บริษัทรักษาความปลอดภัยคอมพิวเตอร์ระบุ เครือข่ายสังคมออนไลน์อย่างเฟสบุ๊ก (Facebook) กลายเป็นช่องทางจู่โจมระบบเครือข่ายอย่างหนักตลอดปี 2009 โดยภัยโปรแกรมประสงค์ร้าย (มัลแวร์) และอีเมลขยะในเครือข่ายสังคมเหล่านี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นถึง 70% คิดเป็นสัดส่วนเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่าตัวเมื่อเทียบกับปี 2008 ที่สำคัญ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ยกให้เฟสบุ๊กเป็นบริการที่มองว่ามีความเสี่ยงสูงที่สุดในโลก
บริษัทโซโฟส (Sophos) เผยแพร่รายงานการศึกษาระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายสังคมนี้ในชื่อ Social Security ระบุว่าผู้ใช้กว่า 57% เคยเป็นเหยื่ออีเมลขยะทางเครือข่ายสังคม สูงกว่า 36% ที่ระบุว่าเคยได้รับโปรแกรมประสงค์ร้าย ถือเป็นอัตราที่สูงมากและมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดย Social Security เป็นส่วนหนึ่งของรายงานภัยคุกคามประจำปี 2010 ที่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า 2010 Security Threat Report
ในรายงานระบุว่าความนิยมเครือข่ายสังคมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งดึงดูดใจนักแฮกผู้หวังจะเจาะระบบ ทั้งระยะเวลาการใช้งานเครือข่ายสังคมที่นานขึ้น ความนิยมในการแบ่งปันข้อมูล รวมถึงข้อมูลส่วนตัวที่สามารถนำไปจำหน่ายขายทอดตลาดได้
เกรแฮม คลูเลย์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเทคโนโลยีของโซโฟสระบุว่านักแฮกจำนวนมากสามารถสร้างรายได้มหาศาลจากการนำข้อมูลบนเครือข่ายสังคมไปขาย โดยบอกว่าอัตราการจู่โจมของภัยออนไลน์บนเครือข่ายสังคมที่เพิ่มขึ้นชัดเจนในปีที่แล้ว เป็นสิ่งที่ชี้ว่าผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมและผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลกจะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อจัดการภัยออนไลน์ในอนาคต
โซโฟสสำรวจบริษัทในสหรัฐฯราว 500 แห่งเพื่อศึกษาความเสี่ยงในองค์กร พบว่า 72% ล้วนเป็นห่วงว่าพฤติกรรมเสพติดเครือข่ายสังคมของพนักงานจะทำให้ระบบไอทีของบริษัทอยู่ในความเสี่ยง โดย 49% ยังคงยอมให้พนักงานเล่นเว็บอย่าง Facebook และเครือข่ายสังคมอื่นๆได้อย่างเสรี แม้ว่าภัยออนไลน์นานาชนิดทั้งมัลแวร์ อีเมลขยะ ฟิชชิ่ง และการขโมยตัวตนจะมีสถิติเพิ่มขึ้นต่อเนื่องก็ตาม
การสำรวจของโซโฟสมีคำถามล่อเป้าว่าบริษัทเหล่านี้มองว่าบริการเครือข่ายสังคมใดที่มีความเสี่ยงสูงสุด กว่า 60% เทคะแนนให้เฟสบุ๊ก จุดนี้คลูเลย์ระบุว่าเป็นเพราะเฟสบุ๊กคือเครือข่ายสังคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก จึงเป็นธรรมดาหากเฟสบุ๊กจะมีภัยออนไลน์มากกว่าบริการค่ายอื่น
ขณะนี้เฟสบุ๊กรับรู้ความจริงนี้และลงมือปราบปรามภัยออนไลน์บนเว็บเฟสบุ๊กอย่างจริงจัง โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เฟสบุ๊กประกาศล้างบางคอมพิวเตอร์ติดไวรัสและมัลแวร์ด้วยการดึงบริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสอย่างแมคอาฟี่ (McAfee) มาให้บริการสแกนไวรัสด้วยซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย McAfee Internet Security Suite ได้ฟรีเป็นเวลา 6 เดือนแก่สมาชิกเฟสบุ๊กกว่า 350 ล้านชื่อทั่วโลก และจะได้รับส่วนลดพิเศษหากต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ไว้ใช้หลังจากหมดระยะเวลาทดลอง
จุดประสงค์หลักของโครงการนี้คือเฟสบุ๊กต้องการสร้างความปลอดภัยให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของสมาชิก และหนึ่งในมาตรการที่นำมาใช้คือการกวาดล้างคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสด้วยเทคโนโลยีของแมคอาฟี่ โดยโครงการนี้จะประเดิมกับสมาชิกในบางประเทศก่อน เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย อิตาลี เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส แคนาดา แมกซีโก และบราซิล ก่อนจะขยายไปยังพื้นที่อื่นๆต่อไป
นอกจากเฟสบุ๊ก โซโฟสแสดงความเป็นห่วงบริการเครือข่ายสังคมเพื่อการหางานและการทำความรู้จักด้านธุรกิจอย่าง LinkedIn ด้วย โดยอธิบายว่านักแฮกมองเครือข่ายสังคมประเภทนี้ว่าเป็นแหล่งที่อุดมด้วยข้อมูลแท้จริงมากกว่าเครือข่ายสังคมเพื่อความสนุกสนานทั่วไป แถมนักแฮกบางประเภทยังหวังผลหลอกลวงในขั้นที่หนักขึ้น เช่นการส่งอีเมลหลอกลวงประชาชนว่าบริษัทตอบรับเข้าทำงานแล้ว ซึ่งจะสร้างความเสียหายเพิ่มขึ้นในแบบที่ยากจะจินตนาการ
บริษัทโซโฟส (Sophos) เผยแพร่รายงานการศึกษาระบบรักษาความปลอดภัยบนเครือข่ายสังคมนี้ในชื่อ Social Security ระบุว่าผู้ใช้กว่า 57% เคยเป็นเหยื่ออีเมลขยะทางเครือข่ายสังคม สูงกว่า 36% ที่ระบุว่าเคยได้รับโปรแกรมประสงค์ร้าย ถือเป็นอัตราที่สูงมากและมีแนวโน้มเติบโตต่อเนื่อง โดย Social Security เป็นส่วนหนึ่งของรายงานภัยคุกคามประจำปี 2010 ที่ใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า 2010 Security Threat Report
ในรายงานระบุว่าความนิยมเครือข่ายสังคมของผู้ใช้คอมพิวเตอร์กลายเป็นสิ่งดึงดูดใจนักแฮกผู้หวังจะเจาะระบบ ทั้งระยะเวลาการใช้งานเครือข่ายสังคมที่นานขึ้น ความนิยมในการแบ่งปันข้อมูล รวมถึงข้อมูลส่วนตัวที่สามารถนำไปจำหน่ายขายทอดตลาดได้
เกรแฮม คลูเลย์ ที่ปรึกษาอาวุโสด้านเทคโนโลยีของโซโฟสระบุว่านักแฮกจำนวนมากสามารถสร้างรายได้มหาศาลจากการนำข้อมูลบนเครือข่ายสังคมไปขาย โดยบอกว่าอัตราการจู่โจมของภัยออนไลน์บนเครือข่ายสังคมที่เพิ่มขึ้นชัดเจนในปีที่แล้ว เป็นสิ่งที่ชี้ว่าผู้ให้บริการเครือข่ายสังคมและผู้ใช้หลายล้านคนทั่วโลกจะต้องมีมาตรการที่เข้มงวดมากขึ้นเพื่อจัดการภัยออนไลน์ในอนาคต
โซโฟสสำรวจบริษัทในสหรัฐฯราว 500 แห่งเพื่อศึกษาความเสี่ยงในองค์กร พบว่า 72% ล้วนเป็นห่วงว่าพฤติกรรมเสพติดเครือข่ายสังคมของพนักงานจะทำให้ระบบไอทีของบริษัทอยู่ในความเสี่ยง โดย 49% ยังคงยอมให้พนักงานเล่นเว็บอย่าง Facebook และเครือข่ายสังคมอื่นๆได้อย่างเสรี แม้ว่าภัยออนไลน์นานาชนิดทั้งมัลแวร์ อีเมลขยะ ฟิชชิ่ง และการขโมยตัวตนจะมีสถิติเพิ่มขึ้นต่อเนื่องก็ตาม
การสำรวจของโซโฟสมีคำถามล่อเป้าว่าบริษัทเหล่านี้มองว่าบริการเครือข่ายสังคมใดที่มีความเสี่ยงสูงสุด กว่า 60% เทคะแนนให้เฟสบุ๊ก จุดนี้คลูเลย์ระบุว่าเป็นเพราะเฟสบุ๊กคือเครือข่ายสังคมที่ใหญ่ที่สุดในโลก จึงเป็นธรรมดาหากเฟสบุ๊กจะมีภัยออนไลน์มากกว่าบริการค่ายอื่น
ขณะนี้เฟสบุ๊กรับรู้ความจริงนี้และลงมือปราบปรามภัยออนไลน์บนเว็บเฟสบุ๊กอย่างจริงจัง โดยเมื่อต้นปีที่ผ่านมา เฟสบุ๊กประกาศล้างบางคอมพิวเตอร์ติดไวรัสและมัลแวร์ด้วยการดึงบริษัทผลิตซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัสอย่างแมคอาฟี่ (McAfee) มาให้บริการสแกนไวรัสด้วยซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัย McAfee Internet Security Suite ได้ฟรีเป็นเวลา 6 เดือนแก่สมาชิกเฟสบุ๊กกว่า 350 ล้านชื่อทั่วโลก และจะได้รับส่วนลดพิเศษหากต้องการซื้อผลิตภัณฑ์ไว้ใช้หลังจากหมดระยะเวลาทดลอง
จุดประสงค์หลักของโครงการนี้คือเฟสบุ๊กต้องการสร้างความปลอดภัยให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ของสมาชิก และหนึ่งในมาตรการที่นำมาใช้คือการกวาดล้างคอมพิวเตอร์ที่ติดไวรัสด้วยเทคโนโลยีของแมคอาฟี่ โดยโครงการนี้จะประเดิมกับสมาชิกในบางประเทศก่อน เช่น สหรัฐฯ อังกฤษ ออสเตรเลีย อิตาลี เยอรมนี เนเธอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส แคนาดา แมกซีโก และบราซิล ก่อนจะขยายไปยังพื้นที่อื่นๆต่อไป
นอกจากเฟสบุ๊ก โซโฟสแสดงความเป็นห่วงบริการเครือข่ายสังคมเพื่อการหางานและการทำความรู้จักด้านธุรกิจอย่าง LinkedIn ด้วย โดยอธิบายว่านักแฮกมองเครือข่ายสังคมประเภทนี้ว่าเป็นแหล่งที่อุดมด้วยข้อมูลแท้จริงมากกว่าเครือข่ายสังคมเพื่อความสนุกสนานทั่วไป แถมนักแฮกบางประเภทยังหวังผลหลอกลวงในขั้นที่หนักขึ้น เช่นการส่งอีเมลหลอกลวงประชาชนว่าบริษัทตอบรับเข้าทำงานแล้ว ซึ่งจะสร้างความเสียหายเพิ่มขึ้นในแบบที่ยากจะจินตนาการ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น