Music Hit In your life

วันอาทิตย์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2554

Chrome OS คืออะไร

ผู้อ่านหลายท่านอาจจะร้อง อ๋อ เมื่อได้ยินชื่อ ระบบปฏิบัติการ ที่ผมกำลังจะเอ่ยถึงต่อไปนี้ แน่นอนครับว่ามันเป็นชื่อเดียวกับเว็บเบราเซอร์ของ Google ซึ่งเจ้า Chrome OS ก็คือระบบปฏิบัติการที่ทาง Google ได้ซุ่มทำอยู่นั่นเองซึ่งตอนนี้ทาง เจ้าของ Google เองได้เปิดตัวไป ซึ่งก็มีผู้ทดลองใช้หลายท่านได้เปิดเผยออกมาว่า เป็น OS ที่บู๊ตตัวไวมากนั่นเองครับ 

Concept ของ Google Chrome OS ที่ กูเกิลได้วางไว้คือจะต้องมีความเรียบง่าย ทำงานได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ปราศจาก Virus Computer และ Mulware ต่างๆ และที่สำคัญด้าน User Interface ของ OS ต้องคงความเป็น Google เอาไว้คือ เรียบสุดๆ ไม่มีอะไรมารกหน้าจอ

Google ตั้งเป้าเอาไว้ว่า ความสามารถของ Google Chrome OS จะทำให้ผู้ใช้งานเปิด Web ปุ๊บ ติดปั๊บ อยาก Check Mail เหรอ ง่ายมาก Click ปุ๊บ Mail มาปั๊บ หรือเวลาจะต่ออุปกรณ์อื่นๆเข้ากับ Computer ก็ไม่ต้องเสียเวลาติดตั้งหลายนาที ประเภทเสียบปุ๊บ ติดปั๊บเลย พูดง่ายๆ คือ Concept คือ อยากให้ทุกคนรู้สึกเหมือน Computer ของตัวเองทำงานได้เร็วอยู่ตลอดเวลา เร็วเหมือนตอนซื้อเครื่องไหม่ๆ ไม่ใช่แบบที่พอเราติดตั้ง Program อะไรลงไปมากเข้าๆ ก็พาลจะทำงานช้าลงๆ
Google Chrome OS ทำงานบน X36 และ ARM Chips และขณะนี้ทีมพัฒนาได้ทำการทดสอบกับ OEMS ต่างๆเพื่อให้แน่ใจว่าสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพกัย Netbook ที่จะออกมาในช่วงปี 2010 นี้ โดยใช้ระบบปฏิบัติการที่มีรากฐานจาก Linux Kernal และสามารถรองรับพวก Web-Base Application ต่างๆ


