ระบบฐานข้อมูล
(Database
System)
ระบบฐานข้อมูล คือระบบการจัดเก็บข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน
เกี่ยวข้องกันเป็นเรื่องเดียวกัน โดยมีรูปแบบการจัดเก็บที่เป็นระเบียบแบบแผน
และจัดเก็บไว้ในที่เดียวกัน เช่น ข้อมูลนักเรียน ข้อมูลครู ข้อมูลรายวิชา เป็นต้น
ซึ่งแต่เดิมอาจจะเก็บอยู่ในรูปแบบแฟ้มข้อมูลของหน่วยงานต่างๆ
เมื่อมีการใช้วิธีการจัดเก็บเป็นระบบฐานข้อมูล ก็จะนำข้อมูลเหล่านี้มาจัดเก็บไว้ภายในฐานข้อมูลเดียวกัน
ซึ่งเป็นฐานข้อมูลขององค์กร ทำให้แต่ละหน่วยงานสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
และสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นได้ เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูล
ก็สามารถทำได้โดยโดยผ่านตัวกลางที่เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database
Management System : DBMS)
ระบบจัดการฐานข้อมูล
(Database
Management System : DBMS)
ระบบจัดการฐานข้อมูล
คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในการกำหนดลักษณะข้อมูลที่จะเก็บไว้ในฐานข้อมูล
เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูลลงในฐานข้อมูล
กำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูลได้ พร้อมกับกำหนดด้วยว่าให้ใช้แบบใด เช่น
ให้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว หรือ ให้แก้ไขข้อมูลได้ด้วย
นอกจากนั้นยังอำนวยความสะดวกในการค้นหาข้อมูลและการแก้ไขปรับปรุงข้อมูล
ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวก และมีประสิทธิภาพ
เสมือนเป็นตัวกลางระหว่างผู้ใช้กับฐานข้อมูลให้สามารถติดต่อกันได้
ประโยชน์ในการใช้ระบบฐานข้อมูล
เมื่อมีการนำระบบจัดการฐานข้อมูลมาใช้
เพื่ออำนวยความสะดวกในการบันทึกข้อมูล แก้ไขปรับปรุงข้อมูล ค้นหาข้อมูล รวมทั้งกำหนดผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ฐานข้อมูล
เป็นต้น ทำให้ฐานข้อมูลมีประโยชน์มากมาย ได้แก่
1. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
เมื่อมีข้อมูลของหน่วยงานซึ่งจัดเก็บไว้หลายที่ อาจมีข้อมูลในส่วนที่เหมือนกันหลายส่วน
เช่น ฝ่ายบัญชี เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน และ ฝ่ายบุคคล
เก็บข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของพนักงาน เมื่อนำคอมพิวเตอร์มาใช้จัดเก็บข้อมูลให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูล
ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้
2. ทำให้เกิดความสอดคล้องของข้อมูล
ถ้ามีการแก้ชื่อ ที่อยู่ ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ชื่อและที่อยู่ของฝ่ายอื่นๆ
ก็จะถูกเปลี่ยนแปลงด้วย
3. ควบคุมความถูกต้องของข้อมูล
ผู้บริหารระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ในการนำเข้าข้อมูล
และระบบจัดการฐานข้อมูลจะคอยควบคุมให้มีการนำเข้าข้อมูลเป็นไปตามกฎเกณฑ์
เพื่อให้มีความถูกต้อง
4. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้
การเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลเดียวกัน จะสามารถกำหนดรูปแบบที่แน่นอนได้
และแต่ละฝ่ายสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ เพราะเป็นมาตรฐานเดียวกัน
5. มีความปลอดภัย
การที่ข้อมูลมารวมอยู่ในที่เดียวกันสามารถวางมาตรฐานในการแก้ไขและป้องกันที่ดีกว่า
สามารถกำหนดรหัสผ่านเข้าใช้งานข้อมูลในแต่ละราย
โดยระบบจัดการฐานข้อมูลจะทำการตรวจสอบสิทธิ์ ในการทำงานกับข้อมูล เช่น
การเรียกดูข้อมูล การลบข้อมูล การปรับปรุงข้อมูล และการเพิ่มข้อมูล เป็นต้น
6. ขจัดความขัดแย้งในการใช้ข้อมูลร่วมกัน
ก่อนที่จะมีการจัดเก็บข้อมูล
ต้องมีการตกลงรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นเอกฉันท์เสียก่อน
7. ข้อมูลที่จัดเก็บมีความทันสมัย
เมื่อข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้รับการดูแลปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ตาม
ในการใช้ฐานข้อมูล
ถึงแม้ว่าการประมวลผลข้อมูลด้วยระบบจัดการฐานข้อมูลนั้นจะมีข้อดีหลายประการ
แต่ก็จะมีข้อเสียอยู่บ้างดังต่อไปนี้
1.
