Music Hit In your life

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฟอร์มเค้าโครงโครงงาน (ฉบับย่อ)


แบบฟอร์มเค้าโครงโครงงาน (ฉบับย่อ)

 
เค้าโครงโครงงาน

1. หัวข้อโครงงาน
     (ภาษาไทย) .........การตัดต่อวีดีโอเรื่องวิถีชีวิตคนห้วยกรด...................................
     (ภาษาอังกฤษ) ..................................................................................................

2. ครูที่ปรึกษาโครงงาน ...........ครูสุเมธ ราชประชุม..............................................

3. ชื่อผู้ทำโครงงาน                    
1..............................เลขที่…….ห้อง...............เลขประจำตัวนักเรียน............
          2.............................เลขที่…….ห้อง...............เลขประจำตัวนักเรียน............                 
          3.............................เลขที่
…….ห้อง...............เลขประจำตัวนักเรียน............
          4.............................เลขที่…….ห้อง...............เลขประจำตัวนักเรียน............               
          5.............................เลขที่
…….ห้อง...............เลขประจำตัวนักเรียน............


3. ที่มาและความสำคัญ (ของการทำโครงงานนี้ มีการอ้างอิงว่าข้อมูลที่เรานำมาเขียนนี้มาจากแหล่งใด โดยให้นักเรียนใส่อ้างอิงแบบนามปี เช่น (สมศรี, 2550) ดูตัวอย่างได้จากการเขียนเค้าโครงงาน)
            เนื่องจากกลุ่มของข้าพเจ้าตั้งอยู่ในตำบลห้วยกรด จึงทำให้มีความสนใจว่า ประชาชนในตำบลห้วยกรดนั้นมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่อย่างไร และการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์นั้นได้มีการเรียนการสอนในเรื่อง การตัดต่อวีดีโอ ทำให้กลุ่มของข้าพเจ้าสนใจในการตัดต่อวีดีโอในเรื่องดังกล่าว

4. วัตถุประสงค์ของโครงงาน
            1…เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของประชาชนในตำบลห้วยกรด…………………………
2…เพื่อศึกษาขั้นตอนการตัดต่อวีดีโอ………………………

5. วิธีการดำเนินการ(เขียนเป็นข้อๆ ให้เป็นลำดับขั้นตอน)
            1. ประชุมสมาชิกในกลุ่ม
            2. ศึกษาข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ประชาชนในตำบลห้วยกรด
            3. ถ่ายภาพ เก็บข้อมูล
            4. ลงมือตัดต่อวีดีโอ
            5. อัพโหลดลงเว็บไซต์ นำเสนอครู

  
6. ระยะเวลาดำเนินการ  ประมาณ..............เดือน

ที่

กิจกรรม*

ระยะเวลาปฏิบัติงาน (เดือนที่)
1.
2.
3
4
5.
6
7
8
9.
10
1
ค้นคว้าหาข้อมูล










2











3










4
เขียนรายงาน










หมายเหตุ *ให้นักเรียนวางแผนการทำโครงงาน ตามขั้นตอนวิธีการดำเนินการ
7.  ขอบเขตของการศึกษา (พื้นที่, สถานที่, ระยะเวลา, นิยามศัพท์, นิยามเชิงปฏิบัติการ, ฯลฯ)
………ศึกษาวิถีชีวิตประชาชนตำบลห้วยกรด รอบๆ โรงเรียนห้วยกรดวิทยา

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1…………………………………………………………………………………
               
         2…………………………………………………………………………………

9. เอกสารอ้างอิง/บรรณานุกรม (ตามตัวอย่าง)
            1………………………………………………………………………………………
           2………………………………………………………………………………………


หมายเหตุ   ให้พิมพ์ด้วยตัวพิมพ์ Browallia New ขนาด 14 หรือเขียน ไม่น้อยกว่า 2 หน้ากระดาษ A4

โปรดอ่าน  ข้อควรพิจารณาในการทำโครงงานนอกจากการเลือกเรื่องที่นักเรียนสนใจแล้วควรคำนึงถึงสิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1.       มีความปลอดภัยในการทำงาน ไม่เสี่ยงต่อความปลอดภัยของตนเอง
2.       ใช้งบประมาณเหมาะสม ไม่มีค่าใช้จ่ายสูงเกินไป
3.      
กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี(คอมพิวเตอร์)
 
มีความเป็นไปได้ที่จะทำโครงงานสำเร็จ(คาดว่าจะสามารถสรุปผลการทดลองตามสมมุติฐานได้  ซึ่งอาจจะสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสมมุติฐาน ควรปรึกษากับครูที่ปรึกษาโครงงาน)

ข้อสอบคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา ๒๕๕๕ โรงเรียนห้วยกรดวิทยา สพม. เขต ๕


ข้อสอบอัฉริยะไอทีคอมพิวเตอร์ ปีการศึกษา ๒๕๕๕
โรงเรียนห้วยกรดวิทยา สพม. เขต ๕
ปรนัย
1. ระบบปฏิบัติการ Android เวอร์ชัน 4 ซึ่งเป็นเวอร์ชันล่าสุด ทางทีมงานพัฒนา ให้โค้ดเนมว่าอะไร
1.       Honeycomb                                               2. Gingerbread
3.  Ice Cream Sandwich                  4. Jelly Bean 
2. ปัจจุบันมีระบบ RSS FEED ใช้สำหรับดึงข่าวจากเว็บต่างๆ มาแสดงบนหน้าเว็บเพจ โดยนำมาเฉพาะหัวข้อข่าว เมื่อผู้ใช้คลิกลิงค์ก็จะแสดงรายละเอียดข่าวในเว็บต้นฉบับนั้นๆ สำหรับ  RSS FEED พัฒนาขึ้นมาโดยใช้ภาษาอะไร
                                1. HTML                                                2. XML 
                                3. Java Script                                      4. VB
3. ข้อใดต่อไปนี้เป็นคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่อยู่ในยุคที่หนึ่ง
                                1. Electronic Numericial Integrator and Calculator 
                   2. PDP-8 (the Digital Equipment Corporation)
                   3. Intel 4004
                   4. LSI (large-scale integration)
4. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่องค์ประกอบของการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing)
                   1. Transparency                  2. Scalability
                   3. Intelligent Monitoring         4. Physical 
5. เทคโนโลยี GPRS (General Packet Radio Service) อยู่ในเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคใด
                   1. ยุค 2G                           2. ยุค 2.5G 
                   3. ยุค 2.75G                       4. ยุค 3 G
6. จากกฎหมายพระราชบัญญัติการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เราจะต้องเก็บการจราจรของข้อมูลไว้อย่างน้อยกี่วัน
                                1.  60 วัน                                    2. 90 วัน 
                        3. 120 วัน                                   4. 160 วัน
7. กสทช. ย่อมาจากอะไร
                        1. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ 
                                2. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์แห่งชาติ
                                3. คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
                                4. คณะกรรมการการสื่อสารแห่งประเทศไทย
8. GPS (Navstar) ในปัจจุบันประกอบไปด้วยดาวเทียม กี่ดวง การโคจรจะเอียงทำมุมเอียง กี่องศา
                                1.  ดาวเทียม 20 ดวง ทำมุม 45 องศา                 2. ดาวเทียม 20 ดวง ทำมุม 45 องศา
                                3. ดาวเทียม 24 ดวง ทำมุม 45 องศา                  4. ดาวเทียม 24 ดวง ทำมุม 55 องศา 


อัตนัย
                พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเชี่ยวชาญทางด้านคอมพิวเตอร์มาก อยากทราบว่า พระราชกรณียกิจด้านคอมพิวเตอร์มีอะไรบ้าง มีความสำคัญอย่างไร
เฉลย ทรงประดิษฐ์ตัวอักษร หรือฟอนต์ (Font) ในหลวงทรงออกแบบ ส.ค.ส.และใช้ฟอนต์ของพระองค์เอง ทรงเขียนโปรแกรมขึ้นมาใช้เอง ทรงออกแบบ ส.ค.ส ด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ทรงใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการแต่งเพลง