คำแถลงจากทีมงานพัฒนาโปรเจค 
ผมได้นำมาจาก www.ohodownloads.com

SP (Sundar Pichai) : สวัสดีครับทุกๆ ท่านยินดีต้อนรับเข้าสู่แถลงการเปิดตัวของ Chrome OS และผมหวังว่าคงไม่มีใครที่มาผิดงาน, งานเปิดตัวในวันนี้ไม่ใช่การพูดถึงเวอร์ชั่นเบต้าทดลองใช้แต่อย่างใด้ มันเป็นการเปิดตัวที่บ่งบอกว่า Chrome OS ใกล้ที่จะเสร็จสมบูรณ์แล้วและพวกเรื่อตื่นเต้นกับมันมากและมากพอที่จะจัดการ แถลงข่าวให้กับมัน
Chrome-OS-11
Google Chrome คือพื้นฐานของทุกสิ่งที่เรากำลังจะพูดถึงกันในวันนี้ และผมมีความยินดีที่จะประกาศว่าแม้ว่าเราจะเพิ่งประกาศยอดผู้ใช้ของ Google Chrome ว่ามีจำนวนมากกว่า 30 ล้านรายไปหยกๆ แต่ทว่าเมื่อมาถึงวินาทีที่ผ่านมานี้ยอดผู้ใช้ Google Chrome นั้นทะลุเป้าไปกว่า 40 ล้านรายแล้ว สิ่งที่พวกเราเน้นในการพัฒนา Google Chrome ก็คือความเร็ว ความเรียบง่ายและความปลอดภัย, Google Chrome มีประสิทธิภาพความเร็วสูงกว่า IE8 ถึงกว่า 40 เปอร์เซ็นต์ “อันหนึ่งช้า อันหนึ่งเร็ว” ทำให้ตัวเลือกของผู้ใช้นั้นไม่ต้องการการตัดสินใจที่ยากลำบากมากนัก (โคตรโม้เลย ( – -” ) – ผู้แปล) และเมื่อปีที่ผ่านมาพวกเราได้อัพเกรด Google Chrome ไปว่า 40 ครั้งซึ่งผู้ใช้มักจะไม่รู้ตัว โดยการอัพเกรดทั้งหมดนั้นจะเน้นไปที่เทคโนโลยี HTML 5 เกือบทั้งหมดเนื่องจากเราอยากเห็นการพัฒนาที่เป็นรูปธรรมของเทคโนโลยีเว็บไซ ต์
และภายในปีหน้า Google Chrome จะมีสิ่งใหม่ๆ ที่สำคัญได้แก่
1. Google Chrome สำหรับเครื่อง Mac ที่จะเปิดตัวก่อนสิ้นปีนี้ ซึ่งก็ใกล้มากแล้ว
2. Google Chrome สำหรับ Linux ที่กลำงอยู่ในช่วงโค้งสุดท้าย และเป็นที่มาของ Chrome OS ที่เรากำลังจะพูดถึงกันอยู่นี้
3. Chrome Extension ที่กำลังจะเริ่มเปิดให้ใช้งาน และมีระบบอัพเดตอัตโนมัติ ซึ่งรายละเอียดจะติดตามมาในเร็วๆ นี้
Chrome-OS-02
และสิ่งที่พวกเราในกูเกิ้ลกำลังพยายามผลักดันอยู่นั้นคือเทคโนโลยี HTML5 พวกเราต้องการที่จะให้เทคโนโลยี Web Apps (โปรแกรมการทำงานที่อ้างอิงกับข้อมูลและการประมวลผลด้วยการเชื่อมต่อ อินเตอร์เน็ต เช่นโปรแกรมต่างๆ บนสมาร์ทโฟนอย่าง iPhone – ผู้แปล) มีการก้าวกระโดดและใช้งานได้จริงในการเข้าถึงทรัพยากรของระบบ ยกตัวอย่างเช่นกราฟฟิก เราต้องการที่จะให้ Web Apps นั้นสามารถเข้าถึงการทำงานของ GPU ได้โดยตรงหรือสามารถเข้าถึงไฟล์มัลติมีเดียอื่นๆ ได้อย่างเต็มรูปแบบและสามารถทำงานแบบ Off line ได้ แน่นอนเรากำลังเก็บเกี่ยวพันธมิตรในการก้าวกระโดดของโทคโนโลยีในครั้งนี้

