Music Hit In your life

วันอาทิตย์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2552

คำศัพท์คอมพิวเตอร์ชุดที่ 1 A-S

คำศัพท์คอมพิวเตอร์ชุดที่ 1 A-S

APPLE (แอปเปิ้ล) เป็นชื่อของบริษัทผู้ผลิตเครื่องพีซียี่ห้อง Apple (มีโลโก้เป็นรูปแอปเปิ้ลถูกกินไปหนึ่งคำ) ซึ่งมีเรื่องเล่ากันว่าตอนที่ตั้งชื่อบริษัทนั้น นายสตีฟ จ๊อบส์ (Steves Joobs) เจ้าของบริษัทไม่รู้ว่าจะตั้งอะไรดี อาศัยที่ชอบกินแอปเปิ้ลก็เลยเอามาตั้งเป็นชื่อบริษัทซะเลย เครื่องพีซีแอปเปิ้ลถือได้ว่าเป็นพีซีรุ่นแรกของโลก (ผลิตออกมาขายในราวปี 1977) ปัจจุบันเราเรียกเครื่องพีซีของบริษัทแอปเปิ้ลกันว่า “เครื่องแมคอินทอช” (Macintosh) ในเมืองไทยมีบริษัทสหวิริยาเป็นตัวแทนจำหน่าย ใครอยากลองใช้เครื่องแมคดูบ้างก็โทรไปสั่งซื้อกันได้

Application Software หมายถึงซอฟต์แวร์ประยุกต์สำหรับใช้งาน เช่น เวิร์ดโปรเซสเซอร์ สเปรดชีต และซอฟต์แวร์ด้านฐานข้อมูลเป็นต้น ผู้ใช้สามารถนำมาใช้งานบนคอมพิวเตอร์ โดยที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์จะวิ่งอยู่บน OS (โปรแกรมพื้นฐานหรือโปรแกรมระบบ) เช่น MS-DOS , WINDOWS ซอฟต์แวร์ประยุกต์นี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า โปรแกรมใช้งาน

ASCII(แอสกี้) คือรหัสมาตรฐานชนิด 8 บิต ที่ใช้กับการสื่อสารข้อมูลในระบบโทรคมนาคม แต่ต่อมาก็ถูกนำมาใช้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ของสหรัฐอเมริกา เพื่อใช้แลกเปลี่ยนสารสนเทศ ASCII ย่อมาจาก America Standard Code for Information Interchange (แปลว่า รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนข่าวสาร) ซึ่งถ้าเก็บข้อมูลเป็นรหัสแอสกี้ที่เรียกว่า แอสกี้ไฟล์ (ASCII FILE) ก็สามารถนำเอาข้อมูลนั้น ๆ ไปใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง

AUTOEXEC.BAT (ออโตเอ็กซ์คิวท์) ย่อมาจากคำเต็ม ๆว่า AUTOmatically EXECute BATch file (แปลว่าแบตซ์ไฟล์ที่ทำงานโดยอัตโนมัติ) ABTCH FILE ที่ใช้เก็บคำสั่งหลายๆ คำสั่งเอาไว้ เพื่อให้ทำงานอย่างต่อเนื่องกันโดยอัตโนมัติในทันทีที่เปิดใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ต้องการให้เรียกไดเวอร์ของเม้าส์ทุกครั้งที่เปิดเครื่อง ก็พิมพ์คำสั่งเข้าไปไว้ที่ไฟล์ AUTOEXEC.BAT

BATCH FILE ( แบตช์ไฟล์) อ้างถึงเรื่องแบตช์ไฟล์เอาไว้ในหัวข้อที่แล้ว หลายๆ คนอาจจะยังไม่รู้จักเลยขออธิบายไว้สักหน่อยว่าแบตช์ไฟล์ คือไฟล์ที่ใช้เก็บคำสั่งที่ใช้กับดอสหลายๆ คำสั่งเข้าด้วยกัน แล้วตั้งชี่อใหม่เพื่อให้สะดวกในการสั่ง คือสั่งชื่อแบตช์ไฟล์ทีเดียวก็เท่ากับสั่งให้เครื่องทำตามคำสั่งทุกคำสั่งที่อยู่ในแบตช์ไฟล์ทั้งหมด ซึ่งถ้าสั่งทีละคำสั่งจะเสียเวลาและไม่สะดวก