เสียค่าใช้จ่ายสูง เนื่องจากโปรแกรมที่ใช้ในระบบจัดการฐานข้อมูลมีราคาค่อนข้างแพง
รวมทั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องมีประสิทธิภาพสูง
2.
เกิดการสูญเสียข้อมูลได้
เนื่องจากข้อมูลต่างๆ
ภายในฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บอยู่ในที่เดียวกัน
ดังนั้นการจัดทำฐานข้อมูลที่ดีจึงต้องมีการสำรองข้อมูลไว้เสมอ
หลักการออกแบบฐานข้อมูล
ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างฐานข้อมูลนั้น
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการออกแบบฐานข้อมูลเสียก่อนว่า
ข้อมูลที่จะนำมาเก็บในฐานข้อมูลประกอบไปด้วยอะไรบ้าง และมีการจัดเก็บในรูปแบบใด
แล้วจึงค่อยเริ่มต้นสร้างฐานข้อมูล
ซึ่งขั้นตอนในการออกแบบฐานข้อมูลนั้นมีดังต่อไปนี้
1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างระบบฐานข้อมูล
2. กำหนดวัตถุประสงค์ในการสร้างฐานข้อมูล
3. สอบถามความต้องการของผู้ใช้
4. วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลที่จำเป็นทั้งหมด
5. จัดกลุ่มข้อมูลที่ต้องการเก็บในระบบฐานข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบของตาราง
(Table)
6. วิเคราะห์ข้อมูลแต่ละตาราง
7. พิจารณาเขตข้อมูลหลัก
หรือฟิลด์หลัก (Primary Key) ของแต่ละตาราง
8. วิเคราะห์โครงสร้างหลักของข้อมูลที่ได้ตามหลักการ
Normalization
9. กำหนดชนิดข้อมูล
(Data
Type)
10. กำหนดความสัมพันธ์ของข้อมูลในฐานข้อมูล
(Relationship)
11. ออกแบบหน้าจอการใช้งาน
กฎการ
Normalization
กฎการ Normalization เป็นกฎที่ใช้ในการออกแบบตาราง
เพื่อลดความซ้ำซ้อน แก้ไขตารางได้ง่าย และถ้าเปลี่ยนแปลงข้อมูล
จะมีผลกระทบต่อข้อมูลอื่นน้อยที่สุด มีทั้งหมด 4 ข้อดังนี้
1. กฎที่ข้อที่
1
(First Normal Form) กล่าวว่า จะต้องไม่มีเซลล์ใดในตารางที่มีค่าเกิน
1 ค่า
2. กฎที่ข้อที่
2
(Second Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อที่ 2 จะต้องไม่มีแอททริบิวต์
หรือฟิลด์ที่ไม่ใช่คีย์หลักไปผสมหรือปนอยู่กับส่วนใดส่วนหนึ่งของคีย์หลัก
3. กฎที่ข้อที่
3
(Third Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อ 3 จะต้องไม่มีแอททริบิวต์ใดที่ขึ้นกับแอททริบิวต์อื่นที่ไม่ใช่คีย์หลัก
4. กฎที่ข้อที่
4
(Fourth Normal Form) กล่าวว่า ตารางที่ผ่านกฎข้อ 4 จะต้องไม่มีการขึ้นต่อกันแบบเชิงกลุ่มภายในตารางเดียวกัน
รายวิชาคอมพิวเตอร์ สาระเพิ่มเติม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น