้งสถานะ (กำหนดเอง)
/prefs = ตั้งค่้า plus
/psm = เปลี่ยนข้อความส่วนตัว
/received = เปิดที่อยู่ของไฟล์ที่รับ
/run <คำสั่งหรือชื่อไฟล์> = เปิดโปรแกรม หรือเปิดหน้าเวบ
/sendfile <ชื่อไฟล์> = ส่งไฟล์
/sendmail <อีเมล์> = ส่งเมลล์
/signout = ออกจากระบบ
/unblock <อีเมล์ผู้ติดต่อ> = ปลดบล็อก
/viewlog <อีเมล์ผู้ติดต่อ> = ดูบันทึกสนทนากับ?
/webcam = เริ่มสนทนาผ่านกล้อง
/wink = ส่งวิ้งค์ (Wink)

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

System Analyst

SA ที่หมายถึง System Analyst ยังสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท

1.) System Analyst
2.) Bussiness Analyst

ถ้าเป็นลักษณะที่ 1. ก็รู้ Business และเข้าใจ Requirement ในระดับที่สามารถออกแบบระบบ หรือ ส่วนใหญ่กระบวนทางธุรกิจก็มักจะหมายถึง Table ใน Database รวมไปถึงสามารถอธิบาย Business Flow ให้พวก Developer ทำโปรแกรมออกมาให้ตาม Requirement ของลูกค้า
เข้าใจว่างานหลักๆคือเน้นการสร้างระบบจึงต้องมี ความรู้ด้าน Program ด้วย ไม่อย่างนั้นจะคุยกะโปรแกรมเมอร์ไม่ค่อยรู้เรื่องเหมือนพูดกันคนละภาษา
แต่ คนพวกนี้จึงอาจโดนเกณฑ์ไป coding ถ้าโปรเจคไม่เสร็จ

ถ้าเป็นลักษณะ ที่ 2. เข้าใจว่าต้องเป็นพวกที่มีประสบการณ์ด้าน Business สูง สามารถวิเคราะห์ข้อมูลหรือ Requirement จากลูกค้าได้ พวกนี้อาจจะต้องหนักด้านการติดต่อกับลูกค้าเป็นหลัก , design table , หน้าจอ เข้าใจ flow งานทั้งหมดแต่อาจจะไม่ต้อง Programming เป็นเลยก็ได้

แต่ ในโลกตวามจริง โปรเจคอาจจะไม่จำเป็นต้องจ้าง SA ที่เป็น 2 แบบนี้พร้อมกันเพราะทำให้ต้นทุนสูงก็เลยจ้างมาคนเดียวแล้วก็รับหน้าที่ทั้ง 2 เรื่องนี้ไปพร้อมๆกัน เพราะ Phase Design มันไม่ได้ต้องทำกันตลอดทั้ง Project และเมื่อ SA วางระบบเสร็จแล้ว ขั้นตอนในการ implement หรือ tuning ระบบให้เข้ากับความต้องการ

อีกอย่างนึงที่มักจะเห็น SA ชอบทำตกไปคือ การให้ความเข้าใจกับลูกค้า SA ควรจะ minimize scope ของงานให้ได้ตาม requirement แต่ไม่ได้ทำให้งานไปตกอยู่ที่ Programmer ทั้งหมด ดังนั้นในขั้นตอนการ design จึงเป็นเรื่องสำคัญว่าจะทำอย่างไรให้ระบบทำงานได้ครบตามความต้องการ และ งานไม่ใหญ่มากนักเพื่อให้ส่งมอบงานได้ตรงเวลา

ส่วน SA ที่เป็น Software/System Architect

เน้นหนักไปที่การ design software / system ให้มี Quality หรือ Best Performance มากกว่าอะครับ แช่นทำอย่างไรโปรแกรมจะทำงานได้เร็ว , โปรแกรมไม่ Error บ่อย , ปรับระบบให้รองรับต่อการเปลี่ยนแปลง ต้องเข้าใจก่อนนะครับว่าในส่วนของ Architect นี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับ Requirement เพราะ Analyst เป็นคน design ให้ตรงกับ Requirement

