Laravel เป็น PHP Framework น้องใหม่ เพราะเพิ่งเกิดมาได้แค่ปีเดียวเอง ซึ่งสร้างโดยคุณ Taylor Otwell ที่เป็นคนเขียน CodeIgniter มา ก่อน
จุดเด่นของ Laravel น่าจะอยู่ที่ความ ง่าย แล้วก็มีโคดที่สวยงาม Document ที่อ่านง่าย ใช้เวลา Learning ค่อนข้างสั้น ใครที่อยากจะรู้ว่า Laravel ดียังไง ใช้งานยังไง แล้วมีเทคนิคการใช้งานอย่างไรบ้าง ลองค้นหาข้อมูลอ่านเพิ่มเติมันเอาเองนะครับ ส่วนใหญ่ก็เว็บต่างประเทศทั้งนั้น เจอที่ไทยหลักๆ ก็จะเป็นเว็บ http://laravel.in.th/
โครงสร้างของ Laravel Framework จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ M-Model,V-View และ C-Controller เหมือนกับ MVP Framework ตัวอื่นๆ แต่จะมีส่วนประกอบอื่นๆเพิ่มเติมขึ้นมา เช่น Library, Bundled และ Routing เป็นต้น โดยจะแยกส่วนต่างๆออกจากกันชัดเจน เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย และตรวจสอบแก้ไขได้ง่าย โดยจะใช้ Model ในการติดต่อกับฐานข้อมูล ใช้ Controller ในการรับข้อมูล (Input) จากผู้ใช้ และประสานงานระหว่าง Model,Library และ View และแสดงผลลัพท์ทั้งหมดด้วย View
การติดตั้งใช้งาน สามารถดาว์นโหลดได้ฟรี จากเว็บไซต์ laravel.com จากนั้นแตก Zip ไฟล์ที่ได้จะพบโครงสร้างดังรูป ประกอบด้วยโฟลเดอร์หลักๆ เช่น Application จะเก็บตัวแอพลิเคชั่นที่เราพัฒนาขึ้นมาและค่าคอนฟิคต่างๆ, Bundled จะใช้เก็บ โมดูลต่างๆที่มีผู้พัฒนาไว้แล้วผ่านการตรวจสอบว่าทำงานได้ดี ซึ่งเราสามารถนำมาพัฒนาต่อได้เลย โดยที่ไม่ต้องเริ่มใหม่ ทำให้ขั้นตอนการพัฒนาระบบ ทำได้รวดเร็วขึ้น, โฟลเดอร์ Laravel จะเก็บไฟล์หลักของ Laravel, Public เก็บไฟล์มีเดียประเภทต่างๆ เช่น รูปภาพ ซีเอสเอสไฟล์(CSS)ไฟล์เอกสาร เป็นต้น และ Storage จัดเก็บไฟล์ Log ต่างๆ หลังจากนั้นขั้นตอนการติดตั้งก็ไม่มีอะไรยุ่งยาก ทำการปรับแต่งไฟล์เริ่มต้นระบบ (Config File) ที่อยู่ในโฟลเดอร์ application จากนั้นอัพโหลดเข้าสู่เว็บเซิฟเวอร์ก็ถือว่าได้ทำการติดตั้งและปรับแต่งระบบเบื้องต้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว (ก่อนที่จะอัพโหลดเข้าสู่เซิฟเวอร์จริง เราอาจติดตั้งในเครื่องเราก่อน โดยการติดตั้งโปรแกรมจำลองเว็บเซิฟเวอร์ เช่น AppServ หรือ Xamp ในเครื่องเราเองก่อนเพื่อทดสอบ แต่จากการทดลองใช้งาน แนะนำให้ใช้ Xamp จะดีกว่า)
ที่มา http://taklokung.wordpress.com/tag/laravel/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น