วันอาทิตย์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความรู้เบื้องต้น เกี่ยวกับฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูล (Database System)
          ระบบฐานข้อมูล คือระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน เกี่ยวข้องกันเป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีรูปแบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบแบบแผน และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน เช่น ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลครู ข้อมูลรายวิชา เป็นต้น ซึ่งแต่เดิมอาจจะเก็บอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ เมื่อมีการใช้วิธีการจัดเก็บเป็นระบบฐานข้อมูล ก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดเก็บไว้ภายในฐานข้อมูลเดียวกัน ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขององค์กร ทำให้แต่ละหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูล ก็สามารถทำได้โดยโดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System : DBMS)

ระบบจัดการฐานข้อมูล

(Database Management System : DBMS)

          ระบบจัดการฐานข้อมูล คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้แบบใด เช่น ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว หรือ ให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและการแก้ไขปรับปรุงข้อมูล ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพ เสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้สามารถติดต่อกันได้

ประโยชน์ในการใช้ระบบฐานข้อมูล
เมื่อมีการนำระบบจัดการฐานข้อมูลมาใช้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูล แก้ไขปรับปรุงข้อมูล ค้นหาข้อมูล  รวมทั้งกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูล เป็นต้น ทำให้ฐานข้อมูลมีประโยชน์มากมาย ได้แก่
1.       ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล เมื่อมีข้อมูลของหน่วยงานซึ่งจัดเก็บไว้หลายที่ อาจมีข้อมูลในส่วนที่เหมือนกันหลายส่วน เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน และ ฝ่ายบุคคล เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูล ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
2.       ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล ถ้ามีการแก้ชื่อ ที่อยู่ ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ชื่อและที่อยู่ของฝ่ายอื่นๆ ก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย
3.       ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำเข้าข้อมูล และระบบจัดการฐานข้อมูลจะคอยควบคุมให้มีการนำเข้าข้อมูลเป็นไปตามกฎเกณฑ์ เพื่อให้มีความถูกต้อง
4.       สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูปแบบที่แน่นอนได้ และแต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน
5.       มีความปลอดภัย การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกันสามารถวางมาตรฐานในการแก้ไขและป้องกันที่ดีกว่า สามารถกำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลในแต่ละราย โดยระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการตรวจสอบสิทธิ์ ในการทำงานกับข้อมูล เช่น การเรียกดูข้อมูล การลบข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล และการเพิ่มข้อมูล เป็นต้น
6.      ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูล ต้องมีการตกลงรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน
7.      ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ตาม ในการใช้ฐานข้อมูล ถึงแม้ว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบจัดการฐานข้อมูลนั้นจะมีข้อดีหลายประการ แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่บ้างดังต่อไปนี้
1.      เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้ในระบบจัดการฐานข้อมูลมีราคาค่อนข้างแพง รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีประสิทธิภาพสูง
2.      เกิดการสูญเสียข้อมูลได้ เนื่องจากข้อมูลต่างๆ ภายในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในที่เดียวกัน ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดีจึงต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ


หลักการออกแบบฐานข้อมูล
          ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างฐานข้อมูลนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการออกแบบฐานข้อมูลเสียก่อนว่า ข้อมูลที่จะนำมาเก็บในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีการจัดเก็บในรูปแบบใด แล้วจึงค่อยเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูล ซึ่งขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูลนั้นมีดังต่อไปนี้
1.       กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล
2.       กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างฐานข้อมูล
3.       สอบถามความต้องการของผู้ใช้
4.       วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
5.       จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บในระบบฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของตาราง (Table)
6.       วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง
7.       พิจารณาเขตข้อมูลหลัก หรือฟิลด์หลัก (Primary Key) ของแต่ละตาราง
8.       วิเคราะห์โครงสร้างหลักของข้อมูลที่ได้ตามหลักการ Normalization
9.       กำหนดชนิดข้อมูล (Data Type)
10.   กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูล (Relationship)
11.   ออกแบบหน้าจอการใช้งาน

กฎการ Normalization
          กฎการ Normalization เป็นกฎที่ใช้ในการออกแบบตาราง เพื่อลดความซ้ำซ้อน แก้ไขตารางได้ง่าย และถ้าเปลี่ยนแปลงข้อมูล จะมีผลกระทบต่อข้อมูลอื่นน้อยที่สุด มีทั้งหมด 4 ข้อดังนี้
1.       กฎที่ข้อที่ 1 (First Normal Form) กล่าวว่า จะต้องไม่มีเซลล์ใดในตารางที่มีค่าเกิน 1 ค่า
2.       กฎที่ข้อที่ 2 (Second Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 2  จะต้องไม่มีแอททริบิวต์ หรือฟิลด์ที่ไม่ใช่คีย์หลักไปผสมหรือปนอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของคีย์หลัก
3.       กฎที่ข้อที่ 3 (Third Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อ 3 จะต้องไม่มีแอททริบิวต์ใดที่ขึ้นกับแอททริบิวต์อื่นที่ไม่ใช่คีย์หลัก
4.       กฎที่ข้อที่ 4 (Fourth Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อ 4 จะต้องไม่มีการขึ้นต่อกันแบบเชิงกลุ่มภายในตารางเดียวกัน

รายวิชาคอมพิวเตอร์ สาระเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5    

เผย สเปก HTC J Butterfly ในญี่ปุ่น

หลังจากมีข่าวลือตั้งแต่เดือนสิงหาคม ว่าเอชทีซีจะเปิดตัวสมาร์ทโฟนหน้าจอยักษ์ 5 นิ้วความละเอียดสูง 1080p วันนี้เอชทีซีประกาศเปิดตัว HTC J Butterfly แล้วเพื่อลุยตลาดญี่ปุ่นโดยเฉพาะ
 

       
       HTC J Butterfly ชูจุดขายที่การใช้หน้าจอความละเอียดสูงเทคโนโลยี full HD Super LCD 3 ขนาด 5 นิ้วเต็มตา ความละเอียดจอภาพ 1920×1080 พิกเซลคิดเป็น 440 พิกเซลต่อนิ้ว (ppi) ถือว่าทะลุเกินสถิติหน้าจอเรตินาดิสเพลย์ของไอโฟน 5 (iPhone 5) ซึ่งมีความละเอียด 326 ppi
       
       J Butterfly มีจุดเด่นเรื่องความบางเครื่องและสีสันสดใส ลูกเล่นสีแดงและดำตัดกันทำให้ J Butterfly ดูน่าใช้งาน ภายในเครื่องติดตั้ง RAM ขนาด 2GB หน่วยความจำภายใน 16GB มีพอร์ตเสียบหน่วยความจำ microSD card เพิ่ม ทั้งหมดทำงานบนชิปควอดคอร์ 1.5GHz Snapdragon S4 Pro APQ8064

       
       ตัวกล้องมาพร้อมความละเอียด 8MP สามารถถ่ายภาพความละเอียด 3280×2464 พิกเซล และบันทึกภาพวิดีโอความละเอียด 1080p แบตเตอรี่ความจุ 2,020mAh
       
       น่าเสียดายที่ J Butterfly ยังเป็นสมาร์ทโฟนที่จำหน่ายเฉพาะญี่ปุ่นในขณะนี้ อย่างไรก็ตาม เอชทีซียืนยันว่าหน้าจอความละเอียดสูงใน J Butterfly จะถูกนำมาใช้ในสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นในตลาดต่อไป
       
       ขณะนี้ J Butterfly มีข้อมูลเพียงว่าจะเริ่มจำหน่ายช่วงธันวาคม โดยยังไม่มีข้อมูลวันวางจำหน่ายที่แน่นอน โดยเว็บไซต์เอชทีซีประเทศญี่ปุ่นให้ข้อมูลเพียงว่าจะพร้อมจำหน่ายในเร็วๆนี้