Trivial File Transfer Protocol

TFTP เป็นกระบวนการรับส่งไฟล์ที่เรียบง่ายกว่า FTP ทั่วไป โดยใช้กลไกการสื่อสารแบบ UDP ( User Datagram Protocal ) ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ทำงานแบบ Connectionless ซึ่งผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสหรือ Password แต่จะทำได้เพียงโอนข้อมูลที่จัดเตรียมไว้แล้วเท่านั้น แต่จะไม่มีฟังก์ชันอื่น ๆ เช่น การแสดงรายชื่อไฟล์ การเปลี่ยนไดเร็คทอรี เป็นต้น

Simple Network Management Protocol

SNMP ย่อมาจาก Simple Network Management Protocol ซึ่งเป็นโพรโทคอลที่อยู่ระดับบนในชั้นการประยุกต์ และเป็นส่วนหนึ่งของชุดโพรโทคอล TCP/IP เครือข่ายอินทราเน็ตที่ใช้โพรโทคอล TCP/IP มีอุปกรณ์เครือข่ายแบบหลากชนิกและหลายยี่ห้อ แต่มาตรฐานการจัดการเครือข่ายที่ใช้งานได้ผลดีคือ SNMP ในการบริการและจัดการเครือข่ายต้องใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ มีส่วนของการทำงานร่วมกับระบบจัดการเครือข่าย ซึ่งเราเรียกว่า เอเจนต์ (Agent) เอเจนต์เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่อยู่ในอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เชื่อมอยู่ในเครือข่ายโดยมีคอมพิวเตอร์หลักในระบบหนึ่งเครื่องเป็นตัวจัดการและบริหารเครือข่ายหรือเรียกว่า NMS-Network Management System

HyperText Transport Protocol: HTTP

เกณฑ์วิธีขนส่งข้อความหลายมิติ หรือ เอชทีทีพี (อังกฤษ: HyperText Transport Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ

การพัฒนาเอชทีทีพีเป็นการทำงานร่วมกันของเวิลด์ไวด์เว็บคอนซอร์เทียม (W3C) และคณะทำงานเฉพาะกิจด้านวิศวกรรมอินเทอร์เน็ต (IETF) ซึ่งมีผลงานเด่นในการเผยแพร่เอกสารขอความเห็น (RFC) หลายชุด เอกสารที่สำคัญที่สุดคือ RFC 2616 (เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2542) ได้กำหนด HTTP/1.1 ซึ่งเป็นรุ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน


เอชทีทีพีเป็นมาตรฐานในการร้องขอและการตอบรับระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย ซึ่งเครื่องลูกข่ายคือผู้ใช้ปลายทาง (end-user) และเครื่องแม่ข่ายคือเว็บไซต์ เครื่องลูกข่ายจะสร้างการร้องขอเอชทีทีพีผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ เว็บครอว์เลอร์ หรือเครื่องมืออื่น ๆ ที่จัดว่าเป็น ตัวแทนผู้ใช้ (user agent) ส่วนเครื่องแม่ข่ายที่ตอบรับ ซึ่งเก็บบันทึกหรือสร้าง ทรัพยากร (resource) อย่างเช่นไฟล์เอชทีเอ็มแอลหรือรูปภาพ จะเรียกว่า เครื่องให้บริการต้นทาง (origin server) ในระหว่างตัวแทนผู้ใช้กับเครื่องให้บริการต้นทางอาจมีสื่อกลางหลายชนิด อาทิพร็อกซี เกตเวย์ และทุนเนล เอชทีทีพีไม่ได้จำกัดว่าจะต้องใช้ชุดเกณฑ์วิธีอินเทอร์เน็ต (TCP/IP) เท่านั้น แม้ว่าจะเป็นการใช้งานที่นิยมมากที่สุดบนอินเทอร์เน็ตก็ตาม โดยแท้จริงแล้วเอชทีทีพีสามารถ "นำไปใช้ได้บนโพรโทคอลอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ หรือบนเครือข่ายอื่นก็ได้" เอชทีทีพีคาดหวังเพียงแค่การสื่อสารที่เชื่อถือได้ นั่นคือโพรโทคอลที่มีการรับรองเช่นนั้นก็สามารถใช้งานได้
ปกติเครื่องลูกข่ายเอชทีทีพีจะเป็นผู้เริ่มสร้างการร้องขอก่อน โดยเปิดการเชื่อมต่อด้วยเกณฑ์วิธีควบคุมการขนส่งข้อมูล (TCP) ไปยังพอร์ตเฉพาะของเครื่องแม่ข่าย (พอร์ต 80 เป็นค่าปริยาย) เครื่องแม่ข่ายเอชทีทีพีที่เปิดรอรับอยู่ที่พอร์ตนั้น จะเปิดรอให้เครื่องลูกข่ายส่งข้อความร้องขอเข้ามา เมื่อได้รับการร้องขอแล้ว เครื่องแม่ข่ายจะตอบรับด้วยข้อความสถานะอันหนึ่ง ตัวอย่างเช่น "HTTP/1.1 200 OK" ตามด้วยเนื้อหาของมันเองส่งไปด้วย เนื้อหานั้นอาจเป็นแฟ้มข้อมูลที่ร้องขอ ข้อความแสดงข้อผิดพลาด หรือข้อมูลอย่างอื่นเป็นต้น

