นางจีราวรรณ บุญเพิ่ม ปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า จากการศึกษาความเป็นไปได้ในการยิงดาวเทียมตำแหน่ง 120 องศานั้น ได้ให้สิทธิ์แก่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เนื่องจากเป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการดาวเทียมจากคณะกรรมการกิจการโทร คมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ตั้งแต่ก่อนแปรสภาพจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ถือว่ามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องดาวเทียม ส่วนจะดำเนินการอย่างไรต่อไป คงต้องหารือกับคณะกรรมการกิจการวิทยุกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ต่อไป
กระทรวงไอซีทีต้องทำ หนังสือแจ้ง เพื่อยืนยันไปยังสหภาพโทรคมนาคมยุโรป (ไอทียู) ว่าไทยยืนยันที่จะใช้ตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมดังกล่าวต่อไป ขณะเดียวกันจะหารือ กสทช. เพื่อไปเจรจาไอทียูร่วมกันด้วย เพราะถือว่ากสทช. เป็นผู้กำกับกิจการดาวเทียมตามกฎหมายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) องค์กรจัดสรร คลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2553 (พ.ร.บ.กสทช.)
นางจีราวรรณ กล่าวอีกว่า ส่วนเรื่องการตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีการเสนอ ครม.เพื่อรักษาตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมล่าช้านั้น จะดำเนินการตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งยอมรับว่าเสนอให้ ครม.ล่าช้าจริง เพราะตำแหน่งวงโคจร 120 องศา เหลืออายุ 9 เดือน ส่วน 50.0 องศา เหลืออายุ 1ปี 6 เดือน ซึ่งตามหลักต้องเสนอให้ ครม.เห็นชอบก่อนหน้านี้ เพราะการก่อสร้างดาวเทียมต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี เพราะธุรกิจดาวเทียมต้องใช้เงินลงทุนสูง และใช้เวลาในการก่อสร้าง อย่างไรก็ตาม กระทรวงไอซีที จะพยายามชี้แจงและยืนยันกับไอทียู ถึงความจำเป็นในการใช้ตำแหน่งวงโคจรดังกล่าว.
วันนี้ (22 มี.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางเพื่อรักษาตำแหน่งวงโคจรดาวเทียมสองตำแหน่ง คือวงโคจรดาวเทียม 120 องศาตะวันออก และ วงโคจรดาวเทียม 50.5 องศาตะวันออก ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสานเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เสนอ และมอบให้บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เร่งศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน การจัดทำคำของบประมาณเพื่อการลงทุนดาวเทียมดวงใหม่ที่จะนำมาใช้ในวงโคจร 120 องศาตะวันออก ด้วย
นอกจากนี้ยังมอบหมายให้กระทรวงไอซีที ศึกษาแนวทางการจัดหาดาวเทียมดวงใหม่อีกดวงที่จะนำมาใช้ในวงโคจร 50.5 องศาตะวันออก ด้วยการให้สัมปทานภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือ ดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 โดย ครม.กำหนดให้ กสท. และไอซีที เสนอรายละเอียดต่าง ๆ ให้ครม.พิจารณาอีกครั้งภายใน 30 วัน
รายงาน ข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้เสนอความเห็นว่า ผู้ที่ต้องการให้บริการดาวเทียมสื่อสารต้องได้รับอนุญาตจากกสทช.ก่อน ขณะที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เห็นว่า ไอซีทีต้องศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยละเอียดและชัดเจน ครอบคลุมทั้งด้านความต้องการของตลาด ความเหมาะสมด้านเทคนิค ความคุ้มค่าในการลงทุน รูปแบบและทางเลือกในการลงทุน ความพร้อมของบุคลากรผู้เชี่ยวชาญ และการวิเคราะห์ความเสี่ยง ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ไม่สามารถส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจรในระยะ เวลาที่กำหนด
นอกจากนี้ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.กสทช. และพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 หรือพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาที่มีความเห็นว่าการ ดำเนินการดังกล่าวเป็นการดำเนินการที่เข่าข่าย พ.ร.บ.กสทช.และพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ.
เครดิต http://www.dailynews.co.th
http://www.thairath.co.th/
อัพเดตความรู้ ข้อมูล ข่าวสารด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กับเว็บบล็อก http://computertru.blogspot.com
Music Hit In your life
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กสทช
(1)
เกมส์คอมพิวเตอร์
(6)
ข่าวสั้นไอที
(3)
ข่าวไอที
(27)
คุณธรรมสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
(4)
ทิปคอมพิวเตอร์
(13)
เนื้อหา รูปภาพ หรือสื่ออื่นที่ปรากฎเป็นของเจ้าของบทความนั้นๆ
(15)
แนะนำเว็บไซต์
(2)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(1)
ระบบเติมเงิน
(1)
ระบบปฏิบัติการ Operating System
(8)
ละเมิด
(1)
Computer IT Technology
(17)
Computer Virus
(7)
Hardware Computer
(32)
Information technology IT
(58)
Network ระบบเครือข่าย
(57)
Software Internet
(28)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น