BIT (บิต) เป็นหน่วยที่ต่ำสุดของข้อมูลที่ใช้ในคอมพิวเตอร์ เป็นเลข 0 และ 1 ซึ่งจะสัมพันธ์กับแรงดันต่ำและสูงในคอมพิวเตอร์ คำว่า บิตมาจากการรวมคำของเลขฐานสองในภาษาอังกฤษที่เรียกว่า Binary Digit

BUG (บั๊ก) บั๊ก แปลว่าแมลงปีกแข็ง แต่ในวงการคอมพิวเตอร์หมายถึงข้อผิดพลาดหรือจุดบกพร่องของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ซึ่งทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงานตามปกติ สาเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะในสมัยที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ใหม่ๆ เมื่อคอมพิวเตอร์ไม่ทำงาน ช่างก็เปิดเครื่องดูปรากฏว่าพบตัวบั๊กอยู่ข้างใน ก็เลยพูดติดตลกว่าที่เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงานก็เพราะมีบั๊กนี่เอง ต่อมาก็เลยนิยมเรียกโปรแกรมที่ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงานว่า โปรแกรมนั้นมีบั๊ก

BUS (บัส) “บัส” คือระบบรับส่งข้อมูลระหว่าง CPU กับส่วนต่าง ๆ ของคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกับรถบัสที่วิ่งรับส่งผู้โดยสาร บัสจึงเปรียบเสมือนกับถนนในเครื่องพีซีแต่มีลักษณะเป็นลายเส้นทองแดงจำนวนมากมายเชื่อมโยงไปยังจุดต่าง ๆ ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ บัสแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามประเภทของข้อมูล ดังนี้คือ DATABUS เป็นบัสสำหรับส่งข้อมูลไปมาระหว่าง CPU กับหน่วยความจำ ADDRESS BUS เป็นบัสที่รับสัญญาณจาก CPU เพื่อกำหนดตำแหน่งในการรับส่งข้อมูล และ CONTROL BUS เป็นบัสที่รับสัญญาณจาก CPU เพื่อควบคุมการรับส่งข้อมูลไปยังหน่วยต่าง ๆ
บัสเป็นระบบที่มีความ สำคัญมาก เพราะต่อให้เป็น CPU รุ่นใหม่ล่าสุดและมีความเร็วสูง (เปรียบเหมือนรถสปอร์ตชั้นดี) แต่ถ้าระบบบัสห่วยแตก (เปรียบเหมือนถนนลูกรัง แคบ ๆ แถมเป็นหลุมบ่ออีกต่างหาก) ก็ทำให้ประสิทธิภาพของเครื่องลดต่ำลงอย่างน่าใจหายทีเดียว (เปรียบเหมือนรถสปอร์ตที่ถูกบีบให้วิ่งด้วยความเร็วพอ ๆ กับเกวียนนั่นแล) ปัจจุบันมีระบบบัสให้เลือกใช้อยู่ 4 แบบ ใหญ่ ๆ คือ ISA, VL-BUS, PCI LOCAL BUS และ AGP BUS ที่ทันสมัยน่าใช้ที่สุดก็คือ AGP BUS วึ่งเปรียบประดุจกับถนนบนทางด่วน เพราะเป็นระบบบัสแบบ 128 บิต แต่ก็มีราคาไม่แพงเท่าไร