มีผู้ทดลองใช้งาน  Chrome OS  และผลทดสอบก็ออกมาดังนี้ครับ

ขั้นตอนไม่ยากอะไรครับ หลังจากซอร์สโค้ดของ Chrome OS ถูกนำขึ้นบน chromium.org ก็มีคนนำมาคอมไพล์แจกกันทั่วไปหลายเวอร์ชัน รายละเอียดแบบละเอียดสุดๆ อ่านได้จาก TechCrunch: Want To Try Out Google Chrome OS For Yourself? Here’s How สรุปคร่าวๆ คือมีไฟล์ .vmdk ให้โหลดหลายทาง (ผมใช้เวอร์ชันที่เป็น torrent ใน The Pirate Bay) นำมารันบน VMware Player หรือ VirtualBox ก็ได้แล้ว (กรณีนี้ผมใช้ VirtualBox)
chrome-os-boot
ขั้นตอนการติดตั้งคงไม่ต้องมาเล่าซ้ำ เมื่อโหลด virtual machine ขึ้นมาจะพบหน้าจอล็อกอินเป็นอันดับแรก ผมลองจับเวลาแล้วได้ประมาณ 12 วินาทีนับจากเริ่มบูต virtual machine ยังไม่ได้ 4 วินาทีตามโฆษณา แต่อย่าลืมว่านี่เป็น VirtualBox แถมเป็น Chrome OS รุ่นทดสอบของทดสอบ
ให้ใส่รหัสผ่านของ Gmail เพื่อความปลอดภัยผมจะใช้บัญชี blognonebook ที่สร้างไว้เพื่อสั่งหนังสือ Blognone Year Book 2008 คราวนู้น
default-screen
หน้าจอแรกสุดของ Chrome OS จะเป็นไปดังภาพ ไม่มีเดสก์ท็อป มีแต่ Chrome (หรือพูดให้ถูกคือ Chromium) เปิดแบบเต็มหน้าจอพร้อมกับแท็บอีก 4 แท็บ แท็บแรกสุดคือหน้าจอ Welcome ซึ่งมันก็อยู่บนเว็บ!!! ต้องล็อกอินด้วย Google Account ก่อนถึงเข้าได้
default-screen-calendar
แท็บถัดมาคือ Gmail กับ Google Calendar ถูกแสดงเป็นแท็บเล็กๆ คือเป็นแท็บที่ถูกปักหมุดค้างไว้
default-screen-newtab
แท็บสุดท้ายคือหน้า New Tab ของ Chrome ซึ่งก็เหมือน Chrome รุ่นปกติทุกประการ
chrome-os-homescreen
กลับมาที่แท็บแรก เมื่อล็อกอินแล้วจะพบกับหน้าจอเรียกโปรแกรมของ Chrome OS (ซึ่งมันก็คือเว็บแอพพลิเคชันนั่นเอง) แบ่งเป็น 4 แถว
  • แถวแรกคือ อีเมลและบริการเด่นของกูเกิล เช่น Gdocs ที่น่าสนใจคือมีไอคอนของ Hotmail/Yahoo! Mail ด้วย แต่เมื่อกดที่ Hotmail กลับพาเราไปยังหน้าของ Gmail แทน (เข้าใจว่าเป็นบั๊ก กูเกิลคงไม่จงใจขนาดนั้น)
  • แถวที่สอง เว็บบันเทิงทั้งหลาย ทั้งของกูเกิลเองคือ YouTube/Picasa และบริการของคนอื่นๆ เช่น Hulu/Pandora
  • แถวที่สาม อันนี้น่าสนใจที่สุด มันคือโปรแกรมพิเศษที่มีเฉพาะ Chrome OS ได้แก่พวก utility ต่างๆ เดี๋ยวจะกล่าวต่อไป
  • แถวสุดท้ายยังจัดหมวดแปลกๆ มีทั้ง Google Books, social network และเกมหมากรุก มีลิงก์ Get more ด้วยแต่ยังใช้งานไม่ได้
chrome-os-panel
มาดูที่แถวที่สามกันครับ สิ่งที่มีให้ลองคือ Contacts, Calculator, To-do list และ Notepad ผมลองกดที่ To-do list จะเห็น panel โผล่ขึ้นมาที่มุมขวาล่างของหน้าต่างๆ คล้ายกับหน้าจอสนทนาของ Gmail
ปรากฎว่ามันยังใช้งานไม่ได้ ต้องมีอีเมลที่เป็น @google.com เท่านั้น สังเกตที่ URL ตรงมุมขวาล่างสุด มันทำงานอยู่บน appspot.com
chrome-os-gtalk-panel
โปรแกรม Calculator และ Notepad เปิดแล้วเป็น panel ขาวไม่โหลดอะไร โปรแกรมเดียวที่ใช้งานได้คือ Contacts ซึ่งมันก็คือ Google Talk นั่นเอง (คงยกโค้ดมาเลยดื้อๆ) ทดลองแล้วคุยได้
chrome-os-flash-chess
ข้ามไปแถวสี่ครับ ความน่าสนใจคือเกมหมากรุก Chess พอคลิกลิงก์แล้วจะเข้าไปที่ flashchess3.com ถ้าดูจากภาพหรือ URL น่าจะเดาได้ว่า มันมี Flash Player มาให้ในตัว!!!
chrome-os-flash-version
เลขเวอร์ชันเป็น 10.0.32.18
chromium-about
ส่วนเลขเวอร์ชันของ Chromium เป็น 4.0.253.0
chrome-os-pin-tab
มาดูที่ส่วนอื่นๆ กันบ้าง ลองคลิกขวาที่แท็บ จะเห็นตัวเลือก Pin Tab มาให้
chrome-os-battery-icon
ที่มุมขวาบนมีนาฬิกาและไอคอนเล็กๆ อีก 3 อัน เริ่มจากซ้ายคือแสดงสถานะแบตเตอรี่
chrome-os-network-icon
ถัดมาอันกลาง สถานะของเครือข่าย ทั้ง Wi-Fi และ Ethernet
chrome-os-system-menu
สุดท้ายเป็น Options ซึ่งเป็นอันเดียวกับ Options ของ Chrome กดปุ่มรูปประแจของ Chrome ก็ได้ผลแบบเดียวกัน
chrome-os-option
เข้ามาที่ Options จะมีแท็บพิเศษของ Chrome OS เพิ่มเข้ามา ซึ่งมีแค่ตั้งเขตเวลา และตั้งค่าทัชแพด
chrome-os-option-search
อันอื่นยังอยู่ครบ สามารถเปลี่ยน search engine เป็น Yahoo!/Bing ได้ด้วย
chrome-os-bing
ทดลองเปลี่ยนเป็น Bing ก็ได้ผลครับ Chrome OS ที่ใช้ Bing เป็น default มีจริง!
chrome-os-gtk-theme
ลองเปลี่ยนธีมมาตรฐานของ Chrome เป็นธีมของ GTK+ ได้ (สังเกตตรงไอคอนที่ปุ่ม Back/Forward)
chrome-blognone
และแน่นอนแบบที่หลายคนน่าจะเดาได้ว่า มันอ่านภาษาไทยไม่ได้ ปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงเพราะ Chrome OS ตัวจริงนั้น encrypt ส่วนของระบบปฏิบัติการเอาไว้ ไปแก้มั่วๆ เอาฟอนต์ใส่เองไม่ได้ นักพัฒนาชาวไทยมีทางเลือกเดียวคือต้องเข้าไปพัฒนาภาษาไทยร่วมกับกูเกิล

