1 ข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์
ลักษณะของข้อมูลที่ทำงานกับคอมพิวเตอร์ จะเป็นบิต (Bit) คือมีเพียงสองสถานะที่แตกต่างกัน ซึ่งอาจใช้สัญลักษณ์ 1 หรือ 0 แทน ซึ่งตรงกับเลขฐานสอง และโดยทั่วไปข้อมูลหนึ่งตัวอักษร(Character) หรือเรียกว่า 1 ไบต์ (Byte) นั้นประกอบด้วยข้อมูล 8 บิต ดังนั้นข้อมูล 1 ไบต์มีความแตกต่างกันได้ 28 หรือ 256 รูปแบบ ซึ่งรหัสที่ใช้กำหนดลักษณะรูปแบบข้อมูลที่เป็นสากลเรียกว่า รหัสแอสกี(ASCII, American Standard Code for Information Interchange) รหัสแอสกีมีค่าตั้งแต่ 0-127 ใช้แทนค่าตัวอักขระต่างๆ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร แและรหัสควบคุมพิเศษอื่นๆ เช่น Enter, Backspace, Tab เป็นต้น และ รหัส 128-255 ใช้แทน Graphic Character หรือ ตัวอักษรพิเศษของภาษาอื่นๆ ที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น ภาษาไทย เป็นต้น
ข้อมูล 2^10 Byte หรือ 1024 Byte เรียกว่า 1 KiloByte (Kb)
ข้อมูล 2^20 Byte หรือ 1,048,576 Byte เรียกว่า 1 MegaByte(Mb)
ข้อมูล 2^30 Byte หรือ 1,073,741,824 Byte เรียกว่า 1 GigaByte (Gb)
2 ระบบคอมพิวเตอร์(Computer System) ประกอบด้วยส่วนต่างๆ คือ
• หน่วยประมวลผลกลาง หรือซีพียู (CPU,Central Processing Unit) หรือเรียกว่า ไมโครโพรเซสเซอร์ (MicroProcessor) เป็นเหมือนเป็นสมองของคอมพิวเตอร์ ภายในยังประกอบด้วยหน่วยคำนวณและตรรกะ (ALU,Arithmetic and Logic Unit) ทำหน้าที่รับข้อมูลจากหน่วยความจำมาคำนวณหรือเปรียบเทียบ ผลที่ได้อาจเก็บที่หน่วยความจำ หรือส่งผ่านหน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออกไปยังอุปกรณ์แสดงผล
• หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการรับส่งข้อมูลและคำสั่งระหว่างหน่วยต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยการถอดรหัสคำสั่ง จัดลำดับการทำงาน ส่งสัญญาณเตือนให้หน่วยต่างๆ ทราบถึงคำสั่งที่ส่งไป และควบคุมจังหวะก่อนหลังของการรับส่งข้อมูล
หน่วยประมวลผลกลางมีการทำงานขึ้นกับสัญญาณนาฬิกา (Clock Signal) ดังนั้นการประมวลผลคำสั่งจะเร็วหรือช้าจึงขึ้นกับความถี่ของสัญญาณนาฬิกา นอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับขนาดข้อมูลที่ประมวลผลได้
หน่วยประมวลผลกลาง มีการพัฒนาความสามารถมาตลอด ทั้งการเพิ่มความเร็วในการประมวลผล และการเพิ่มขนาดของข้อมูลที่ประมวลผลด้วย ตัวอย่างเช่น
Z80/8080 มีการประมวลผลข้อมูลขนาด 8 บิต
8086/8088 มีการประมวลผลข้อมูลขนาด 16 บิต
80286 มีการประมวลผลข้อมูลขนาด 16 บิต
80386 มีการประมวลผลข้อมูลขนาด 32 บิต Clock ความถี่ 20 - 33 Mhz
80486 มีการประมวลผลข้อมูลขนาด 32 บิต Clock ความถี่ 25 และ 33 Mhz
Pentium มีการประมวลผลข้อมูลขนาด 64 บิต Clock ความถี่ 75 - 200 Mhz
โดยทั่วไป การเรียกชื่อรุ่นคอมพิวเตอร์ จะเรียกตามชื่อรุ่นของ หน่วยประมวลผลกลางที่ใช้ เช่น เครื่อง 486, เครื่องเพนเทียม (Pentium) เป็นต้น
• หน่วยความจำหลัก(Main Memory) ทำหน้าที่เก็บคำสั่งที่จะให้คอมพิวเตอร์ทำงาน และข้อมูลที่ใช้โดยหน่วยประมวลผลกลาง หรือ ผลลัพธ์จากการประมวลผล
หน่วยความจำหลักสามารถแบ่งตามลักษณะโครงสร้างทางอิเล็กทรอนิกส์ได้ 3 ประเภท คือ
1. หน่วยความจำแรม (RAM, Random Access Memory) สามารถบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลได้ตลอดเวลาที่เปิดใช้คอมพิวเตอร์ (มีพลังงานไฟฟ้า) เมื่อปิดเครื่องข้อมูลจะหายไป
2. หน่วยความจำรอม (ROM, Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้อ่าน ข้อมูลได้เท่านั้น ข้อมูลจะไม่สูญหายแม้ปิดเครื่อง ข้อมูลในหน่วยความจำนี้จะมีการบันทึกในตอนเริ่มต้นโดยบริษัทผู้ผลิตเท่านั้นไม่สามารถแก้ไขได้
3. หน่วยความจำแคช (Cache) เป็นหน่วยความจำพิเศษ มีความเร็วสูง เก็บข้อมูลที่ซีพียูใช้บ่อยๆ ทำให้เสียเวลาน้อยลงในการติดต่อกับหน่วยความจำหลัก