CAI (ซีเอไอ) CAI ไม่ได้เป็นญาติอะไรกับ ซีไอเอ ที่เป็นสายลับของสหรัฐฯ นะครับ แต่ย่อมาจากคำว่า COMPUTER AIDED INSTUCTION ซึ่งหมายถึง การสอนโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย ถ้าเขาโฆษณาว่าโปรแกรมเป็นโปรแกรมประเภท ซีเอไอ ก็หมายความว่า โปรแกรมนั้นเป็นโปรแกรมเพื่อการศึกษาเรียนรู้โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย โดยมีการสอนเนื้อหา ทำแบบฝึกหัด ประเมินผล และอาจแถมท้ายด้วยเกมส์สนุก ๆ อีกด้วย เช่นโปรแกรมฝึกพิมพ์ดีดสัมผัส เป็นต้น

COBOL (โคบอล) คือภาษาคอมพิวเตอร์ระดับสูงอีกภาษาหนึ่ง ย่อมาจากคำเต็มว่า Common Business Orietted Language (แปลว่า ภาษาที่เหมาะกับสำหรับธุระกิจทั่ว ๆ ไป) เป็นภาษาที่มีรูปแบบคล้ายกับภาษาอังกฤษธรรมดา ทำให้เข้าใจง่าย ได้รับการพัฒนาเพื่อใช้เขียนโปรแกรมภาษาทางธุรกิจโดยเฉพาะ สำหรับเขียนโปรแกรมแก้ปัญหาทางธุรกิจทีมีข้อมูลจำนวนมาก ๆ แต่ต้องการประมวลผลที่ไม่ยุ่งยาก ภาษาโคบอลรุ่นแรกลืมตาดูโลกในปี ค.ศ. 1959 (บางตำราว่า 1960)โอ้.. ปีเกิดผู้เขียนเลย

CD-ROM (ซีดีรอม) เป็นแผ่นซีดีสำหรับบันทึกข้อมูลคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ภายในหนึ่งแผ่นสามารถจุข้อมูลได้ถึง 600-700 MB ซึ่งมากว่าแผ่นฟล็อปปี้ดิสก์หลายร้อยเท่า คำว่า CD-ROM ย่อมาจากคำเต็มว่า Compact Disk Read Memory (แผ่นคอมแพคดิสก์ที่ใช้อ่านข้อมูลได้อย่างเดียว จะบันทึกอะไรทับลงไปไม่ได้) ข้อดีของซีดีดรอมคือจุข้อมูลได้มากและทนไม้ทนมือจึงนิยมใช้บันทึกข้อมูลที่เป็นภาพและเสียงทางด้านมัลตีมีเดีย ส่วนข้อเสียในตอนนี้ก็คือเรื่องของความเร็วในการอ่านข้อมูลของซีดีดรอมไดรฟ์ ซึ่งปัจจุบันมีความเร็วมาตรฐานอยู่ที่ QUAD-SPEED (52 เท่า) ซึ่งช้ากว่าการอ่านข้อมูลจากฮาดร์ดดีสก์

COMMAND.COM (คอมมานด์คอม) เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับอ่านและดำเนินการคำสั่งของ MS-DOS ทำหน้าที่เชื่อมโยงผู้ใช้กับ MS-DOS เป็นไฟล์สำหรับบูตเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหนึ่ง ถ้าไฟล์นี้ถูกลบไปจะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ไม่ทำงานตอนเปิดเครื่อง (ไฟล์เปิดเครื่องมีหลายตัว แต่ที่ปรากฏก็ไฟล์ Command.com)

COMPATIBILITY (ความเข้ากันได้) หมายถึงการมีสมรรถนะพื้นฐานเดียวกัน เช่น โปรแกรมหรืออุปกรณ์ของคอมฯเครื่องหนึ่ง สามารถนำไปใช้ได้กับคอมฯ อีกเครื่องหนึ่ง อย่างนี้เรียกว่า คอมฯทั้งสองมีความเข้ากันได้ (Compatibility) กัน

DATABASE (ดาต้าเบส) แปลว่า ฐานข้อมูล หมายถึงระบบการรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันเอาไว้เป็นหมวดหมู่ หรือฐานเดียวกัน เพื่อสะดวกในการค้นหาและเก็บรักษา เช่น ข้อมูลหนังสือห้องสมุด, รายการสินค้า, ทะเบียนบุคคล ฯลฯ โปรแกรมที่ใช้มีอยู่หลายโปรแกรม เช่น dBase, Access, FoxPro, Paradox เป็นต้น ผู้เขียนชอบโปรแกรม ฟอกซ์โปร ฟอร์ วินโดว์ มาก เพราะใช้งานง่ายในการทำฐานข้อมูล

DIRECTORY (ไดเรคทอรี่) หมายถึง สารบบ ส่วนที่เก็บบันทึกข้อมูล ซึ่งใช้แสดงรายระเอียดต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล เช่นรายชื่อแฟ้ม , เนิ้อที่ที่ใช้เก็บตำแหน่งที่อยู่ของข้อมูล (บางอาจารย์เรียกว่าห้องงาน ซึ่งเป็นเสมือนห้องที่ใช้เก็บของต่าง ๆ ตัวอย่าง บ้าน ๑ หลัง มีการแบ่งห้องออกเป็น ห้องครัว ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องเก็บของ ห้องรับแขก ห้องนั้งเล่นเป็นต้น) ไดเรคทอรี่แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ 1. ROOT-DIRECTORY (ไดเรคทอรี่หลัก) 2. SUB-DIRECTORY (ไดเรคทอรี่ย่อย)

DIALOG BOX (ไดอาล๊อกบ๊อกซ์) คือกรอบสนทนาระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์กับผู้ใช้ เพื่อถามหาข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งจะปรากฏเมื่อผู้ใช้สั่งให้โปรแกรมทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไป เช่นสั่งให้ออกจากโปรแกรม โปรแกรมก็จะส่งไดอาล๊อกบ๊อกซ์ขึ้นมาถามว่า จะออกใช่ไหม ? ถ้าใช่ก็เลือกตอบ OK ถ้าไม่ออกก็ NO

DOWNLOAD (ดาวน์โหลด) แปลตรงตัวว่า “เก็บไว้ข้างล่าง” ทางคอมพิวเตอร์หมายถึง การเก็บข้อมูลที่รับมาจากคอมพิวเตอร์ตัวหลักในระบบเครือข่ายลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงเข้ากับระบบเครือข่าย การดึงข้อมูลจากระบบเครือข่วยมาเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีตำแหน่งคอมพิวเตอร์ต่ำกว่า จึงเรียกว่า “การเก็บไว้ข้างล่าง” หรือ “ดาวน์โหลด” ในทางตรงกันข้ามถ้าต้องการจะส่งข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้อยู่ไปเก็บไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตัวหลักของระบบเครือข่วยที่อยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าก็จะเป็นการ “เก็บไว้ข้างบน” หรือ “อัพโหลด” (UPLOAD)

EXE FILE (เอ๊กซ์ไฟล์) ย่อมาจากคำว่า “ EXEcutable FILE”หมายถึงไฟล์หรือโปรแกรมตัวหลักที่สามารถจะทำงาน(RUN) ได้ในทันทีบนระบบปฏิบัติการ MS-DOS โดยเพียงแต่พิมพ์ชื่อไฟล์ลงไปเท่านั้น (ฉะนั้นบางทีก็เรียกว่าไฟล์ประเภทนี้ว่า Machine Language File) อยากรู้ว่าไฟล์หรือโปรแกรมไหนเป็นไฟล์ประเภทนี้ ก็ให้สังเกตดูได้ที่นามสกุล ถ้ามีนามสกุลเป็น .EXE (จุดอีเอ๊กซ์อี) เช่น FORMAT.EXE, CHKDSK.EXE, BACKUP.EXE ก็ชัวร์ได้เลยว่าเป็นเอ๊กซ์ไฟล์ ซึ่งเราสามารถจะพิมพ์ชื่อแล้วกดปุ่ม Enter ให้มันทำงานได้เลย

FAT (แฟ็ต) (File Allocation Table) พื้นที่เก็บข้อมูลที่เกี่ยวกับตำแหน่งของชื่อไฟล์ต่าง ๆ โดยการระบุชื่อไฟล์ทำให้สามารถอ่านไฟล์ต่าง ๆ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ . เป็นระบบไฟล์แบบเก่า ระบบปฏิบัติการแทบทุกตัวมักรู้จัก ข้อเสียคือไม่สามารถรองรับพาร์ทิชั่นได้เกิน 2 GB. FAT แบบอื่นคือ
VFAT(Virtual File Allocation Table) ลักษณะคล้าย FAT แต่รองรับการใช้
ชื่อไฟล์แบบยาว
HPFS(High Performance File System) มีประสิทธิภาพสูงคล้าย NTFS แต่ใช้กับระบบ
ปฏิบัติการ OS/2 เพียงตัวเดียว
NTFS(NT File System) ออกแบบมาเพื่อรองรับ Windows NT มีประสิทธิภาพในการ
ใช้เนื้อที่ฮาร์ดดิสก์ได้ดีกว่า FAT มีความปลอดภัยเหมาะกับการใช้สำหรับเครื่อง Server
FAT32 (32 bit Fat Allocation Table) ออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการที่ FAT ไม่สามารถ
รองรับพาร์ทิชั่นได้เกิน 2 GB. เหมาะกับการเก็บข้อมูลปริมาณมาก มีข้อเสียตรงระบบ
ปฏิบัติการของไมโครซอฟท์รุ่นก่อนไม่สามารถใช้ได้ เช่น ดอส วินโดว์ 3.1 วินโดว์ 95


FORMAT (ฟอร์แมต) เป็นคำสั่งที่ใช้กำหนดรูปแบบในการจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้นให้กับแผ่นดิสก์ที่แกะออกจากกล่องใหม่ๆ เพื่อให้พร้อมที่จะใช้บันทึกข้อมูล เนื่องจากแผ่นดิสก์ใหม่จะเป็นแผ่นเปล่าๆ ไม่มีรูปแบบในการเก็บข้อมูล จึงไม่สามารถจะใช้เก็บข้อมูลได้ทันที ต้องเอามาเข้าพิธีฟอร์แมตเสียก่อนจึงจะใช้ได้ แต่ใช่ว่าคำสั่ง FORMAT จะใช้ได้กับแผ่นดิสก์ใหม่ๆเท่านั้น แผ่นดิสก์เก่าๆหรือฮาร์ดดิสก์ก็ใช้บริการฟอร์แมตได้เช่นกัน ซึ่งเท่ากับเป็นการยกเครื่องใหม่โดยเคลียร์ข้อมูลทุกอย่างที่มีอยู่ทิ้งทั้งหมด ด้วยเหตุนี้ FORMAT เลยได้รับสมญานามว่าเป็นคำสั่งที่ “โหดเหี้ยมที่สุด” เพราะไม่เคยปราณีข้อมูลหน้าไหนทั้งสิ้น (ก่อนใช้จึงควรนับ 1-10 ทุกครั้ง)

FLOWCHART (โฟลว์ชาร์ต) แปลว่า ผังงาน หมายถึงภาพลักษณ์ใช้แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (เมื่อพูดถึงคอมพิวเตอร์) ซึ่งก็รู้กันดีอยู่แล้วว่า การจะลงมือเขียนโปรแกรมกันนั้น โปรแกรมเมอร์ทุกคนจะต้องสุมหัวกันวางแผนเกี่ยวกับรายระเอียดของโปรแกรมเสียก่อน ว่าจะให้มีขั้นตอนและทิศทางการทำงานอย่างไร ซึ่งใช้คำพูดหรือเขียนข้อความอธิบาย อาจจะทำให้ “มึน” และเกิดความผิดพลาดได้ง่าย ดังนั้นเพื่อให้ดูง่าย เข้าใจง่าย จึงต้องนำภาพลักษณ์ต่างๆ หรือโฟลว์ชาร์ต หรือผังงานมาใช้แสดงขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมนี้ เรียกว่า “การเขียนผังงาน”

FUNCTION (ฟังก์ชั่น) หมายถึงสูตรคำนวณที่ใส่เข้าไปในคอมพิวเตอร์ เพื่อการคำนวณตามข้อมูลที่ป้อนเข้าไป เครื่องจะทำการคำนวณตามสูตรที่ป้อนเข้าไปแล้วส่งผลออกมา เช่น การรวมตัวเลข การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าสูงสุดและต่ำสุดเป็นต้น ในโปรแกรมด้านสเปรดชีต จะมีฟังก์ชั่นเตรียมไว้มากมาย

HACKER (แฮกเกอร์) เป็นศัพท์ที่ใช้เรียกเซียนทางคอมพิวเตอร์ หรือเก่งทางคอมพิวเตอร์ แต่เป็นประเภทที่เก่งแล้วจิตไม่ว่าง กลัวว่าคนอื่นจะไม่รู้ว่า ตนเองเก่ง เลยต้องโชว์ความเก่งสำแดงฝีมือโชว์ด้วยการแกะรหัสคอมพิวเตอร์แล้วแอบเข้าไปในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ทำการมิดีมิร้าย (ร้ายทั้งสิ้น)ต่อข้อมูลต่าง ๆ เช่น ขโมยข้อมูล ลบข้อมูล เปลี่ยนแปลงข้อมูล ทำให้เจ้าของข้อมูลได้รับความเสียหาย ระบบเครือยข่ายไหนที่ว่าแน่ ๆ เจ้าพวกแฮกเกอร์ยิ่งกระหายเข้าไปพิสูจน์ฝีมือ เช่น เพนตากอน กระทรวงกลาโหมสหรัฐ เป็นต้น ฉะนั้นพวกแฮกเกอร์ จึงได้ฉายา ว่า “อาชญากรทางคอมพิวเตอร์”

HARDDISK (ฮาร์ดดิสก์)เป็นอุปกรณ์สำหรับเก็บข้อมูล เรียกอีกอย่างว่า หน่วยความจำสำรอง (หน่วยความจำหลักคือ แรม) สามารถอ่านเขียนด้วยความเร็วสูง มีความทนทาน และเก็บข้อมูลได้ปริมาณมาก มีความจุเป็นพันล้าน เท่าของแผ่นพล๊อปปี้ดิสก์ ฮาร์ดดิสก์รุ่นใหม่ จุข้อมูลได้ เป็น 400 -800 GB (กิกะไบต์) แล้ว

HYPERTEXT (ไอเปอร์เท็กซ์) ไฮเปอร์เท็กซ์ คือ ข้อความหลายมิติบนคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์สามารถอ่านข้อความได้สะดวกสบายกว่าเดิม คือ ถ้าเป็นข้อความได้สะดวกสบายกว่าเดิม คือ ถ้าเป็นข้อความธรรมดาทั่วไป เวลาจะอ่านก็ต้องอ่านไปทีละบันทัด ทีละหน้าตามลำดับ แต่ถ้าเป็นข้อความหลายมิติหรือไฮเปอร์เท็กซ์จะอ่านอย่างไรก็ได้ เช่น อ่านหน้านี้แล้วกระโดดข้ามไปหน้าอื่น หรืออ่านหน้านี้แล้วต้องการจะได้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนั้น ก็ใช้เม้าส์เลื่อนเคอร์เซอร์ไปชี้ แล้วคลิ๊กเรียกขึ้นมาดูได้ทันที ซึ่งนอกจากข้อความแล้ว ยังมีภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงประกอบแถมให้อีกด้วย (แจ๋วไหมละ)



.
.
.

ที่มา เอกสารประกอบการสอน วิชาศาสตร์คณิตกรณ์เบื้องต้น ชุด คำศัพท์คอมพิวเตอร์ โดย พระครูสิริธรรมวรคุณ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น