ที่มา
  • http://www.blognone.com/node/14014
  • http://www.ohodownloads.com/software-review/google-chrome-os-2/
  • http://www.wannapong.com/google-chrome-os-what-is-operating-system/

ไอซีที เปิดตัวร่างพ.ร.บ.คอมฯ เพิ่มโทษผู้ดูแลระบบ ก๊อปไฟล์โหลดบิทเสี่ยงคุก (ไอซีที)

เปิดตัวร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เวอร์ชั่นใหม่จากกระทรวงไอซีที เพิ่มฟังก์ชั่น "ผู้ดูแลระบบ" โทษมากกว่าผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไป ส่วน ก๊อปปี้ไฟล์ โหลดบิท คุก 3 ปี
 
เมื่อวันจันทร์ ที่ 28 มีนาคม 54 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) จัดประชุมรับฟังและให้ความคิดเห็นเกี่ยวกับการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติ ว่า ด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โดยเชิญตัวแทนผู้ประกอบการด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม โดยในการประชุมดังกล่าว มีการแจกเอกสารร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ที่กระทรวงไอซีทีจัดทำขึ้นด้วย

ร่างกฎหมาย นี้ เขียนขึ้นเพื่อให้ยกเลิก พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ทั้งฉบับ และให้ใช้ร่างฉบับใหม่นี้แทน อย่างไรก็ดี โครงสร้างของเนื้อหากฎหมายมีลักษณะคล้ายคลึงฉบับเดิม โดยมีสาระสำคัญที่ต่างไป ดังนี้


ประเด็นที่ 1 เพิ่มนิยาม "ผู้ดูแลระบบ"

มาตรา 4 เพิ่มนิยามคำว่า "ผู้ดูแลระบบ" หมายความว่า "ผู้มีสิทธิเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการแก่ผู้อื่นในการเข้าสู่อิน เทอร์เน็ต หรือให้สามารถติดต่อถึงกันโดยประการอื่น โดยผ่านทางระบบคอมพิวเตอร์ ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการดูแลเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือเพื่อประโยชน์ของบุคคลอื่น"
ใน กฎหมายเดิมมีการกำหนดโทษของ "ผู้ให้บริการ" ซึ่งหมายถึงผู้ที่ให้บริการแก่บุคคลอื่นในการเข้าสู่อินเทอร์เน็ต หรือให้บริการเก็บรักษาข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีการวิพากษ์วิจารณ์กันมากว่า การพยายามเอาผิดผู้ให้บริการซึ่งถือเป็น "ตัวกลาง" ในการสื่อสาร จะส่งผลต่อความหวาดกลัวและทำให้เกิดการเซ็นเซอร์ตัวเอง อีกทั้งในแง่ของกฎหมายคำว่าผู้ให้บริการก็ตีความได้อย่างกว้างขวาง คือแทบจะทุกขั้นตอนที่มีความเกี่ยวข้องในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารก็ล้วนเป็น ผู้ให้บริการทั้งสิ้น

