ทั้งนี้ ได้มีการเปิดให้ผู้ที่เห็นด้วยลงชื่อในแถลงการณ์ โดยมีผู้ร่วมลงชื่อหลายร้อยคน ส่วนแถลงการณ์มีเนื้อหา ดังนี้
แถลงการณ์
ขอให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมืองสนับสนุนการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมเพื่อประชาชน กรณีการประมูลสามจีจากกรณีที่คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ได้ดำเนินการจัดประมูลคลื่นความถี่ 2100 หรือ 3G ซึ่งตามกำหนดการเดิมจะมีการเริ่มต้นประมูลในวันนี้ (20 กันยายน 2553) รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับรู้และมีส่วนร่วมในแนวทางดังกล่าวของ กทช. มาโดยตลอด รวมทั้งหลายภาคส่วนในสังคมสนับสนุนแนวทางการประมูลครั้งนี้ ด้วยหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นในการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมในประเทศไทย
ทว่า หน่วยงานในกำกับของรัฐบาล คือ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด มหาชน ได้ดำเนินการฟ้องทางกฏหมายต่อ กทช. เรื่องอำนาจหน้าที่เพื่อจะระงับการประมูล (ข่าวจากกรุงเทพธุรกิจ) จนนำไปสู่การชะงักงันของการประมูล ส่งผลกระทบอย่างลึกซึ้งต่อการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไทย การฟ้องร้องครั้งนี้สะท้อนถึงความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลที่มีต่อองค์กรอิสระ ในการจัดสรรทรัพยากรของประเทศ
แม้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นจะมีความซับซ้อนสูง เพราะปัญหาภายในที่สั่งสมมายาวนานของสังคมไทย แต่ทุกอย่างย่อมแก้ไขได้ด้วยเจตจำนงทางการเมือง ดังนั้นผู้มีรายชื่อข้างท้ายดังต่อไปนี้
ขอเสนอแนวทางต่อรัฐบาลเพื่อแก้ปัญหาต่อกรณีการประมูลสามจีที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน ดังต่อไปนี้
1. ขอ ให้รัฐบาลเจรจากับผู้บริหาร กสท. ซึ่งเป็นหน่วยงานในกำกับ เพื่อพิจารณาทบทวนการฟ้องร้อง กทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้การประมูลเดินหน้าไปได้
2. ขอ ให้รัฐบาลมีแนวทางในการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจเพื่อแก้ปัญหาของทั้งสองหน่วยงาน ที่จะได้รับผลประทบจากการประมูลสามจี สำหรับทางออกในระยะยาว
3. ใน ขณะที่ กทช. เดินหน้าเรื่องการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคม ขอให้รัฐบาลและรัฐสภาผลักดันกระบวนการจัดตั้งคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่เป็นอิสระเพื่อมาปฏิรูปกิจการกระจายเสียงต่อไป
เราเห็นว่าการประมูลสามจีภายใต้เงื่อนไขของ กทช. ครั้งนี้ จะนำไปสู่การปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมของประเทศไทย ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. การ ประมูลครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของปฏิรูปกิจการโทรคมนาคม จากระบบสัมปทานไปสู่ระบบใบอนุญาต ภายใต้การกำกับดูแลโดยองค์กรอิสระ ซึ่งจะนำไปสู่การแข่งขันเสรีตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ
2. การ ประมูลครั้งนี้จะนำไปสู่กระบวนการปฏิรูปหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เพื่อให้เกิดการปรับตัวในเรื่องประสิทธิภาพของการบริการสาธารณะด้านโทร คมนาคม
3. การประมูลครั้งนี้จะนำ ไปสู่การพัฒนากิจการโทรคมนาคมเพื่อกระจายการเข้าถึง เทคโนโลยีสารสนเทศออกไปในชนบท ลดช่องว่างทางเทคโนโลยี (digital divide) ในสังคม (ปัจจุบันประเทศไทยมีอัตราการเข้าถึงโทรศัพท์พื้นฐาน 10.37% อินเทอร์เน็ต 25.80% ในขณะที่เข้าถึงโทรศัพท์มือถือ 122.57%)
4. รัฐ จะได้ประโยชน์จากรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการประมูลคลื่นความถี่ฯ ที่ กทช. ต้องนำส่งเข้ารัฐเต็มจำนวน โดยไม่ถูกหักรายทางเหมือนระบบสัมปทาน
5. ถ้า การประมูลครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ต่อสายตาคนไทยและชาวโลกด้วยความโปร่งใส มากที่สุด จะช่วยกอบกู้ภาพลักษณ์ของประเทศในเรื่องการทุจริต การสมยอมได้
ดัง นั้น พวกเราตามรายชื่อข้างท้ายนี้เรียกร้องให้รัฐบาลแสดงเจตจำนงทางการเมือง เพื่อสนับสนุนให้เกิดการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคม ด้วยการให้ กสท.ยุติการดำเนินการทางกฏหมายต่อ กทช. ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ เพื่อให้การประมูลสามจีเดินหน้าไปได้ และก่อประโยชน์ร่วมของสังคมไทย
ด้วยความหวังที่จะได้เห็นการปฏิรูปกิจการโทรคมนาคมไทย
ร่วมลงชื่อได้ที่ http://bit.ly/thai3g-form
ดูรายชื่อผู้ร่วมสนับสนุนได้ที่ http://bit.ly/thai3g-name
เครดิต : http://news.mthai.com/general-news/88178.html
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น