ทรัพยากรที่ถูกเข้าถึงด้วยเอชทีทีพีจะถูกระบุโดยใช้ตัวระบุแหล่งทรัพยากรสากล (URI) (หรือเจาะจงลงไปก็คือ ตัวชี้แหล่งในอินเทอร์เน็ต (URL)) โดยใช้ http: หรือ https: เป็นแผนของตัวระบุ (URI scheme)

Simple Mail Transfer Protocol

Simple Mail Transfer Protocol (SMTP:เอสเอ็มทีพี) เป็นโปรโตคอลสำหรับส่งอีเมลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต

SMTP เป็นโปรโตคอลแบบข้อความที่เรียบง่าย ทำงานอยู่บนโปรโตคอล TCP พอร์ต 25 ในการส่งอีเมลไปยังที่อยู่ที่กำหนด จำเป็นต้องใช้ค่า MX (Mail eXchange) ของ DNS

ปัจจุบันมี mail transfer agent กว่า 50 โปรแกรมที่สามารถใช้ SMTP ได้ โดยมีโปรแกรม Sendmail เป็นโปรแกรมแรกที่นำ SMTP ไปใช้ โปรแกรมตัวอื่นได้แก่ Postfix, qmail และ Microsoft Exchange เป็นต้น
รูปแบบต่าง ๆ ของข้อความอิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่งไปหนึ่ง(one - to - one)ถูกใช้ใน คศ.1960(พศ. 2503) คนสื่อสารระหว่างกันผ่านระบบที่พัฒนามาใช้กับคอมพิวเตอร์เมนเฟรมโดยเฉพาะ ในหน่วยงาน ARPANET ของรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเมื่อคอมพิวเตอร์จำนวนมากเชื่อมต่อกัน, มาตรฐานเพื่อให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ต่างระบบกันสามารถอีเมลถึงกันได้ก็ถูกพัฒนาขึ้นมา เอสเอ็มทีพีพัฒนาต่อจากมาตรฐานนี้ที่หยุดพัฒนาไปใน คศ.1970(พศ. 2513)

FTP: File Transfer Protocol

เอฟทีพี หรือ เกณฑ์วิธีถ่ายโอนแฟ้ม (อังกฤษ: FTP: File Transfer Protocol) เป็นโพรโทคอลเครือข่ายชนิดหนึ่ง ใช้สำหรับแลกเปลี่ยนและจัดการไฟล์บนเครือข่ายทีซีพี/ไอพีเช่นอินเทอร์เน็ต เอฟทีพีถูกสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมแบบระบบรับ-ให้บริการ (client-server) และใช้การเชื่อมต่อสำหรับส่วนข้อมูลและส่วนควบคุมแยกกันระหว่างเครื่องลูกข่ายกับเครื่องแม่ข่าย โปรแกรมประยุกต์เอฟทีพีเริ่มแรกโต้ตอบกันด้วยเครื่องมือรายคำสั่ง สั่งการด้วยไวยากรณ์ที่เป็นมาตรฐาน แต่ก็มีการพัฒนาส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ขึ้นมาสำหรับระบบปฏิบัติการเดสก์ท็อปที่ใช้กันทุกวันนี้ เอฟทีพียังถูกใช้เป็นส่วนประกอบของโปรแกรมประยุกต์อื่นเพื่อส่งผ่านไฟล์โดยอัตโนมัติสำหรับการทำงานภายในโปรแกรม เราสามารถใช้เอฟทีพีผ่านทางการพิสูจน์ตัวจริงด้วยชื่อผู้ใช้และรหัสผ่าน หรือเข้าถึงด้วยผู้ใช้นิรนาม