• หน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออก(Input/Output Unit, I/O Unit) เป็นชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางการถ่ายเทข้อมูลระหว่างอุปกรณ์รอบข้างกับหน่วยประมวลผลกลาง หรือหน่วยความจำ หน่วยรับส่งข้อมูลเข้าออกยังแบ่งเป็นหน่วยย่อยที่รับผิดชอบเฉพาะอุปกรณ์รอบนอกแต่ละอย่างซึ่งเรียกว่าพอร์ต (Port)
พอร์ตที่ทำหน้าที่รับข้อมูลอย่างเดียวเรียกว่าพอร์ตรับข้อมูลเข้า(Input Port) พอร์ตที่ทำหน้าส่งข้อมูลออกไปยังอุปกรณ์รอบนอกอย่างเดียวเรียกว่าพอร์ตส่งข้อมูลออก (Output Port) ส่วนพอร์ตที่ทั้งรับและส่งข้อมูลเรียกว่าพอร์ตรับส่งข้อมูลเข้าออก(Input/Output Port)
พอร์ตยังสามารถเรียกชื่อตามขนาดข้อมูลที่รับส่งด้วย ถ้าการรับส่งข้อมูลครั้งละ 8 บิตขนานกันเรียกว่าพอร์ตขนาน (Parallel Port) ส่วนถ้ารับส่งข้อมูลทีละชุดแบบอนุกรม เรียกว่าพอร์ตอนุกรม (Serial Port)
• บัส(Bus) เป็นตัวนำที่ทำหน้าที่ถ่ายเทข้อมูลระหว่างหน่วยต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ โดยส่งสัญญาณบอกตำแหน่งที่อยู่ของหน่วยความจำหรือพอร์ตรับ-ส่งข้อมูลนั้น ด้วยบัสตำแหน่ง(Address Bus) ส่งสัญญาณควบคุมเพื่อคอยรักษาจังหวะการติดต่อระหว่างหน่วยต่างๆ ทางบัสควบคุม (Control bus) และส่งสัญญาณข้อมูลที่เป็นข้อมูล หรือคำสั่งผ่านทางบัสข้อมูล (data bus)
• สัญญาณนาฬิกา(Clock) ทำหน้าที่ให้จังหวะเพื่อให้การทำงานระหว่างหน่วยต่างๆ สอดคล้องกัน สัญญาณความถี่สร้างจากผลึกควอตซ์ (Quartz) เป็นต้นกำเนิด
• อุปกรณ์รอบนอก (Peripheral Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้รับและหรือส่งข้อมูลจากภายนอกคอมพิวเตอร์ให้กับคอมพิวเตอร์ เช่น การป้อนข้อมูลผ่านทางคีย์บอร์ด (Keyboard) การแสดงข้อมูลผ่านทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์ รวมทั้งการเก็บข้อมูลภายนอกจากหน่วยความจำแรมซึ่งมีราคาค่อนข้างสูง ไปไว้ในหน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory หรือ Auxiliary Memory) ได้แก่ เทปแม่เหล็ก (Magnetic Tape) ฟลอปปี้ดิสค์ (Floppy Disk) หรือ ฮาร์ดดิสค์ (Hard Disk)
สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล(PC, Personal Computer)นั้นเป็นเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ที่นำมาใช้งานทั่วไปทั้งในการใช้งานส่วนตัวและในงานธุรกิจ
สำหรับการพิจารณาส่วนประกอบของเครื่องพีซีสามารถแยกเป็นส่วนประกอบภายในเครื่อง ได้แก่ บอร์ดวงจรหลัก (MotherBoard หรือ MainBoard) หน่วยประมวลผลกลาง, ช่องเสียบอุปกรณ์ภายนอก (Expansion Slot) หน่วยความจำหลัก (RAM) หน่วยความจำสำรอง (Floppy Disk , Hard Disk ,CD Rom Drive), การ์ดแสดงผลจอภาพ (Graphic Card) และ การ์ดเสียง (Sound Card) ส่วนประกอบภายนอกเครื่องได้แก่ เมาส์ (Mouse) แป้นพิมพ์ (Keyboard) ลำโพง (Speaker) จอภาพ(Monitor), อุปกรณ์สำรองไฟฟ้า (UPS, Uninterruptable Power Supply)
อัพเดตความรู้ ข้อมูล ข่าวสารด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กับเว็บบล็อก http://computertru.blogspot.com
Music Hit In your life
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กสทช
(1)
เกมส์คอมพิวเตอร์
(6)
ข่าวสั้นไอที
(3)
ข่าวไอที
(27)
คุณธรรมสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
(4)
ทิปคอมพิวเตอร์
(13)
เนื้อหา รูปภาพ หรือสื่ออื่นที่ปรากฎเป็นของเจ้าของบทความนั้นๆ
(15)
แนะนำเว็บไซต์
(2)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(1)
ระบบเติมเงิน
(1)
ระบบปฏิบัติการ Operating System
(8)
ละเมิด
(1)
Computer IT Technology
(17)
Computer Virus
(7)
Hardware Computer
(32)
Information technology IT
(58)
Network ระบบเครือข่าย
(57)
Software Internet
(28)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น