สำหรับร่างฉบับใหม่ที่เพิ่มนิยามคำว่า "ผู้ดูแลระบบ" ขึ้นมานี้ อาจหมายความถึงเจ้าของเว็บไซต์ เว็บมาสเตอร์ แอดมินระบบเครือข่าย แอดมินฐานข้อมูล ผู้ดูแลเว็บบอร์ด บรรณาธิการเนื้อหาเว็บ เจ้าของบล็อก ขณะที่ "ผู้ให้บริการ" อาจหมายความถึงผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

ตามร่างกฎหมายนี้ ตัวกลางต้องรับโทษเท่ากับผู้ที่กระทำความผิด เช่น หากมีการเขียนข้อมูลที่ไม่ตรงกับความจริง กระทบกระเทือนต่อความมั่นคง ผู้ดูแลระบบและผู้ให้บริการที่จงใจหรือยินยอมมีความผิดทางอาญาเท่ากับผู้ที่ กระทำความผิด และสำหรับความผิดต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่น การเจาะระบบ การดักข้อมูล หากผู้กระทำนั้นเป็นผู้ดูแลระบบเสียเอง จะมีโทษ 1.5 เท่า ของอัตราโทษที่กำหนดกับคนทั่วไป


ประเด็นที่ 2 คัดลอกไฟล์ จำคุกสูงสุด 3 ปี

สิ่ง ใหม่ในกฎหมายนี้ คือมีมาตรา 16 ที่ เพิ่มมาว่า "ผู้ใดสำเนาข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

ทั้งนี้ การทำสำเนาคอมพิวเตอร์ อาจหมายถึงการคัดลอกไฟล์ การดาว์นโหลดไฟล์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ มาตรานี้อาจมีไว้ใช้เอาผิดกรณีการละเมิดลิขสิทธิ์ภาพยนตร์หรือเพลง แต่แนวทางการเขียนเช่นนี้อาจกระทบไปถึงการแบ็กอัปข้อมูล การเข้าเว็บแล้วเบราว์เซอร์ดาว์นโหลดมาพักไว้ในเครื่องโดยอัตโนมัติหรือที่ เรียกว่า "แคช" (cache เป็น เทคนิคที่ช่วยให้เรียกดูข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น โดยเก็บข้อมูลที่เคยเรียกดูแล้วไว้ในเครื่อง เพื่อให้การดูครั้งต่อไป ไม่ต้องโหลดซ้ำ) ซึ่งผู้ใช้อาจมิได้มีเจตนาหรือกระทั่งรับรู้ว่ามีกระทำการดังกล่าว 
  
 ประเด็นที่ 3 เก็บไฟล์ลามกเกี่ยวกับเด็ก มีความผิด

ในมาตรา 25 "ผู้ใดครอบครองข้อมูลคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กหรือเยาวชน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

เป็นครั้งแรกที่มีการระบุขอบเขตเรื่องลามกเด็ก หรือเยาวชนโดยเฉพาะขึ้น แต่อย่างไรก็ดี ยังมีความคลุมเครือว่า ลักษณะอันลามกที่เกี่ยวข้องกับเด็กและเยาวชนนั้นหมายความอย่างไร นอกจากนี้ มาตราดังกล่าวยังเป็นการเอาผิดที่ผู้บริโภค ซึ่งมีความน่ากังวลว่า การชี้วัดที่ "การครอบครอง" อาจทำให้เกิดการเอาผิดที่ไม่เป็นธรรม เพราะธรรมชาติการเข้าเว็บทั่วไป ผู้ใช้ย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าการเข้าชมแต่ละครั้งดาว์นโหลดไฟล์ใดมาโดย อัตโนมัติบ้าง และหากแม้คอมพิวเตอร์ถูกตรวจแล้วพบว่ามีไฟล์โป๊เด็ก ก็ไม่อาจหมายความได้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของ หรือเป็นผู้ดูผู้ชม


ประเด็นที่ 4 ยังเอาผิดกับเนื้อหา
มาตรา 24 (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่ไม่ตรงต่อความเป็นจริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน

เนื้อความข้างต้น เป็นการรวมเอาข้อความในมาตรา14 (1) และ (2) ของ กฎหมายปัจจุบันมารวมกัน ทั้งนี้ หากย้อนไปถึงเจตนารมณ์ดั้งเดิมก่อนจะเป็นข้อความดังที่เห็น มาจากความพยายามเอาผิดกรณีการทำหน้าเว็บเลียนแบบให้เข้าใจว่าเป็นหน้าเว็บ จริงเพื่อหลอกเอาข้อมูลส่วนบุคคล (phishing) จึง เขียนกฎหมายออกมาว่า การทำข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมถือเป็นความผิด แต่เมื่อแนวคิดนี้มาอยู่ในมือนักกฎหมายและเจ้าหน้าที่ ได้ตีความคำว่า "ข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอม" เสียใหม่ กลายเป็นเรื่องการเขียนเนื้อหาอันเป็นเท็จ และนำไปใช้เอาผิดฟ้องร้องกันในเรื่องการหมิ่นประมาท ความเข้าใจผิดนี้ยังดำรงอยู่และต่อเนื่องมาถึงร่างนี้ซึ่งได้ปรับถ้อยคำใหม่ และกำกับด้วยความน่าจะเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่น ตระหนกแก่ประชาชน มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

หากพิจารณาจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่รัฐในการ ดำเนินคดีคอมพิวเตอร์ที่ผ่านมา ปัญหานี้ก่อให้เกิดการเอาผิดประชาชนอย่างกว้างขวาง เพราะหลายกรณี รัฐไทยเป็นฝ่ายครอบครองการนิยามความจริง ปกปิดความจริง ซึ่งย่อมส่งผลให้คนหันไปแสดงความคิดเห็นในอินเทอร์เน็ตแทน อันอาจถูกตีความได้ว่ากระทบต่อความไม่มั่นคงของ "รัฐบาล" ข้อความกฎหมายลักษณะนี้ ยังขัดต่อสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานในการแสดงความคิดเห็นโดยไม่จำเป็น

ประเด็นที่ 5 ดูหมิ่น ผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

มาตรา 26 ผู้ใดนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพ ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น หรือข้อมูลอื่นใด โดยประการที่น่าจะทำให้บุคคลอื่นเสียหาย เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย หรือเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเป็นข้อมูลที่แท้จริง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ที่ผ่านมามีความพยายามฟ้องคดีหมิ่นประมาทซึ่งกัน และกันโดยใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำนวนมาก แต่การกำหนดข้อหายังไม่มีมาตราใดใน พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่จะใช้ได้อย่างตรงประเด็น มีเพียงมาตรา 14 (1) ที่ระบุเรื่องข้อมูลอันเป็นเท็จดังที่กล่าวมาแล้ว และมาตรา 16 ว่าด้วยภาพตัดต่อในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ได้สร้างความสะดวกให้เจ้าหน้าที่ใช้ตั้งข้อหาการ ดูหมิ่นต่อกันได้ง่ายขึ้น

ข้อสังเกตคือ ความผิดตามร่างฉบับใหม่นี้กำหนดให้การดูหมิ่น หรือหมิ่นประมาทมีโทษจำคุก 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท ทั้งที่การหมิ่นประมาทในกรณีปกติ ตามประมวลกฎหมายอาญามีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท
ประเด็นที่ 6 ส่งสแปม ต้องเปิดช่องให้เลิกรับบริการ

มาตรา 21 ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เป็นจำนวนตามหลักเกณฑ์ที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด เพื่อประโยชน์ทางการค้าจนเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ และโดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ สามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

จากที่กฎหมายเดิมกำหนดเพียงว่าการส่งจดหมายรบกวน หากเป็นการส่งโดยปกปิดหรือปลอมแปลงแหล่งที่มา ถือว่าผิดกฎหมาย ในร่างฉบับใหม่แก้ไขว่า หากการส่งข้อมูลเพื่อประโยชน์ทางการค้า โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการ บอกรับได้ ทั้งนี้อัตราโทษลดลงจากเดิมที่กำหนดโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท มาเป็นจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 หรือทั้งจำทั้งปรับ

ทั้ง นี้ ยังต้องตั้งข้อสังเกตด้วยว่า หากการส่งข้อมูลดังกล่าว แม้จะเป็นเหตุให้บุคคลอื่นเดือดร้อนรำคาญ แต่ไม่ได้ทำไปเพื่อประโยชน์ทางการค้า ก็จะไม่ผิดตามร่างฉบับใหม่นี้


ประเด็นที่ 7 เก็บโปรแกรมทะลุทะลวงไว้ คุกหนึ่งปี

มาตรา 23 ผู้ใดผลิต จำหน่าย จ่ายแจก ทำซ้ำ มีไว้ หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใด ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ ชุดคำสั่ง หรืออุปกรณ์ที่จัดทำขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อนำไปใช้เป็นเครื่องมือในการกระทำความผิดตามมาตรา 15 มาตรา 16 มาตรา 17 มาตรา 18 มาตรา 19 และมาตรา 20 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

น่าสังเกตว่า เพียงแค่ทำซ้ำหรือมีไว้ซึ่งโปรแกรมที่ใช้เจาะระบบ การก๊อปปี้ดาวน์โหลดไฟล์อย่างทอร์เรนท์ การดักข้อมูล การก่อกวนระบบ ก็มีความผิดจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท เรื่องนี้น่าจะกระทบต่อการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์โดยตรง
ประเด็นที่ 8 เพิ่มโทษผู้เจาะระบบ

สำหรับ กรณีการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ เดิมกำหนดโทษจำคุกไว้ไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท ร่างกฎหมายใหม่เพิ่มเพดานโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท (เพิ่มขึ้น 4 เท่า)

ประเด็นที่ 9 ให้หน้าที่หน่วยใหม่ สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)

ร่าง กฎหมายนี้กำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานซึ่งมีชื่อว่า "สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน)" เรียกโดยย่อว่า "สพธอ." และให้ใช้ชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า "Electronic Transactions Development Agency (Public Organization)" เรียกโดยย่อว่า "ETDA" เป็นองค์การมหาชนภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงไอซีที

หน่วยงานนี้ เพิ่งตั้งขึ้นเป็นทางการประกาศผ่าน "พระราชกฤษฎีกาจัดตั้งสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็คทรอนิสก์ พ.ศ. 2554" เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2554 โดยเริ่มมีการโอนอำนาจหน้าที่และจัดทำระเบียบ สรรหาประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554

ในร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่นี้ กำหนดให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) มีบทบาทเป็นฝ่ายเลขานุการของ "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์" ภายใต้ร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฉบับที่กำลังร่างนี้

นอกจากนี้ หากคดีใดที่ต้องการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดซึ่งอยู่ในต่างประเทศ จะเป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานอัยการสูงสุด ในร่างกฎหมายนี้กำหนดว่า พนักงานสอบสวนอาจร้องขอให้สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์การ มหาชน) เป็นผู้ประสานงานกลางให้ได้ข้อมูลมา

ประเด็นที่ 10 ตั้งคณะกรรมการ สัดส่วน 8 ? 3 ? 0 : รัฐตำรวจ-ผู้ทรงคุณวุฒิ-ประชาชน

ร่างกฎหมายนี้เพิ่มกลไก "คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์" ประกอบด้วย

- นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เป็นรองประธานกรรมการ

- รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ผู้อำนวยการสำนักข่าวกรองแห่งชาติ และกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้งโดยระบุตัวบุคคลจากผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์เป็นที่ประจักษ์ในด้านกฎหมาย วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การเงินการธนาคาร หรือสังคมศาสตร์จำนวนสามคน โดยให้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปี

คณะกรรมการชุด นี้ ให้ผู้แทนจากสำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(องค์กรมหาชน), สำนักงานกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (สังกัดกระทรวงไอซีที), สำนักคดีเทคโนโลยี (สังกัดกรมสอบสวนคดีพิเศษ กระทรวงยุติธรรม), และ กลุ่มงานตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี กองบังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (บก.สสท.) (สังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) เป็นเลขานุการร่วมกัน

คณะกรรมการชุดนี้มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้ง พนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ออกระเบียบ ประกาศ ตามที่กำหนดใน พ.ร.บ.นี้ และมีอำนาจเรียกบุคคลมาให้ถ้อยคำหรือส่งเอกสารหลักฐาน รวมถึง "ปฏิบัติการอื่นใด" เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติ โดยให้ถือว่าคณะกรรมการและอนุกรรมการเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา
ที่มา 
  • www.prachatai.com
  • ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต