Music Hit In your life

วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ผลวิจัยเมืองผู้ดีปล่อยเด็กนั่งหน้าคอมนาน ส่งผลถึงกระดูก


นักวิจัยอังกฤษเผยโรคใหม่ในเด็กยุคอินเทอร์เน็ตเฟื่องฟู คือ โรคกระดูกเปราะบาง หรือกระดูกอ่อนแออันเนื่องมาจากการขาดวิตามิน D และอาจส่งผลให้เด็กเกิดความพิการได้

ไซมอน เพียซ ศาสตราจารย์จากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลทางตอนเหนือของอังกฤษ หัวหน้าโครงการวิจัยเปิดเผยว่า "เด็ก ในปัจจุบันมักจะอยู่ในบ้านกับเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์ของพวกเขามากกว่าการ ออกไปวิ่งเล่นข้างนอก นั่นสะท้อนให้เห็นว่า เด็กในยุคนี้มีโอกาสขาดวิตามิน D สูงกว่าเด็กในอดีตมาก"

การขาดวิตามิน D ที่ ควรได้รับจากการวิ่งเล่นภายใต้แสงแดด รวมถึงการขาดการออกกำลังกายที่เหมาะสม และการขาดการควบคุมทางด้านโภชนาการ เด็กมีการรับประทานอาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมกรุบกรอบ น้ำอัดลม ทำให้เด็กกลุ่มนี้มีแนวโน้มจะเกิดภาวะกระดูกไม่แข็งแรงได้ในที่สุด ซึ่งผลของโรคดังกล่าวก็คือ ทำให้เด็กเกิดความพิกลพิการทางร่างกาย ไม่สามารถเดินเหินได้อย่างสะดวกเหมือนเช่นเด็กปกติ

นอกจากนี้ ผู้ทำการวิจัยยังได้สำรวจประชากรกลุ่มผู้ใหญ่ในอังกฤษก็พบว่าขาดวิตามิน D สูงเช่นกัน ปัจจัยเหล่านี้มีผลต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ตามมา เช่น เบาหวานชนิดที่ 2, มะเร็ง บางชนิด โรคหลอดเลือดหัวใจ และภาวะกระดูกเปราะในผู้ใหญ่ ซึ่งเทรนด์ของโรคดังกล่าวไม่เพียงแต่คุกคามประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอังกฤษเท่า นั้น แต่นักวิจัยระบุว่า ในประเทศอุตสาหกรรมของโลกส่วนมากต่างก็ประสบกับชะตากรรมดังกล่าวเช่นเดียว กัน

อย่าง ไรก็ดี เมื่อเปรียบเทียบปริมาณแสงแดดที่เด็กมีโอกาสได้รับนั้น เด็กในประเทศแถบเส้นศูนย์สูตร รวมถึงเด็กไทยอาจยังโชคดีกว่าเด็กในประเทศแถบซีกโลกเหนือ เนื่องจากแถบซีกโลกเหนือมีสภาพอากาศที่หนาวเย็น ในปีหนึ่ง ๆ อาจได้พบกับแสงแดดเพียงไม่กี่เดือน ทำให้มีโอกาสได้รับวิตามินจากแสงแดดน้อยกว่า และยิ่งมีเครื่องเล่นอิเล็กทรอนิกส์คอยให้ความบันเทิงอยู่ภายในบ้าน หรือมีกิจกรรมกับอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้จนติดเป็นนิสัย ก็ยิ่งทำให้โอกาสที่จะได้รับแสงแดดมีน้อยลง

สำหรับ แนวทางป้องกันการเกิดภาวะกระดูกอ่อนในเด็กนี้สามารถป้องกันได้ด้วยแนวทาง ง่าย ๆ เพียงให้เด็กได้มีโอกาสเล่นนอกบ้าน รับวิตามินจากแสงแดดบ้าง และรับประทานอาหารที่เหมาะสมนั่นเอง

อย่าง ไรก็ดี เมื่อถามถึงแนวทางแก้ไขปัญหา นอกเหนือจากการส่งเสริมให้เด็กได้ออกมาเล่นข้างนอกให้มากขึ้นแล้ว ทางทีมวิจัยยังได้เรียกร้องให้หน่วยงานภาครัฐเติมวิตามิน D ลงในอาหารต่าง ๆ เช่น นม เพื่อเสริมให้กับเด็ก ๆ อีกด้วย

ที่มา : www.hunsa.com คลิก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น