Music Hit In your life

วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Number Portability = การคงสิทธิ์เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่


การคงสิทธิ์เลขหมายโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Mobile Number Portability) หรือที่เรียกย่อๆว่า MNP เป็นการทำให้ ผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่อย่างเราๆ สามารถจะย้ายค่ายมือถือ โดยสามารถคงเบอร์เดิมไว้ไ้ด้ เช่นถ้าเราเห็นโปรโมชั่น AIS ดีกว่า Truemove แทนที่เราต้องไปขอเบอร์ใหม่ แล้วต้องมาตามบอกเพื่อนๆว่าจะเปลี่ยนเบอร์ เราก็สามารถไปแจ้งค่ายมือถือปลายทาง เพื่อขอย้ายเบอร์เรามาอยู่ค่ายนั้น จากนั้นก็ใช้เวลาอีกประมาณ 2-3 วัน เราก็ได้ย้ายไปอยู่ค่ายมือถือใหม่ได้

ทางคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ได้ประกาศออกมาเมื่อ 3 สิงหาคม ปีที่แล้ว ให้มีการจัดตั้ง MNP Clearing House เพื่อเป็นตัวกลางในการย้ายเบอร์ข้ามค่าย โดยการจัดตั้งในขั้นต้น ทาง AIS, DTAC, Truemove จะร่วมกันลงขันตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมา แล้วหลังจากนั้นค่ายอื่นๆคงจะตามเข้ามาสมทบ

จริงๆแล้วคนที่เกี่ยวข้องอาจจะมีเยอะกว่านั้นอย่าง TOT หรือ TT&T เพราะถ้ามีการโทรจากโทรศัพท์บ้าน เข้าไปหามือถือที่ย้ายค่ายแล้ว ระบบทางฝั่งโทรศัพท์บ้านก็ต้องรู้ว่าเบอร์นั้นได้ย้ายค่ายไปแล้วนะ ตอนนี้ย้ายไปอยู่ AIS แล้วนะไม่ใช่ Truemove หรืออย่างถ้ามีอยู่เมืองนอกโทรเข้ามา ทาง CAT Telecom ที่เป็นคนเชื่อมต่อการโทรจากต่างประเทศเข้ามา ก็ต้องรู้ว่าจะต่อเบอร์นั้นไปค่ายไหนดี หรือแม้แต่ SMS จากต่างประเทศก็เช่นกัน ก็ต้องส่งไปให้ถูกค่าย

ช่วงนี้ยังเป็นช่วงแรกๆของการจัดตั้ง MNP Clearing House อยู่ คงต้องรอกันอีกซะระยะนึง กว่าจะได้ย้ายค่ายกันจริง ตอนนี้ (กลางปี 52) เรามีคนใช้มือถือในเมืองไทยซะประมาณ 66 ล้านเบอร์ ซึ่งถ้าดูจากจำนวนเบอร์ แสดงว่าคนไทยมากกว่า 90% ใช้งานมือถือละ แต่จริงๆแล้วอาจจะน้อยกว่านั้นเพราะตอนนี้คนนึง เราถือกันหลายเบอร์ หลายเครื่อง แล้วก็ส่วนใหญ่เป็นแบบเติมเงินซะอีก ถ้าการย้ายค่ายมือถือเปิดให้ใช้งานกันจริงๆ ก็ยังสงสัยอยู่ว่า จะมีคนไปย้ายมากน้อยแค่ไหน เค้าประมาณการคร่าวๆว่าน่าจะมีปีละประมาณ 500,000 เบอร์ แต่ก็คงต้องดูกันต่อไป


ซึ่งทางบอร์ดกทช.ได้ยืนยันค่ายมือถือทุกค่ายไปว่า จะต้องเปิดบริการคงสิทธิเลขหมายโทรคมนานคม (Number Portability) ภายในวันที่ 31 สิงหาคมนี้ ซึ่งถ้าหากไม่สามารถดำเนินการได้ทัน จะต้องโดนปรับวันละ 20,000 บาท นอกจากนี้ถ้าผู้ให้บริการรายใดต้องการที่จะเข้าร่วมประมูล 3G นั้นจะต้องทำการเปิดให้บริการคงสิทธิหมายเลขเดิมตามที่กำหนดไว้ก่อน จึงจะสามารถเข้าร่วมประมูลได้ และยังมีกทช.บางคนได้เสนอให้ตัดสิทธิ์ไม่ให้เข้าร่วมประมูล 3G แก่ผู้ให้บริการเครือข่ายที่ไม่สามารถเปิดให้บริการคงสิทธิหมายเลขได้ทันอีกด้วย

แต่จากข่าวล่าสุด ผู้ให้บริการทั้ง 5 ค่าย ได้แจ้งมาว่าจะไม่สามารถดำเนินการได้ทัน และไม่ค่อยพอใจทางบอร์ด กทช.ที่จะปรับ วันละ 20,000 บาท

** แล้วเมื่อไรจะใช้งานกันได้ละเนี่ย

คำถามบ่อยๆเกี่ยวกับ Number Portability

Mobile Number Portability คืออะไร
Mobile Number Portability (MNP) หรือ บริการคงสิทธิเลขหมาย เป็นบริการที่เปิดโอกาสให้ลูกค้าสามารถที่จะเปลี่ยนค่ายมือถือได้โดยที่ยังเก็บเบอร์โทรศัพท์นั้นไว้กับตัวด้วยนั่นเอง

Mobile Number Portability มีประโยชน์อย่างไร
ช่วยให้ชีวิตของผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่สะดวกขึ้น ไม่ติดข้อจำกัดของการใช้งานเลขหมายเดิม แต่ต้องการย้ายเครือข่ายใหม่ อีกทั้งเกิดการแข่งขันระหว่างผู้ให้บริการสูงขึ้น ทำให้ผู้ใช้งานมีโอกาสได้เลือกใช้เครือข่ายที่มีคุณภาพ

เมื่อไหร่จะดำเนินการได้
ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการของกทช. โดยผู้ให้บริการทุกรายกำลังจัดทำขั้นตอนและเตรียมความพร้อม เพื่อนำเสนอให้กับทาง กทช. พิจารณา ดังนั้นยังไม่ได้เปิดให้บริการในเรื่องนี้

ทำอย่างไรหากต้องการขอทำ Mobile Number Port
ลูกค้าสามารถติดต่อได้ที่จุดให้บริการของผู้ให้บริการที่ลูกค้าต้องการย้ายไปใช้งาน

การดำเนินการ Mobile Number Port ต้องเสียค่าดำเนินการเท่าไหร่
ขณะนี้ยังไม่ทราบ ทั้งนี้ทาง กทช. เป็นผู้มีอำนาจพิจารณาอนุมัติแต่เพียงผู้เดียว

เมื่อดำเนินการแล้ว จะมีปัญหาเกี่ยวกับสัญญาณการใช้งานหรือไม่
สัญญาณการใช้งานจะขึ้นอยู่กับสัญญาณการให้บริการของแต่ละผู้ให้บริการ ที่ลูกค้าย้ายไปใช้งาน

กรณีที่ต้องการเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครอง พร้อมกับการดำเนินการเปลี่ยน Mobile Number Port ทำได้ในวันเดียวกันเลยหรือไม่
ไม่สามารถดำเนินการในวันเดียวกันได้ ควรดำเนินการหลังจากที่ท่านได้โอนย้ายเลขหมายเรียบร้อยแล้ว

ขอบคุณสำหรับทุกข้อมูลครับ

http://aisclub.ais.co.th/
http://www.phonemove.com/

http://www.bloggang.com/

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

IPConfig คำสั่งสำหรับเรียกดูหมายเลข IP Address ภายในเครื่อง


คำสั่ง IPConfig เป็นคำสั่งที่ใช้สำหรับเรียกดูหมายเลข IP Address ของเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่ ซึ่งถ้าหากท่านไม่ทราบว่าหมายเลข IP Address ของเครื่องที่ท่านใช้งานอยู่นั้นเป็นหมายเลขอะไรหรือมีรายละเอียดอะไรที่เกี่ยวข้องกับหมายเลข IP Address บ้าง ก็สามารถใช้คำสั่งนี้เรียกดูผ่านหน้าต่าง Command Prompt ได้เลยครับ โดยเข้าไปที่

1.คลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd วรรค /k วรรค ipconfig
2.ถ้าหากต้องการดูหมายเลข IP Address ซึ่งบอกรายละเอียดทั้งหมดก็สามารถดูได้โดยคลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd วรรค /k วรรค ipconfig วรรค /all

และนอกจากนี้ยังมีตัวเลือกเพิ่มเติมที่นิยมใช้ร่วมกับคำสั่ง IPConfig ได้แก่

ipconfig [/? /all /renew [adapter] /release [adapter] /flushdns /displaydns /registerdns /showclassid adapter /setclassid adapter [classid] ]

Options:
/? แสดง help ของคำสั่งนี้
/all แสดงรายละเอียดทั้งหมด
/release ยกเลิกหมายเลข IP ปัจจุบัน
/renew ขอหมายเลข IP ใหม่ ในกรณีที่เน็ตเวิร์คมีปัญหา เราอาจจะลองตรวจสอบได้โดยการใช้คำสั่งนี้ ซึ่งหากคำสั่งนี้ทำงานได้สำเร็จ แสดงว่าปัญหาไม่ได้มาจากระบบเครือข่าย แต่อาจจะเกิดจากซอฟท์แวร์ของเรา
/flushdns ขจัด DNS Resolver ออกจาก cache.
/registerdns ทำการ Refreshes DHCP ทั้งหมด และ registers DNS names ใหม่
/displaydns แสดง DNS Resolver ทั้งหมดที่มีในอยู่ Cache.
/showclassid แสดง class IDs ทั้งหมดที่ DHCP ยอมให้กับการ์ดแลนใบนี้
/setclassid แก้ไข dhcp class id.



การใช้คำสั่ง Ping ตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่าย

คำสั่ง Ping เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบการเชื่อมต่อกับเครือข่ายระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องที่อยู่ในเครือข่าย โดยคำสั่ง Ping จะส่งข้อมูลที่เป็นแพ็คเกจ 4 ชุดๆละ 32 Byte ไปยังคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการตรวจสอบ หากมีการตอบรับกลับมาจากคอมพิวเตอร์เป้าหมายก็แสดงว่าการเชื่อมต่อเครือข่ายยังเป็นปกติ แต่หากไม่มีการตอบรับกลับมาก็แสดงว่าคอมพิวเตอร์ปลายทางหรือเครือข่ายอยู่ในช่วงหนาแน่น ดังนั้นจะเห็นว่าคำสั่ง Ping มีประโยชน์อย่างมากในการตรวจสอบสถานะการเชื่อมต่อเครือข่ายเบื้องต้นได้เป็นอย่างดี

ขั้นตอนการเรียกใช้งานมีดังนี้

1.คลิกปุ่ม Start > Run > พิมพ์ cmd เพื่อเรียกใช้งาน Command Prompt
2.เมื่อปรากฏหน้าต่าง Command Prompt ให้พิมพ์คำสั่ง ping ตามด้วยหมายเลข IP Address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการเข้าไปตรวจสอบลงไป จากนั้นกดปุ่ม Enter
3.แต่ถ้าปรากฏคำสั่ง “Request timed out” นั่นแสดงว่าคอมพิวเตอร์ทั้ง 2 เกิดปัญหาขัดข้องไม่สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้ ซึ่งจะต้องทำการตรวจสอบการเชื่อมต่อเครือข่ายรวมถึงการตั้งค่าต่างๆให้ถูกต้อง แล้วลองใช้คำสั่ง Ping ตรวจสอบอีกครั้งครับ

ตัวเลือกเพิ่มเติมที่นิยมใช้ร่วมกันกับคำสั่ง Ping

Usage: ping [-t] [-a] [-n count] [-l size] [-f] [-i TTL] [-v TOS] [-r count] [-s count] [[-j host-list] [-k host-list] [-w timeout] target_name

Options:
-t Ping ไปยัง Host ตามที่ระบุเรื่อยๆ จนกว่าจะสั่งยกเลิกโดยกดแป้น Ctrl-C.และหากต้องการดูสถิติให้กดแป้น Ctrl-Break
-a เปลี่ยนหมายเลข IP Address ของ Host เป็นชื่อแบบตัวอักษร
-n count Ping แบบระบุจำนวน echo ที่จะส่ง
-l size กำหนดขนาด buffer
-f ตั้งค่าไม่ให้แยก flag ใน packet.
-i TTL Ping แบบกำหนด Time To Live โดยกำหนดค่าตั้งแต่ 1-255
-v TOS กำหนดประเภทของบริการ (Type of service)
-r count Ping แบบให้มีการบันทึกเส้นทางและนับจำนวนครั้งในการ hops จนกว่าจะถึงปลายทาง
-s count Ping แบบนับเวลาในการ hop แต่ละครั้ง
-j host-list Loose source route along host-list.
-k host-list Strict source route along host-list.
-w timeout Ping แบบกำหนดเวลารอคอยการตอบรับ

เครดิต
http://www.varietypc.net/main/archives/692

วันพฤหัสบดีที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความสามารถของเยาวชนไทย บนกูเกิล


วันนี้วันที่ 12 สิงหาคม นอกจากจะเป็นวันแม่แห่งชาติแล้ว ยังเป็นวันแรกที่ผลงานการประกวด Doodle4Google ที่จะปรากฎบนเว็บไซต์ กูเกิลอีกด้วย





รายละเอียดกิจกรรม



Google ได้เริ่มจัดการประกวด Doodle 4 Google ครั้งแรกในเมืองไทยเมื่อเดือนมราคม 2553 โดยการจัดประกวดนี้ได้เปิดโอกาสให้เยาวชนชาวไทยทั่วประเทศร่วมแสดงจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ภายใต้หัวข้อ "เมืองไทยของฉัน"

ภาพที่ส่งเข้าประกวดนั้นเกินความคาดหมายของเรามาก ทั้งในเรื่องของจำนวนซึ่งมีมากถึง 46,000 ดูเดิล จากกว่า 11,000 โรงเรียนทั่วประเทศ รวมไปถึงความสามารถทางด้านศิลปะ และความคิดสร้างสรรค์ของเด็กไทย

โดยผู้ชนะเลิศระดับประเทศ จะมีดูเดิลที่เป็นผลงานตนเอง ไปปรากฏบนหน้าเว็บกูเกิลประเทศไทย เป็นเวลา 24 ชม. เพื่อให้ผู้ใช้กูเกิลในไทยหลายล้านคนได้ร่วมชื่นชม ในวันที่ 12 สิงหาคม 2553 เพื่อร่วมเฉลิมฉลองวันเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถฯ หรือวันแม่แห่งชาติ รวมถึงทริปไปทัศนศึกษาพร้อมกับผู้ปกครองและครูที่ปรึกษาที่ Google สำนักงานใหญ่ รัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมกับได้พบปะทีมดูเดิลของกูเกิลแบบใกล้ชิด

ผลงานที่ชนะเลิศ

สุพรรณหงส์



"เมืองไทยของฉัน เป็นการนำเอาภาพเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ อันเป็นเรือพระที่นั่งสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ในพระราชพิธีต่างๆ ทางน้ำ ถือเป็นคุณค่าที่อยู่คู่ไทยมาอย่างยาวนาน สายน้ำที่มีเงาสะท้อนจากเรือ และตัว Google นั้น เป็นการแสดงถึงสายวัฒนธรรมที่มีมาอย่างยาวนาน ที่สะท้อนให้เห็นคุณค่าของเรือทั้งด้านศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ เกี่ยวพันโยงใยไปกับอักษร Google ที่ใช้สีทองสีเดียว อันเป็นสีของความเจริญรุ่งเรือง และร่วมกันส่งต่อคุณค่าทั้งหมดแก่สายตาชาวโลก"

ด.ช. เทิดธันวา คะนะมะ โรงเรียนมัธยมสาธิตมหาวิทยาลัยมหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม

อัพเดตสถิติการคุกคามจากไวรัสคอมพิวเตอร์

ข้อมูลล่าสุดจากเว็บไซต์ http://www.virus-radar.com/






Top threats in the last 24 hours


1. Win32/Oficla.HZ trojan Count 7 811
2. a variant of Win32/K... Count 4 082
3. Win32/Netsky.Q worm Count 1 470
4. a variant of Win32/I... Count 911
5. Win32/Zafi.B worm Count 495

ข้อมูล ของไวรัสที่คุกคามมากที่สุด

Info: Win32/Oficla.HZ trojan
Risk: Normal


Date first captured: 2010-08-11 11:11
Date last captured: 2010-08-12 14:59
Total stopped to date: 8 258
Most active month: 2010-08
Most active date: 2010-08-11
Infection ratio (2010-08-11): 0.138 %

หมั่นตรวจสอบบ่อยๆที่ http://www.virus-radar.com/ หรือ ที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

จาก IPv4 สู่ IPv6

ปัจจุบันนี้อินเทอร์เน็ตเข้ามามีบทบาทสำคัญในชีวิตประจำวันของเรามากยิ่งขึ้นและมีเทคโนโลยีต่างๆมากมายที่จะต้องใช้อินเทอร์เน็ตในการเชื่อมต่อถึงกัน ดังในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือก็มีอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนประกอบหนึ่งรวมไปถึงอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ดังนั้นระบบอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันที่ใช้ IP Address ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัด ทำให้จะต้องมีการพัฒนาระบบอินเทอร์เน็ตโดยการขยาย IP Address ให้เพิ่มมากขึ้นเพื่อรองรับการทำงานในโลกอนาคตที่มีอย่างไม่จำกัด ซึ่งอินเทอร์เน็ต ที่ถูกพัฒนาขึ้นนี้จะก่อให้ประโยชน์ได้อย่างมหาศาลและช่วยอำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิตในทุกๆด้านรวมไปถึงการศึกษาและด้านธุรกิจ


ความหมายของ IP Address IP Address ที่ใช้นั้นประกอบด้วยเลข 4 ชุด (หรือ 4 Bytes) แต่ละชุดจะแยกกันด้วยเครื่องหมาย “.” และแต่ละชุดจะเป็นตัวเลขได้ตั้งแต่ 0 – 255 (มาจาก 28-1) ดังตัวอย่าง 66.218.71.86 เป็นต้น มีด้วยกัน 5 Classes ได้แก่ Class A, B, C, D,และ E แต่ที่ใช้อยู่ในระบบเพียง 4 Classes โดย Class D นำมาใช้งานด้าน Multicast Application ส่งแพ็กเก็ตข้อมูลกระจายให้กลุ่มคอมพิวเตอร์ได้แก่งาน Tele-conference งานถ่ายทอด TV/Video บนระบบ IP Network เป็นต้น และสำหรับ Class E ไม่มีการใช้จริง

การขยาย IP จาก IPv4 เป็น IPv6 กลไกสำคัญในการทำงานของอินเทอร์เน็ต คือ อินเทอร์เน็ตโพรโตคอล ส่วนประกอบสำคัญของอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลคือ IP address ที่ใช้ในการอ้างอิงเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เครือข่ายต่างๆบนอินเทอร์เน็ตทั่วโลก เปรียบเสมือนการใช้งานโทรศัพท์ในการติดต่อสื่อสารกันจะต้องมีเลขหมายเบอร์โทรศัพท์เพื่อให้อ้างอิงผู้รับสายได้ คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในอินเทอร์เน็ตก็ต้องมีหมายเลข IP Address ที่ไม่ซ้ำกับใครหมายเลข IP address ที่เราใช้กันทุกวันนี้ คือ Internet Protocol version 4 (IPv4) ซึ่งเราใช้เป็นมาตรฐานในการส่งข้อมูลในเครือข่ายอินเทอร์เน็ตตั้งแต่ปี ค.ศ. 1981 ทั้งนี้การขยายตัวของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในช่วงที่ผ่านมามีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว

นักวิจัยเริ่มพบว่าจำนวนหมายเลข IP address ของ IPv4 กำลังจะถูกใช้หมดไป ไม่เพียงพอกับการใช้งานอินเทอร์เน็ตในอนาคตและหากเกิดขึ้นก็หมายความว่าเราจะไม่สามารถเชื่อมต่อเครือข่ายเข้ากับระบบอินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นได้อีก ดังนั้น จึงได้พัฒนาอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นใหม่ขึ้น คือ รุ่นที่หก (Internet Protocol version 6; IPv6) เพื่อทดแทนอินเทอร์เน็ตโพรโตคอลรุ่นเดิม โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของตัวโพรโตคอล ให้รองรับหมายเลขแอดเดรสจำนวนมาก และปรับปรุงคุณลักษณะอื่นๆ อีกหลายประการ ทั้งในแง่ของประสิทธิภาพและความปลอดภัยรองรับระบบแอพพลิเคชั่น (application) ใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต และเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผล แพ็กเก็ต (packet) ให้ดีขึ้น ทำให้สามารถตอบสนองต่อการขยายตัวและความต้องการใช้งานเทคโนโลยีบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในอนาคตได้เป็นอย่างดี

IPv6 คืออะไร ?
IPv6 ย่อมาจาก "Internet Protocol Version 6" ซึ่งจะเป็น Internet protocol รุ่นต่อไป ออกแบบและคิดค้นโดย IETF เพื่อที่จะนำมาใช้แทน Internet Protocol รุ่นปัจจุบันคือ IP Version 4 ("IPv4")

ปัจจุบันนี้ส่วนใหญ่ เราจะใช้ IPv4 ที่มีอายุเกือบ 20 ปีแล้ว และเริ่มจะมีปัญหาคือ IPv4 addresses กำลังใกล้จะหมด เนื่องจากมีเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ ๆ ที่ต้องการจะต่อกับ Internet เพิ่มขึ้นทุกวัน


IPv6 จึงถูกคิดขึ้นมาเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดใน IPv4 เช่น เพิ่มจำนวน IP address ที่ใกล้จะหมด และได้เพิ่มความสามารถ บางอย่างให้ดีขึ้นกว่า IPv4 ด้วย เช่นความสามารถในด้าน routing และ network autoconfiguration


IPv6 ถูกกำหนดให้แทนที่ IPv4 แบบค่อยเป็นค่อยไป คือช่วงระหว่างการเปลี่ยนจาก IPv4 เป็น IPv6 คงใช้เวลาหลายปี จะต้องให้ IP ทั้งสองเวอร์ชั่นทำงานร่วมกันได้ เครื่องไหนเปลี่ยนเป็น IPv6 แล้วก็ต้องให้ IPv4 เข้าใช้บริการได้

Internet Protocol version 6 (IPv6) บางครั้งเรียกว่า Next Generation Internet Protocol หรือ IPng ถูกออกแบบมาให้ทำงานได้ดีในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพสูง เช่น Gigabit Ethernet, OC-12, ATMและในขณะเดียวกันก็ยังคงสามารถทำงานในเครือข่ายที่มีประสิทธิภาพต่ำได้เช่น wireless network นอกจากนี้ยังได้มีการจัดเตรียมแพลตฟอร์มสำหรับฟังก์ชันใหม่ๆ ของอินเทอร์เน็ตซึ่งเป็นที่ต้องการในอนาคตอันใกล้ไว้ด้วย ความแตกต่างระหว่าง IPv6 และ IPv4 มีอยู่ 5 ส่วนใหญ่ๆคือ การกำหนดหมายเลขและการเลือกเส้นทาง (Addressing & Routing) ความปลอดภัย อุปกรณ์แปลแอดเดรส (Network Address Translator : NAT) การลดภาระในการจัดการ ของผู้ดูแลระบบ และการรองรับการใช้งานในอุปกรณ์พกพา (Mobile Devices)

IPv6 addresses หน้าตาเป็นอย่างไร ?
IPv6 ประกอบด้วยเลขฐานสอง จำนวน 128 บิท ครับท่าน ถ้าจะคิดว่า จะเป็น IPs ต่าง ๆ กันได้กี่ IPs ก็หาได้จาก

2^128-1: 340282366920938463463374607431768211455
คงเป็นไปไม่ได้ ที่ใครจะจำ 128 บิท IPs ได้ ถึงแม้จะแปลงเป็นเลขฐานสิบแล้วก็ตาม เพราะเป็นเลขถึง 39 หลัก ดังนั้นผู้ค้นคิด จึงตัดสินใจใช้เลขฐาน 16 แทน เพราะ 4 บิทของเลขฐานสอง แปลงเป็นเลขฐาน 16 ได้ 1 หลักพอดี คือ 0-9 จากนั้นก็ใช้ a-f แทน 10-15 (ถ้าใครไม่รู้จักเลขฐาน 16 ก็คือหนึ่งหลักมีเลขเริ่มต้นจาก 0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 a b c d e f) ดังนั้นเลข ip ก็จะเป็นเลขฐาน 16 จำนวน 32 หลัก (128/4)

ffffffffffffffffffffffffffffffff
ซึ่งก็ยังจำและเขียนยากอยู่ดี หรือว่าเขียน ตกไปหนึ่งตัว ก็จะทำให้ผิดความจริงไปได้ เพื่อให้สังเกตุเห็นได้ง่าย ผู้ค้นคิดจึงกำหนดให้ใช้ ":" ขั้น แต่ละ 16 บิท(ฐานสอง) หรือ 4 หลักของเลขฐาน 16 ได้ผลเป็น

ffff:ffff:ffff:ffff:ffff:ffff:ffff:ffff
ตัวอย่าง IPv6 address
3ffe:ffff:0100:f101:0210:a4ff:fee3:9566
เลข 0 ที่นำหน้า ของแต่ละ 16 บิท สามารถละไว้(ไม่ต้องเขียน)ได้

3ffe:ffff:0100:f101:0210:a4ff:fee3:9566 -> 3ffe:ffff:100:f101:210:a4ff:fee3:9566
ในแต่ละ 16 บิทบล็อค ถ้ามีแต่เลข 0 สามารถแทนด้วย "::" แต่ห้ามเขียนแบบนี้ ":::"

3ffe:ffff:100:f101:0:0:0:1 -> 3ffe:ffff:100:f101::1
การลดรูปมากที่สุด ก็คือ localhost address

0000:0000:0000:0000:0000:0000:0000:0001 -> ::1


เครดิต
http://www.thnic.or.th/article/18-technology/46-ip-v4-ip-v6

http://linux.sra.cattelecom.com/new/IPv6.html

Congestion control in ATM

Congestion control มีบทบาทสำคัญในการจัดการ traffic อย่างมีประสิทธิภาพของ ATM networks Congestion เป็นสถานะของ network elements ที่ network ไม่สามารถทำให้มั่นใจได้ว่าการจัดการของ quality of service ได้มีให้สำหรับ connections เดิมและสำหรับการร้องขอจาก connection ใหม่ Congestion อาจจะเกิดขี้นเนื่องจากการผันแปรทางสถิติที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ของ traffic flows หรือ ระบบ network ล้มเหลว

Congestion control ในทาง network หมายถึง การลดผลกระทบที่เกิดจาก congestion และ ป้องกันการกระจายของ congestion โดยสามารถกำหนด CAC หรือ UPC/NPC procedures เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงจากสถานการณ์เหล่านี้ ดังตัวอย่างเช่น congestion control สามารถลดค่า peak bit rate และติดตามดูค่าของมันได้ นอกจากนี้ Congestion control ยังสามารถทำได้โดยใช้ Explicit Forward Congestion Notification ( EFCN ) เหมือนกับที่ใช้ใน Frame Relay protocol โดยจะทำการ set EFCN bit เอาไว้ที่ cell header ของ node ที่อยู่ใน congested state เมื่อปลายทางได้รับ network element จะใช้ bit นี้เพื่อในการ implement protocols ที่จะมี cell rate ต่ำที่สุดใน ATM connection เมื่อเกิด congestion.

เมื่อเกิด ความคับคั่ง (Congestion) ใน Network จะทำอย่างไร

ความคับคั่ง (Congestion) ในความหมายของระบบเครือข่ายหมายถึง มีปริมาณการใช้งานระบบเครือข่ายมากเกินไปจนทำให้การรับส่งข้อมูลทำได้ช้า สาเหุตทั่วไปของการเกิดความคับคั่งได้แก่
-มีผู้ใช้งานระบบเครือข่ายในส่วนงานนั้น ๆ มากเกินไป
โปรแกรมที่ใช้งานต้องการใช้การติดต่อบนระบบเครือข่ายสูงมาก เช่น โปรแกรมประเภทกรุ๊ปแวร์ (สำหรับการจัดตาราง หรือการจัดการนัดหมาย) และอีเมล์ที่มีการส่งไฟล์ขนาดใหญ่แนบมาด้วย โปรแกรมที่ใช้งานต้องการส่งข้อมูลผ่านระบบเครือข่ายเป็นปริมาณมากๆ เช่น โปรแกรมเกี่ยวกับสิ่งพิมพ์ และโปรแกรมมัลติมีเดีย

- จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ความสามารถให้การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และเครื่องเซิร์ฟเวอร์ตัวใหม่สูงขึ้น

สามารถหาจุดที่เกิดความคับคั่งของระบบเครือข่ายได้อย่างไร
การเกิดความคับคั่งของระบบเครือข่ายมักมีอาการดังนี้

ระบบเครือข่ายทำงานช้ามากขึ้น
ระบบเครือข่ายทั้งหมดมีข้อจำกัดในการส่งข้อมูล เมื่อการใช้งานระบบเครือข่ายน้อย อัตราการส่งข้อมูลจากเครื่องหนึ่ง ไปสู่อีกเครื่องหนึ่งย่อมใช้เวลาน้อยด้วย เมื่อมีผู้ใช้มากขึ้น การติดต่อสื่อสารและส่งข้อมูลเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็มากขึ้นทำให้อัตราความเร็วในการส่งข้อมูลลดลง การส่งข้อมูลไปถึงปลายทางช้าลง
ในสถานะการณ์ที่ระบบเครือข่ายเกิดการทำงานหนักมากเกินไป โปรแกรมต่างๆ จะไม่สามารถทำงานผ่านระบบเครือข่ายได้เลย และโปรแกรมหรือระบบปฏิบัติการไม่สามารถทำงานต่อไปได้ ทำให้จำเป็นต้องปิดเปิดเครื่องใหม่ แต่จำไว้ว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้การทำงานของโปรแกรมช้าลง (เช่น ความเร็วของซีพียู, ขนาดของหน่วยความจำ และประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์)

Network Utilization สูงขึ้น
การวัดถึงความหนาแน่นของระบบเครือข่ายที่สำคัญ รูปแบบหนึ่งก็คือการ วัด Channel utilization ซึ่งวัดจากเปอร์เซ็นต์ของเวลาที่ระบบเครือข่ายต้องทำการส่งข้อมูล ซึ่งเกี่ยวข้องโดยตรง กับปริมาณการใช้งานของระบบเครือข่าย คุณสามารถตรวจสอบข้อมูลการใช้งานระบบเครือข่ายได้ ผ่านโปรแกรมจัดการระบบเครือข่ายที่สามารถแสดงข้อมูลหล่านี้ ออกมาเป็นรูปภาพและกราฟให้คุณเข้าใจได้ง่าย นอกจากนี้ อาจจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ตรวจสอบระบบเครือข่ายชนิดพิเศษ (เช่น Protocol Analyzer หรือ Remote Monitoring RMON) ที่สามารถตรวจสอบการทำงานของอุปกรณ์ระบบเครือข่ายอื่นๆ ที่ใช้งานบนระบบเครือข่ายของคุณ

ความไม่พอใจของผู้ใช้
ความเร็วของระบบเครือข่ายเป็นการวัดที่ปลายทาง สิ่งใช้วัดความหนาแน่นของแลนได้ดีที่สุดคือ ผู้ใช้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ ถ้าผู้ใช้ไม่พอใจกับประสิทธิภาพของระบบเครือข่ายแล้ว แปลว่าต้องมีปัญหาเกิดขึ้น แม้ว่าระบบเครือข่ายจะทำงานได้ดีอยู่ก็ตาม ความไม่พอใจของผู้ใช้ อาจไม่ได้มาจากความหนาแน่นของระบบเครือข่าย แต่อาจมาจากโปรแกรมที่ใช้งาน ความเร็วของซีพียู และประสิทธิภาพของฮาร์ดดิสก์ ประสิทธิภาพของเซิร์ฟเวอร์ หรืออุปกรณ์เชื่อมต่อ WAN ก็เป็นได้ (เช่น โมเด็มทำงานได้ช้าเกินไป)