Music Hit In your life

วันจันทร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

สรุปการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
(โทษจำคุก หรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับ)


1. ผู้ใดเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ (Username และ Password)และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
2. ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้นเป็นการเฉพาะ และนำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น
3. ผู้ใดเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน
4. กระทำวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งไม่ใช่ข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์
5. ทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน
6. ทำให้การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นถูกระงับ ชะลอ ขัดขวาง หรือรบกวนจนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ
7. ส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นโดยปกปิด หรือปลอมแปลงแหล่งที่มาของการส่งข้อมูลดังกล่าว อันเป็นการรบกวนการใช้ระบบคอมพิวเตอร์ของบุคคลอื่นโดยปกติสุข
8. นำเข้า เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือเป็นเท็จ สู่ระบบคอมพิวเตอร์โดยน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ความมั่นคง แห่งราชอาณาจักร หรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
9. นำเข้า เผยแพร่หรือส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ ที่มีลักษณะอันลามก สู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
10. นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย

.
.
.

สรุปโดย: กลุ่มติดตามและประเมินผล (วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2551)
ที่มาจาก: กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เมนูกฎหมายไอซีที

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น