นอกจากนี้ยังมีทีเอฟทีพี (Trivial File Transfer Protocol) ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับเอฟทีพีที่ลดความซับซ้อนลง แต่ไม่สามารถควบคุมให้ทำงานประสานกันได้ และไม่มีการพิสูจน์ตัวจริง

การทำงาน
เครื่องลูกข่ายเริ่มต้นสร้างการเชื่อมต่อไปยังเครื่องแม่ข่ายโดยใช้ทีซีพีบนพอร์ตหมายเลข 21 การเชื่อมต่อนี้คือ การเชื่อมต่อส่วนควบคุม ซึ่งจะเปิดอยู่ตลอดเวลาขณะที่มีการใช้งาน หลังจากนั้น การเชื่อมต่อส่วนข้อมูล บนพอร์ตหมายเลข 20 จะถูกสร้างขึ้นตามความจำเป็นเพื่อส่งผ่านข้อมูลไฟล์ คำสั่งที่ส่งโดยเครื่องลูกข่ายไปยังส่วนควบคุมมีรูปแบบเป็นข้อความแอสกี และจบคำสั่งด้วย CRLF (อักขระปัดแคร่ตามด้วยอักขระป้อนบรรทัด) ตัวอย่างเช่น RETR filename เป็นคำสั่งรับข้อมูลไฟล์ที่ต้องการจากเครื่องแม่ข่ายมายังเครื่องลูกข่าย

หลังจากเครื่องแม่ข่ายได้รับคำสั่งแล้ว จะตอบกลับด้วยรหัสสถานภาพเป็นตัวเลขสามหลักพร้อมกับข้อความแอสกีถ้ามี บนการเชื่อมต่อส่วนควบคุม ตัวอย่างเช่น 200 หรือ 200 OK หมายความว่าคำสั่งล่าสุดสำเร็จผล การส่งผ่านไฟล์บนการเชื่อมต่อส่วนข้อมูลที่กำลังดำเนินอยู่สามารถยุติลงได้ด้วยการส่งคำสั่งให้หยุดไปบนการเชื่อมต่อส่วนควบคุม

เอฟทีพีสามารถทำงานได้ใน วิธีส่งการร้องขอ (active mode) และ วิธีรับการร้องขอ (passive mode) ซึ่งเป็นการเลือกว่าให้จัดการการเชื่อมต่อที่สองอย่างไร ด้วยวิธีส่งการร้องขอ เครื่องลูกข่ายจะส่งหมายเลขไอพีและพอร์ตที่ต้องการใช้ส่งผ่านข้อมูลให้กับเครื่องแม่ข่าย จากนั้นเครื่องแม่ข่ายจะเปิดการเชื่อมต่อนั้นกลับมา ในขณะที่วิธีรับการร้องขอ เครื่องแม่ข่ายจะส่งหมายเลขไอพีและพอร์ตให้กับเครื่องลูกข่ายก่อน จากนั้นเครื่องลูกข่ายจะสร้างการเชื่อมต่อดังกล่าว (แนวคิดตรงข้ามกับวิธีส่งการร้องขอ) วิธีรับการร้องขอถูกคิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้ในกรณีเครื่องลูกข่ายตั้งอยู่หลังไฟร์วอลล์ และไม่สามารถรับการเชื่อมต่อทีซีพีที่ไม่รู้จักจากภายนอกได้ วิธีการทั้งคู่ได้รับการปรับปรุงเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2541 เพื่อให้รองรับไอพีวี6 และปรับแต่งวิธีรับการร้องขอทำให้เกิดเป็น วิธีรับการร้องขอแบบเสริม (extended passive mode) ขึ้นมา
ขณะที่ส่งผ่านข้อมูลไปบนเครือข่าย การแสดงออกของข้อมูลสามารถใช้ได้สี่อย่าง ซึ่งมีเพียงสองชนิดที่ใช้กันโดยทั่วไป

• วิธีข้อมูลแอสกี ใช้สำหรับข้อมูลชนิดข้อความล้วนเท่านั้น (หากใช้กับข้อมูลชนิดอื่นจะทำให้ไฟล์เสีย)
• วิธีข้อมูลไบนารี เครื่องที่ส่งข้อมูลจะส่งไปทีละไบต์ และเครื่องที่รับข้อมูลจะรับเป็นกระแสข้อมูลไบต์ (bytestream) มาตรฐานเอฟทีพีเรียกวิธีนี้ว่า วิธีข้อมูลอิมเมจ

ส่วนที่เหลืออีกสองชนิดคือ วิธีข้อมูลเอบซีดิก และ วิธีข้อมูลไฟล์เฉพาะที่ ถูกยกเลิกการใช้งานไปแล้ว สำหรับไฟล์ข้อความล้วน เราสามารถเลือกการควบคุมรูปแบบและโครงสร้างการบันทึกที่แตกต่างกันได้ แม้ว่าคุณลักษณะเหล่านี้แทบจะไม่ได้ใช้ในปัจจุบัน วิธีการส่งผ่านข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ แต่วิธีการปริยายที่ใช้กันในปัจจุบันจะเป็นการส่งกระแสข้อมูลเสมอ

เทลเน็ต (Telnet)

เทลเน็ต (Telnet) เป็นบริการทางอินเทอร์เน็ตรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการขอเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์จากระยะไกล ผู้ใช้นั้นสามารถขอเข้าใช้ได้ขอแค่ติดต่อเครือข่ายที่ได้รับอนุญาต โดยไม่จำเป็นว่าต้องนั่งอยู่หน้าเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้น การขอใช้นั้น ผู้ใช้จะป้อนคำสั่งที่เครื่องของตัวเองไปยังเครื่องที่เราขอเข้าใช้ แล้วผลก็จะกลับมาแสดงที่หน้าจอเรา เทลเน็ตเป็นชื่อของ โพรโทคอลที่ใช้ในการจำลองเทอร์มินัลผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นโพรโทคอลในชุด TCP/IP และ เทลเน็ตก็เป็นชื่อของโปรแกรมที่ให้เราสามารถใช้คอมพิวเตอร์จากระยะไกลได้ ถ้าเราได้รับอนุญาตจากเจ้าของเครื่อง
นอกจากนี้ OPACก็สามารถนำ เทลเน็ตมาใช้ได้

Ethernet

อีเธอร์เน็ต ( Ethernet) เป็นชื่อเรียกวิธีการสื่อสารในระดับล่างหรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ของระบบ LAN ชนิดหนึ่ง พัฒนาขึ้นโดย 3 บริษัทใหญ่คือบริษัท Xerox Corporation, Digital Equipment Corporation (DEC) และ Intel ในปี ค.ศ. 1976 ตามมาตรฐาน IEEE 802.3

การเชื่อมเครือข่ายแบบ Ethernet สามารถใช้สายเชื่อมได้ทั้งแบบ Co-Axial และ UTP (Unshielded Twisted Pair) โดยสายสัญญาณที่ได้รับความนิยม คือ UTP 10 Base-T คะ โดยปกติสามารถส่งข้อมูลได้เร็วถึง 10 Mbps ผ่าน Hub แต่ถ้าเป็นการส่งข้อมูลของระบบเครือข่ายที่ความเร็ว 100Mbps จะเรียกว่า Fast Ethernet หากความเร็วในการส่งข้อมูลที่ 1000Mbps หรือ 1Gbps จะเรียกว่า Gigabit Ethernet
ทั้งนี้การเชื่อมคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ไม่ควรเกิน 30 เครื่องต่อหนึ่งวงเครือข่าย เนื่องจากอุปกรณ์ใน Ethernet LAN จะแข่งขันในการส่งข้อมูล หากส่งข้อมูลพร้อมกัน และสัญญาณชนกัน จะทำให้เกิดการส่งใหม่ (CSMD/CD: Carrier sense multiple access with collision detection) ทำให้เสียเวลารอ