Music Hit In your life

วันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อินเทอร์เน็ตทำให้คุณ"โง่"หรือเปล่า



งานวิจัยล่าสุด ทำให้หลายฝ่ายเริ่มเป็นกังวลเกี่ยวกับศักยภาพสมองของมนุษย์มากยิ่งขึ้น เมื่อมันดูเหมือนว่า การใช้อินเทอร์เน็ต (Internet) มากๆ จะทำให้ความฉลาดของมนุษย์ลดลง โดยจุดเริ่มต้นของงานวิจัยนี้เป็นการขยายผลมาจากผลการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ตั้งคำถามไว้อย่างน่าสนใจว่า "Google ทำให้เราโง่ลงหรือไม่?" เขียนโดย Nicolas Carr ตังแต่ปี 2008

ผลการศึกษาวิจัยล่าสุดได้ถูกถ่ายทอดลงในหนังสือเล่มใหม่ชื่อ "Shallows" (ไม่ลึกซึ้ง, ผิวเผิน) โดยหนังสือเล่มนี้ได้ขยายผลจากวิทยานิพนธ์ของ Carr โดยพิจารณาจากผลกระทบของอินเทอร์เน็ตทีมีต่อสมองมนุษย์ เขาได้ตั้งทฤษฎีขึ้นมาว่า ตลอดเวลาที่เราอยู่กับเน็ต มันจะเกิดสิ่งทีเรียกว่า การจัดเรียงกระบวนการคิดของสมองด้วยวิธีใหม่ที่แย่มากๆ โดยผลลัพธ์จะทำให้เราเลิกคิด หรือพินิจพิเคราะห์สิ่งต่างๆ ในรายละเอียด ซึ่งเป็นทักษะการเรียนรู้ที่จำเป็น อีกทั้งยังทำให้การจดจำของสมองเกิดความตึงเครียดกับหลายสิ่งหลายอย่างนานเกินไป ประสบการณ์ตรงของ Carr ที่เกิดกับเขา และคนรอบข้างอย่างเช่น เพื่อนๆ บางคนถึงกับหยุดการอ่านหนังสือ และหันไปใช้อินเทอร์เน็ตแทน (นานเข้าสมองจะขาดทักษะการคิดแบบลึกซึ้ง หรือคิดอะไรแค่ผิวเผินเหมือนชื่อหนังสือของเขา) หลักฐานที่เห็นได้ชัด และสนับสนุนคำอ้างของเขาก็คือ อินเทอร์เน็ตกำลังจะทำให้พวกเราต้องเสียใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับคนรุ่นใหม่ Carr กำลังบอกให้พวกเรารู้สึกน่ากลัวว่า อินเทอร์เน็ตกำลังกระทำการบางอย่างกับสมองของเรา ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่ดี

หลังจากที่อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปลายยุค 70 มันก็ได้เติบโตอย่างรวดเร็ว เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ไปทั่วโลก องค์ความรู้ทุกอย่างอยู่ในนั้น แม้แต่เทคโนโลยีล่าสุด ใครก็สามารถหาพบได้ เราแบ่งปันข้อมูลมากกว่าเดิม และเร็วกว่าเดิม ยิ่งเราใช้เน็ตมากเท่าไร เราก็ยิ่งลดเวลาจากการอ่านตำรา หนังสือต่างๆ ตลอดจนนิตยสาร ซึ่งเป็นกิจกรรมที่กระตุ้นให้สมองของเราได้มีเวลาคิด ไตร่ตรอง ทบทวน หรือพิจารณาเรื่องราวต่างๆ ได้มากพอ ส่วนที่น่ากลัวมากที่สุดก็คือ เยาวชนรุ่นใหม่จะใช้เวลากับกิจกรรมออนไลน์มากกว่าอ่านหนังสือดีๆ

Carr มองว่า อินเทอร์เน็ตทำงานเหมือนกับยาเสพติด มันทำให้คนรู้สึกพอใจได้อย่างรวดเร็ว และมีอยู่ทุกหนแห่งที่ต้องการ ซึ่งถอดแบบยาเสพติดมาเลย มันลดวงจรสมองของเราทั้งจิตสำนึก และจิดใต้สำนึก ทำให้เราไม่ได้ใช้จิตใจในการนึกคิดไตรตรองอย่างลึกซึ้งอย่างที่ควรจะเป็น ตลอดจนการคิดแบบสร้างสรรค์

ที่มา :
ข่าวไอที ทิป-เทคนิค คอมพิวเตอร์

กูเกิ้ลดึงภาพแบคกราวด์ออกจากโฮมเพจ



ข่าวล่าสุด หลังจากกูเกิ้ล (Google) ได้ทดลองใส่ภาพฉากหลังสวยๆ เข้าไปในโฮมเพจหลัก (แบบเดียวกับ Bing) เพียงแค่ 14 ชั่วโมงหลังจากนั้น แบคกราวด์ของโฮเพจกูเเกิ้ลก็กลับมาเป็นสีขาวเหมือนเดิม...เกิดอะไรขึ้น? ทำไมกูเกิ้ลถึงตัดสินใจที่จะเอาแบคกราวด์ออกไปทั้งๆ ที่มันเป็นการต่อกรกับคู่แข่งอย่าง Bing ของไมโครซอฟท์


คำถามนี้คงจะไม่มีใครตอบได้ดีที่สุดเท่ากับ Marissa Mayer วิศวกรหญิงคนแรกของกูเกิ้ล ผู้ดูแลอินเตอร์เฟซ และบริการทั้งหมดของเสิร์ชเอ็นจิ้นยักษ์ใหญ่ โดยเธอได้กล่าวยืนยันว่า สิ้นสุดการทดลองใส่แบคกราวด์ที่ดีฟอลต์ให้กับโฮมเพจกูเกิ้ลแล้ว ซึ่งเธอเรียกการทดลองทีเกิดขึ้นนี้ว่า "บั๊ก" เนื่องจากมันทำให้มองไม่เห็นลิงค์ต่างๆ ที่อยู่ใต้ช่องเสิร์ชของ google.com หลักฐานยืนยันความสับสน และไม่พอใจของผู้ใช้อีกประการหนึงก็คือ คีย์เวิร์ดอันดับ 7 ที่มีคนค้นหากันมากทีสุดคือ "remove google background" หรือ วิธีกำจัดแบคกราวด์ของกูเกิ้ลออกไป


เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว กูเกิ้ลได้ประกาศว่า ทางบริษัทจะเริ่มให้ผู้ใช้สามารถตั้งค่า (setting) สำหรับแบคกราวด์บนโฮมเพจของกูเกิ้ลได้ตามต้องการ แต่เมื่อวานที่ผ่านมาทางบริษัทได้ทดลองให้ผู้ใช้กูเกิ้ลทุกคนได้พบกับภาพแบคกราวด์ในหน้าโฮมเพจ ผลปรากฎว่า ผู้ใช้ต้องการดีไซน์โฮมเพจสะอาดๆ แบบเดิม ซึ่งผลลัพธ์ตรงข้ามกับ Bing ที่คุณสมบัติการแสดงภาพแบคกราวด์เป็นจุดดึงดูดผู้ใช้มาตั้งแต่เริ่มเปิดให้บริการ ซ้ำยังมีลิงค์ให้เปลี่ยนภาพได้อีกด้วย บทเรียนนี้สอนว่า การแข่งขันบางอย่างไม่จำเป็นต้องทำเหมือนคู่แข่งก็ได้

ที่มา :
ข่าวไอที ทิป-เทคนิค คอมพิวเตอร์

คิวอาร์โค้ด (QR Code) คืออะไร




คิวอาร์โค้ด (QR Code) หรือ เรียกว่าบาร์โค้ด 2 มิติ คือรหัสชนิดหนึ่งซึ่งสามารถเก็บข้อมูลได้ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมขาวดำ นิยมใช้เก็บข้อมูลสินค้า เช่น ชื่อสินค้า ราคาสินค้า เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ และชื่อเว็บไซต์
คิวอาร์โค้ด เป็นการพัฒนามาจาก บาร์โค้ด ถูกคิดค้นขึ้นในปี ค.ศ. 1994 โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่ชื่อ เดนโซ และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ "QR Code" ไปแล้วทั้งในญี่ปุ่น และทั่วโลก อักษรย่อ "QR" ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งเป็นคำนิยามจากผู้คิดค้นที่พัฒนาให้คิวอาร์โค้ดสามารถถูกอ่านได้อย่างรวดเร็ว การอ่าน คิวอาร์โค้ด นิยมใช้กับโทรศัพท์มือถือ รุ่นที่มีกล้องถ่ายภาพ และสามารถติดตั้งซอฟแวร์เพิ่มเติมได้
คิวอาร์โค้ด สามารถบันทึกตัวเลขอารบิกอย่างเดียวได้สูงสุด 7,089 ตัว บันทึกตัวอักษรอังกฤษผสมเลขอารบิกได้สูงสุด 4,296 ตัว บันทึกข้อมูลเลขฐานสองขนาด 8 บิต ได้สูงสุด 2,953 ไบต์ และบันทึกตัวอักษรภาษาญี่ปุ่น (อักษรคันจิหรือคะนะ) ได้สูงสุด 1,817 ตัวอักษร

ลิขสิทธิ์

การใช้งาน คิวอาร์โค้ดนั้นปลอดจากลิขสิทธิ์ ซึ่งคิวอาร์โค้ดได้ถูกกำหนดและเผยแพร่ในลักษณะของมาตรฐานไอเอสโอ โดยทาง เดนโซ เป็นผู้ถือสิทธิบัตรของคิวอาร์โค้ด แต่เลือกที่จะไม่สงวนลิขสิทธิ์

ที่มา : จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี