Music Hit In your life

วันพฤหัสบดีที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2552

เมนบอร์ด (Mainboard) ภาค1

เมนบอร์ด (Mainboard) หรือบางคนเรียกว่า มาร์เธอร์บอร์ด (Motherboard ) พูดง่ายๆ ก็คือ เป็นแผงวงจรขนาดใหญ่ ซึ่งมีการเชื่อมต่อวงจรต่างๆ สำหรับอุปกรณ์หลายๆ ตัวเข้าด้วยกัน
แผงวงจรหลักหรือที่รู้จักกันในชื่อของเมนบอร์ด (Main Board, Mother Board) หรือบางคนอาจเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษว่ามาเธอร์บอร์ดก็ตามแต่สะดวก ไม่มีข้อห้าม แต่ทั้งหมดนั้นหมายถึงอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน ชิ้นไหนล่ะ ก็ชิ้นที่เป็นแผงรวมวงจรอิเลคทรอนิคส์อยู่ในตัวเคสของคอมพิวเตอร์นั่นอย่างไรครับ ถ้าในเครื่องคอมพิวเตอร์มีแผงวงจรอะไรต่อมิอะไรจิปาถะ สามสี่แผง แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าแผงไหนคือ เมนบอร์ด คำตอบก็คือให้ดูที่แผงที่ใหญ่ที่สุด เพราะในคอมพิวเตอร์ แผงวงจรอื่นๆจะใหญ่กว่าเมนบอร์ดเป็นไม่มี คราวนี้ก็ลองเปิดฝาครอบเคสมาออกดูสิครับ มองลงไปจะเห็นแผงวงจรมองใหญ่ๆ แผงหนึ่ง ติดตั้งติดกับระโยงระยาง แล้วก็บอร์ดเล็กบอร์ดน้อยติดตั้งไว้ นั่นแหละครับ เมนบอร์ด
เมนบอร์ดทำหน้าที่อะไร
แผงวงจรหลักก็เหมือนกับพื้นที่ชุมชน + เส้นทางการคมนาคม + ศูนย์ควบคุมการจราจร โดยมีกฎหมายว่าด้วยการประมวลผลของคอมพิวเตอร์เป็นตัวบทกฎหมายหลัก และถูกสร้างขึ้นด้วยทฤษฎีการทำงานของคอมพิวเตอร์ ในตอนต่อไปของบทความ จะแนะนำส่วนประกอบแต่ละส่วนของเมนบอร์ด ว่าประกอบด้วยส่วนประกอบใดบ้าง

***อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตเพิ่มเคิมคือ เมนบอร์ดถึงแม้จะทำงานเหมือนกัน หลักการทำงานเดียวกัน แต่หน้าตาและส่วนประกอบของเมนบอร์ดนั้นอาจจะมีหลากหลาย แตกต่างไปตามแต่ผู้ผลิตแต่ละแต่ราย และแตกต่างไปตามเทคโนโลยี ถ้าไปดูเมนบอร์ดปี 1985 ก็อาจจะมีความแตกต่างจากที่นำเสนอในบทความนี้อย่างมาก เพราะเทคโนโลยีของคอมพิวเตอร์เปลี่ยนแปลงไป หรือถ้าไปดูเมนบอร์ดระหว่างปี 1995 - 1999 (ขออนุญาตไม่ได้เอาปี พ.ศ เพราะบวกลบไม่ถนัด เวลาดูปีผลิตเมนบอร์ด นึกเป็น ค.ศ ทุกที) ก็จะเห็นรูปร่าง ลักษณะและส่วนประกอบเหมือนกับในบทความ แต่ก็ไม่ทั้งหมด เพราะเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างเมนบอร์ดแบบ ATX , Micro ATX ทำให้ตำแหน่งการติดตั้งอุปกรณ์ การวางส่วนประกอบของเมนบอร์ด แตกต่างกันออกไป

ซ๊อคเก็ต (Socket) สำหรับซีพียู
เมื่อดูที่เมนบอร์ดสิ่งแรกที่จะพูดถึงก็คือ ซ็อคเก็ต (Socket) สำหรับใส่ซีพียู ซึ่งในเมนบอร์ด 486 และเพนเทียมเรียกว่า ZIF Socket ย่อมาจาก Zero Insert Force เวลาจะใส่ซีพียูลงบนซ๊อคเก็ตดังกล่าวก็เพียงแต่วางไปยังตำแหน่งของซ๊อคเก็ต ให้ขาของซีพียูตรงกับรูซ็อคเก็ตเท่านั้น เรียกว่าแทบไม่ต้องออกแรงเลยทีเดียว เอาละ นี่คือหัวใจที่ถูกติดตั้งลงไปแล้ว ปกติเมนบอร์ดสำหรับพีซีทั่วไปจะมีซ๊อคเก็ตสำหรับซีพียูเพียงตัวเดียว เว้นเสียแต่มีบางเมนบอร์ดที่ใส่ได้มากกว่า 1 ตัว เช่น 2 ตัว และ เมนบอร์ดสำหรับเซิร์ฟเวอร์ บางรุ่นใช้ได้ถึง 4 ตัว ตัวของ Socket เองยังแบ่งออกเป็นหลายรุ่น เช่น Socket 3 Socket 5 Socket 7 โดยดูตามขนาดของขา (PIN) และใช้กับซีพียูต่างชนิดกัน และเมื่อมาถึงสมัยของซีพียูเพนเทียม II, Celeron อินเทลก็ออกแบบที่ใส่ซีพียูใหม่ โดยให้ชื่อว่า Slot 1 ซึ่งมีลักษณะเป็นช่องแนวยาวเหมือนช่องเสียบการ์ด PCI ตัว Slot 1 นั้นเวลาติดตั้งซีพียูต้องใช้กลไกช่วยยึดซีพียูด้วย ข้อดีของ Slot 1 คือ ไม่ต้องกังวลเรื่องการหักงอของขาซีพียู และการติดตั้งง่ายกว่า แต่ได้จดลิขสิทธิ์สำหรับ Slot 1 จึงทำให้มีเฉพาะซีพียูเท่านั้นที่สามารถใช้ Slot 1ได้
สำหรับซ๊อคเก็ตสำหรับซีพียูนั้น ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเช่นกัน ในระยะแรกของพีซีนั้น มักจะติดยึดซีพียูแน่นกับเมนบอร์ดเลย การถอดเปลี่ยนเพื่ออัพเกรดทำได้ก็เฉพาะช่างเทคนิคที่เชี่ยวชาญเท่านั้น หรือต้องการเครื่องมือเฉพาะเท่านั้น ในระยะต่อมา จึงได้รับการพัฒนาให้ยึดหยุ่นต่อการอัพเกรด อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่ติดตามมาอีกก็คือ หลังจาก Zip Socket พัฒนาถึง Socket 7 อินเทลได้เปลี่ยนแนวทางพัฒนาซีพียูออกไป ทำให้ซ๊อคเก็ตสำหรับซีพียูหลากหลายขึ้น แต่รูปแบบไม่เหมือนกัน โอกาสที่ผู้ซื้อจะเปลี่ยนหรืออัพเกรดไปใช้ซีพียูต่างตระกูล ต่างผู้ผลิตก็ลดน้อยลง

สล๊อตขยาย (Expansion Slot)
สืบเนื่องมาจากความต้องการของอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์ในยุค 486 และเพนเทียมต้นๆ มาตรฐานของคอมพิวเตอร์คือ เมนบอร์ด ซีพียู การ์ด I/O ฮาร์ดดิสก์ ไดรฟ์ฟล๊อปปี้ การ์ดแสดงผล ทำให้ผู้ผลิตเล็งเห็นว่าเพื่อลดต้นทุนการผลิต จึงออกแบบเมนบอร์ดที่มีสล๊อตขยาย เพื่อให้ผู้ใช้งานมีโอกาสที่จะเลือกอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์ของตนเองประการหนึ่ง และอีกประการหนึ่งคือ เพื่อเป็นการลดต้นทุนของคอมพิวเตอร์ทั้งชุดลงไป สล๊อตขยายจึงได้ถูกออกแบบเพื่อรองรับวัตถุประสงค์ดังกล่าว หน้าตาของ Slot ขยายจะมีลักษณะเป็นช่องสำหรับติดตั้งอุปกรณ์ ซึ่งเรียกว่า Add on Card หรือการ์ด หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Daughter Board หรือบอร์ดลูกนั่นเอง

ปัจจุบันสล๊อตขยายทางคอมพิวเตอร์ มีทั้งที่สนับสนุนมาตรฐานแบบ ISA และ PCI สังเกตว่า สล๊อตสำหรับ ISA จะมีสีดำและขนาดใหญ่กว่า PCI สล๊อตแบบ PCI จะมีสีขาวและมีขนาดเล็กกว่า

ส่วนประกอบของเมนบอร์ด
1. ชุดชิพเซ็ต
ชุดชิพเซ็ตเป็นเสมือนหัวใจของเมนบอร์ดอีกที่หนึ่งเนื่องจากอุปกรณ์ตัวนี้จะมีหน้าที่หลักเป็นเหมือนทั้ง อุปกรณ์
แปลภาษา ให้อุปกรณ์ต่างๆ ที่อยู่บนเมนบอร์ดสามารถทำงานร่วมกันได้ และทำหน้าที่ควบคุม อุปกรณ์ต่างๆ ให้ทำงานได้ตามต้องการ
2. หน่วยความจำรอมไบออส และแบตเตอรรี่แบ็คอัพ
ไบออส BIOS หรืออาจเรียกว่าซีมอส (CMOS) เป็นชิพหน่วยความจำชนิด
หนึ่งที่ใช้สำหรับเก็บข้อมูล และโปรแกรมขนาดเล็กที่จำเป็นต่อการบูตของระบบคอมพิวเตอร์
3. หน่วยความจำแคชระดับสอง
หน่วยความจำแคชระดับสองนั้นเป็นอุปกรณ์ ตัวหนึ่งที่ทำหน้าเป็นเสมือนหน่วยความจำ บัฟเฟอร์ให้กับซีพียู
โดยใช้หลักการที่ว่า การทำงานร่วมกับอุปกร์ที่ความเร็วสูงกว่า จะทำให้เสียเวลาไปกับการรอคอยให้อุปกรณ์
ที่มีความเร็วต่ำ ทำงานจนเสร็จสิ้นลง เพราะซีพียูมีความเร็วในการทำงานสูงมาก การที่ซีพียูต้องการข้อมูล
ซักชุดหนึ่งเพื่อนำไปประมวลผลถ้าไม่มีหน่วยความจำแคช
4.สล็อต
ขีดความสามารถของเมนบอร์ดขึ้นอยู่กับการมีสล็อต และลักษณะชนิดของสล็อต เพราะหากมีสล็อตหลายสล็อตก็หมายถึงการขยายหรือ
เพิ่มอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อื่นได้ แต่หากมีจำนวนสล็อตมาก ก็หมายถึงราคาของเมนบอร์ดก็สูงขึ้น ชนิดของสล็อตที่มีกับเมนบอร์ดประกอบด้วย
4.1.PCI เป็นสล็อตที่มีไว้สำหรับเพิ่มฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ เช่น เพิ่มการ์ดเชื่อมต่อแลน การ์ดวิดีโอ การ์ดเสียง จำนวนสล็อต PCI มี แตกต่างกัน โดยทั่วไปจะมีให้ตั้งแต่ 2 ถึง 6 สล็อต
4.2.DIMM เป็นช่องใส่หน่วยความจำ ซึ่งปกติใช้ได้กับ DDRAM แต่ในบางเมนบอร์ดจะมีสล็อตที่เป็น SDRAM โดยเฉพาะนั่น หมายถึง นำ DDRAM มาใช้ไม่ได้ แต่ถ้าเป็น DIMM สล็อตจะใช้ได้ทั้ง SDRAM และ DDRAM โดยปกติจะมีช่องใส่หน่วยความจำ แบบนี้อยู่ 2 ถึง 4 ช่อง เพราะหน่วยความจำที่ใช้มีความจุต่อการ์ดสูงขึ้น จึงไม่จำเป็นต้องใช้ช่องมากเหมือนเมื่อก่อน
4.3.AGP ย่อมาจาก Accerelator Graphic Port เป็นสล็อตสำหรับใส่การ์ดจอภาพแสดงผล ซึ่งเน้นในเรื่องความเร็วของการแสดงผลกราฟิกส์ ปัจจุบันมีผู้ผลิตการ์ดแสดงผลที่ต้องการแสดงผลได้เร็ว โดยเฉพาะพวกเกม 3D เทคโนโลยี AGP จึงต้องทำให้การถ่ายโอนข้อมูลแสดงผลเป็นไปอย่างรวดเร็ว ปัจจุบันเป็นเทคโนโลยีที่ทำให้ความเร็วสูงขึ้น โดยวัดความเร็วเป็นจำนวนเท่าของมาตรฐานปกติ เช่น 4x คือ สี่เท่า
4.4.Ultra DMA/100 DMA ย่อมาจาก Direct Memory Access เป็นช่องทางของการถ่ายโอนหน่วยความจำกับอุปกรณ์อินพุตเอาท์พุตที่มีการโอนย้ายข้อมูลเป็นบล็อก และต้องการความรวดเร็ว พอร์ตที่ใช้ DMA แบบนี้คือ ฮาร์ดดิสค์ ฟลอปปี้ดิสค์ ซีดีและดีวีดี เป็นต้น ช่องทางนี้
จึงเป็นช่องทางเชื่อมกับฮาร์ดดิสค์หรือซีดีรอม ถ้ามี Ultra DMA สองช่องก็หมายถึงมีสายเชื่อมไปยังฮาร์ดดิสค์ที่จะต่อเข้า เมนบอร์ดได้สอง
เส้น แต่ละเส้นต่อได้สองไดร์ฟ นั่นหมายถึงใส่ฮาร์ดดิสค์ได้สี่ไดร์ฟ
5.พอร์ตมาตรฐานต่างๆ
บนเมนบอร์ดจะมีการสร้างพอร์ตมาตรฐานต่าง ๆ เช่น USB พอร์ต ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 1 พอร์ต อาจจะเป็น 2 ถึง 4 พอร์ต พอร์ตขนานต่อเครื่องพิมพ์ พอร์ตอนุกรม (ปกติมีให้ 1-2 พอร์ต) พอร์ต PS/2 เมาส์ พอร์ต PS/2 คีย์บอร์ด พอร์ตมาตรฐานเหล่านี้กำลัง
เพิ่มพอร์ตพิเศษบางชนิดเข้าไปด้วย เช่น พอร์ต Fly wire พอร์ตเชื่อมต่อวิดีโอ ความเร็วสูง IEEE1394 พอร์ต SVideo
ขีดความสามารถเพิ่มเติมพิเศษ
พลังงาน เป็นการพัฒนาร่วมระหว่างไบออสกับฮาร์ดแวร์ให้มีโหมดพิเศษในการจัดการพลังงาน การปิดเปิด ตลอดจนการ Shutdown การเปิดเองตามการปลุกด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น Wake up on lan คือใช้แลนสั่งงานมาจากที่อื่นให้เครื่องเริ่มทำงานให้
การเพิ่มวงจรพิเศษ เพื่อให้ลดค่าใช้จ่ายภาพรวมจึงมีการสร้างวงจรพิเศษที่จำเป็นบางวงจรไว้บนเมนบอร์ดด้วย เช่น วงจรการ์ดเสียง วงจรการ์ดแลน การ์ดโมเด็ม หรืออุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ ที่เคยมีเป็นการ์ดแยกต่างหาก
ชนิดของเมนบอร์ด
1. แบ่งตาม Form Factor
2. แบ่งตามการ Interface
ฟอร์มแฟกเตอร์ (Form Factor) ซึ่งเป็น คำที่ใช้กำหนด ลักษณะทางกายภาพของเมนบอร์ดต่างๆ จากหลายๆ ยี่ห้อ ที่ทำออกมาจำหน่ายกันในท้องตลาด ณ วันนี้ ฟอร์มแฟคเตอร์ นั้นจะมีรูปแบบที่ถูกกำหนดไว้เป็นมาตรฐานเดียวกัน เช่นในการวางหรือจัดตำแหน่งของช่องเสียบ (Port) ต่าง ๆ ขนาดความกว้าง ยาวของตัวเมนบอร์ดที่มีความแตกต่าง กันไปตามฟอร์มแฟกเตอร์นั้น ๆ
ในปัจจุบันฟอร์มแฟคเตอร์ที่เป็นแบบ ATไม่ผลิตแล้ว มีในตลาดมากเป็นแบบ ATX แบบ ATX จะมีการออกแบบ ที่แก้ไข ปัญหาหรือข้อด้อยในแบบ AT หลายจุด โดยเฉพาะในเรื่องของการวาง อุปกรณ์ที่เกิดความร้อนสูงในขณะ ทำงาน เช่นซีพียู (CPU) ก็จะมีตำแหน่งอยู่ใกล้กับกล่อง Power Supply เพื่อที่จะได้ระบายความร้อนออกนอกตัว เครื่องได้อย่างดีขึ้น อีกเรื่องหนึ่งที่เห็นมีการเปลี่ยนแปลงก็คือการใช้ Power Connector หรือขั้วไฟที่เป็นการออก แบบเป็นชุดเดียว และบังคับ ทางเสียบทำให้การติดตั้งลง บนเมนบอร์ดไม่มีความเสียหายอย่าง แน่นอนในเรื่องของการ สลับขั้วไฟ และอื่น ๆ อีกหลายประการด้วยกัน

นอกจากนี้ยังสามารถแบ่งชนิดของเมนบอร์ดตามลักษณะการอินเทอร์เฟซของซีพียูได้ดังนี้
• Socket 370 ปัจจุบันมีซีพียูที่เป็นแบบ ซ็อกเก็ต 370 อย่างอินเทลเพนเทียม ทรี เซลเลอรอนคอร์ Tualatin และซีพีย ูจากทาง VIA อย่าง VIA Cyrix บางรุ่นเท่านั้นที่รองรับ
• Socket A หรือ Socket 462 เป็นซีพียูในตระกูล เอเอ็มดี ในรุ่น Athlon,Athlon XP และ Duron
• Socket 423 เป็นซีพียูเพนเทียม โฟร์ ที่ออกมาในรุ่นแรก ๆ ซึ่งยังใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.18 ไมครอน โดยมีชื่อ รหัสว่า Northwood มีจำนวนของหน่วยความจำแคชระดับ 2 จำนวน 512 กิโลไบต์
• Socket 478 สำหรับซีพียูรุ่นนี้ ถ้าความเร็วไปตรงกับซีพียูแพนเทียมโฟร์ที่เป็นแบบ Socket 478 ก็จะมีรหัสต่อท้าย ด้วยตัว A เช่น 1.8A ,2.0A

ชิฟเซ็ท [ Chip Set ]
ชิปเซ็ตจะถือว่าเป็นส่วนสำคัญของเมนบอร์ดอีกตัวหนึ่งเลยก็ว่าได้ชิปเซ็ตจะเป็นตัว คอยเชื่อม ความสัมพันธ์ระหว่างอุปกรณ์กับด้านความเร็วสูงกับด้านความเร็วที่รองลงไป ให้ติดต่อสื่อสารกันอย่างสัมพันธ์ กันเพราะความ สามารถต่าง ๆ ที่เมนบอร์ดมีนั้นส่วนใหญ่ชิปเซ็ตจะเป็นตัวกำหนดจัดการไม่ว่าจะเป็น เรื่องของการกำหนดความถี่ ให้แก่ระบบบัสทั้งระบบ หรือจะเป็นการจำกัดสิทธิในการให้ใช้ CPU ได้ของยี่ห้อใดบ้างหรือให้รองรับหน่วย ความจำประเภทใด , กำหนดให้เมนบอร์ดนั้นต้องมี Slot แบบใดบ้าง และอีกหลาย ๆคุณสมบัติด้วยกันที่มีอยู่ใน ตัวของชิปเซ็ต
โครงสร้างของชิปเซ็ตพอจะแยกเป็นได้ 2 โครงสร้างใหญ่ ๆ คือ
1. North Bridge และ South Bridge
2. Accelerated Hub Architecture
3. North Bridge และ South Bridge
ชิปเซ็ตประเภทนี้ มีหลักการทำงานที่พอจะอธิบายได้อย่างคร่าว ๆ ดังนี้ ก็คือ ตัวชิปเซ็ตที่เป็นแบบ North Bridge และ South Bridge จะมีอยู่ 2 ตัวด้วยกัน ตัวแรกจะทำหน้าที่เป็น North Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ที่มีความเร็วสูงทั้งหมดในเมนบอร์ด ซึ่งได้แก่ ซีพียู หน่วยความจำ(แรม) และการฟิกการ์ด
ตัวที่สองจะทำหน้าที่เป็น South Bridge จะทำหน้าที่ติดต่อกับอุปกรณ์ต่อพ่วงจำพวกฮาร์ดดิสก์ ซีดีรอมไดรฟ์และ South Bridge จะมีระบบบัสแบบ PCI ขนาด 32 บิต ความเร็ว 33 MHz เป็นตัวเชื่อมต่อการทำงาน ซึ่งหมายความว่าชิปเซ็ต North Bridge และ South Bridge นั้นสามารถถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันได้ที่ความเร็วสูงสุดถึง 132 MB./Sec

โครงสร้างการทำงานของชิปเซ็ต
North Bridge , South Bridge
โครงสร้างของชิปเซ็ตแบบ Accelerated Hub Architectureนี้จะมีโครงสร้างที่ คล้ายกับ แบบ North Bridge , South Bridge แต่จะมี Firmware Hub ที่เป็นส่วน ที่ใช้เป็นระบบรักษาความปลอดภัย(Security) ให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์เพิ่มเข้ามาด้วย ชิปเซ็ตที่มีโครงสร้างแบบนี้จะมีระบบบัสแบบ PCI ที่เชื่อมต่อระหว่าง Graphics กับ I/O Controller นั้น ที่มีความกว้างของบัส 32 บิต ความเร็ว 66 MHz ทำให้มีความสามารถในการถ่ายโอนข้อมูลระหว่างกันถึง 264 MB./Sec ซึ่งถือว่าเร็วกว่าแบบ North Bridge , South Bridge เป็นเท่าตัวเลยทีเดียว

ส่วนประกอบสำคัญบนเมนบอร์ด
ระบบบัส (Bus System)
องค์ประกอบที่สำคัญสำหรับเมนบอร์ดนั้น ก็คือการเชื่อมโยงของสายไฟ ๆ ไปยังอุปกรณ์ที่อยู่บนM/B มากมาย หาก สังเกตลายทองแดงบนปริ้นของเมนบอร์ดแล้ว ก็จะเป็นในส่วนของทางเดินของสัญญาณแทบทั้งสิ้นเสมือนเป็นถนน สำหรับ ลำเลียงสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะแล้วกับข้อมูลที่เป็นส่วนสำคัญที่สุด ช่องทางเดินของสัญญาณ ต่าง ๆ เหล่านี้ รวม เรียกว่า “ระบบบัส” ระบบบัสที่เหมาะสมจะต้องเร็วพอที่จะยอมให้อุปกรณ์อื่น ๆ รับและส่งข้อมูลผ่านได้ด้วยความเร็ว เต็มความสามารถ ของอุปกรณ์นั้น เพื่อจะได้ไม่เป็นตัวคอยถ่วงให้การทำงานของอุปกรณ์อื่นช้าตามลงไป เพราะอุปกรณ์ที่ช้ากว่า
ช่องเสียบขยาย (Expansion Slot)
โครงสร้างของระบบบัสในเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้น ได้ถูกพัฒนาทางเทคโนโลยีและจากมาตรฐานดั้งเดิมที่ มีใช้ กันมา ในเครื่องยุคแรก ๆ ได้สร้างช่องเสียบขึ้นเพื่อนำอุปกรณ์ต่าง ๆ ลงไปเพิ่ม ช่องเสียบเหล่านี้จะถูกเรียกว่า Expansion Slot
ชนิดต่าง ๆ ของ Expansion Slots
1. XT Bus (Extended Technology) มีขนาดความกว้างของบัสข้อมูลขนาด 8 บิต มีใช้ในเครื่องรุ่นแรก ๆ ได้แก่ 8086,8088
2. AT Bus (Advanced Technology) หรืออาจเรียกกันว่า ISA Bus ก็ได้ครับ มีขนาดความกว้างของ บัสข้อ มูลขนาด 16 บิต ความเร็ว 8 MHz มีใช้ในเครื่องคอมฯ รุ่นต่อ ๆ มา ได้แก่เครื่องรุ่น 80286 ขึ้นไปจนถึงในปัจจุบัน ก็ยังคงมี ให้เห็นกันอยู่ทั่วไปในเมนบอร์ดใหม่ ๆ
3. VL Bus (VESA Local Bus) มีขนาดความกว้างของบัสข้อมูลขนาด 32 บิต มีใช้ในคอมฯ รุ่น 80386 , 80486 แล้วจบที่ยุคของ 80486 นั้นเอง
4. PCI Bus (Peripheral Component Interconnect) มีขนาดความกว้างของบัสข้อมูล 32 บิต ความ เร็ว 33 MHz และมาตรฐานความเร็วของ PCI Bus จะอยู่ที่ครึ่งหนึ่งของความเร็วของ บัสภายนอกของ CPU เช่น บัสที่ จ่ายให้แก่ CPU 66 MHz PCI Bus จะเท่ากับ 66/2 = 33 MHz หากบัสของ CPU ของเป็น 100 และ 133 MHz ความเร็ว PCI จะมีค่าเท่ากับ 100/3 และ 133/4 ตามลำดับ
ยังมีช่องเสียบอีกหลายชนิดที่ไม่ได้พูดถึงเนื่องจากช่องเสียบเหล่านั้นได้ทำมา โดยเฉพาะสำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆ โดย เฉพาะ จึงไม่เรียกว่าเป็นช่องเสียบแบบ Expansion Slot ได้แก่ AGP (Accelerated Graphic Port ) เป็น สล็อดที่ได้ออกแบบมาสำหรับใช้กับการ์ดแสดงผล ที่มีการส่งผ่านข้อมูลจำนวน มากที่สุดด้วยความเร็วที่สูง ที่สุด แต่ใน เมนบอร์ดจะมีเพียง 1 สล็อตเท่านั้น AGP มีขนาดความกว้าง 32 บิต ความเร็วเริ่มที่ 66 MHz และมีพัฒนา ความเร็วไปที่133 และ 266 MHz ตามลำดับ


ช่องสำหรับติดตั้งหน่วยความจำแบบแรม
เป็นส่วนที่ให้นำหน่วยความจำประเภทแรมมาติดตั้งลงบนตำแหน่งที่ระบุนี้ มีประเภทต่างๆ ต่อไปนี้
แรมแบบ SIMM ซึ่งมีใช้กัน 2 แบบคือ แบบ 30 ขา (8 บิต)และ72 ขา (32 บิต)
แรมแบบ DIMM ซึ่งได้แก่ SDRAM 168 ขา (64 บิต)
DDR SDRAM
RAMBUS
ช่องเสียบแหล่งจ่ายไฟ
เป็นส่วนที่ไว้รอรับการเชื่อมต่อจาก Power Connector มีอยู่ 2 แบบหลัก คือ แบบ AT 12 Pin (P8,P9) กับ แบบที่เป็น ATX 20 Pin โดยที่แบบ AT นั้นเวลาจะเชื่อมต่อ Power Connector เข้ายังช่องเสียบนี้จะต้องเรียงชิด สายไฟ ของขั้วในด้านที่เป็นสีดำให้ชิดกันแล้วคุณจะสามารถนำ ไปเสียบ ยังช่องเสียบได้เพียง ทางเดียว(หากเสียบสลับข้าง ) อาจทำให้ เมนบอร์ดเสียหายอย่างถาวรได้ นะครับ ส่วนในแบบ ATX นั้นจะถูกบังคับด้วยหัว คอนเน็กเตอร์อยู่แล้ว ยากต่อการเสียบผิดขั้ว
แบตเตอรี่ (Backup Battery)
เป็นส่วนที่คอยรักษาข้อมูลของหน่วยจำความประเภท RAM ที่ได้แก่ CMOS RAM ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้เก็บข้อมูลจาก การตั้งค่าใน BIOS หากถ่านหรือแบตเตอรี่เสื่อมหรือกระแสไฟฟ้าหมด ก็จะทำให้เกิดความผิดพลาด ในการจดจำข้อมูลที่เก็บ ไว้ได้ ทำไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างราบรื่น ดังนั้นจึงต้องทำการเปลี่ยนถ่านหรือแบตเตอรี่ใหม่ หลังจากเปลี่ยนแล้ว จะต้องเข้าไปตั้งค่าต่าง ๆ ใน BIOS เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพต่อไป
ประเภทของแบตเตอรี่ที่เห็น ๆ ในท้องตลาดจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. แบบนิเกิล – แคดเมี่ยม (Ni-Cad) มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 3.6 โวลท์
2. แบบลิเทียม มีแรงเคลื่อนไฟฟ้า 3 โวลท์
เมนบอร์ดในปัจจุบันจะใช้แบตเตอรี่แบบลิเทียมกันหมดแล้ว เพราะจะไม่ทำให้ลายวงจรของคุณเสียหายจากน้ำยาที่รั่ว ไหลออก มาหลังจากที่มันเสื่อมสภาพเหมือนกับแบบนิเกิล – แคดเมียม


พอร์ตประเภทต่าง ๆ (Port)
พอร์ตจะเป็นช่องทางเชื่อมต่อของอุปกรณ์ส่วนการนำเข้า (Input) และส่วนการแสดงผล (Output) ที่มาทำการเชื่อมต่อ (Interface) ใช้งานร่วมกับเครื่องคอมพิวเตอร์ พอจะแยกออกได้เป็นดังนี้
ช่องเสียบ(Port) บนเมนบอร์ดแบบ ATX
1. Serial Port หรือ พอร์ตแบบอนุกรม มีชื่อเรียกกันหลายอย่างด้วยกันเช่น เช่น COM 1 , COM 2 , พอร์ต สื่อสาร หรือ พอร์ตของเม้าส์ เป็นต้น มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลขนาด 8 บิตได้ครั้งละ 1 บิตใน สาย 1 เส้น จนครบที่ปลายทาง 8 บิต ใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่น เม้าส์ (Mouse) , โมเด็ม (Modem) ฯลฯ
2. Parallel Port หรือ พอร์ตแบบขนาน มีชื่อเรียกกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น LTP Port, Printer Port เป็นต้น มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลขนาด 8 บิตได้ครั้งละ 8 บิตในสาย 8 เส้น ดังนั้นพอร์ตประเภทนี้จึง ถือ เป็นพอร์ตที่มีความเร็วสูง นิยมใช้กับ Printer , Scanner และอื่น ๆ
3. USB (Universal Serial Bus) เป็นพอร์ตหรือช่องเสียบที่เข้ามามีบทบาทต่ออุปกรณ์ในปัจจุบันเป็นอย่ามาก มีความเร็วสูงกว่า 2 พอร์ตแรก ที่ได้ กล่าวข้างต้น อีกทั้งยังมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการ เสียบ/ถอดอุปกรณ์ในขณะที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ยังเปิดทำงานอยู่ ก็จะไม่เกิดความเสียหาย มาตรฐาน USB นั้นสนับสนุนระบบ Plug & Play ที่ทำ ให้การติดตั้งอุปกรณ์ของผู้ใช้กลายเป็นเรื่องง่าย อุปกรณ์ที่ใช้กับ USB Port นั้นมีมากมายหลายชนิดด้วยกัน เช่น Mouse , Keyboard , Printer , Scanner , Modem , Camera Digital และอื่น ๆ แทบจะเรียกได้ว่า อุปกรณ์ที่ทำการ Interface กับคอมพิวเตอร์ ณ วันนี้แทบจะเป็น USB กันเกือบจะหมดแล้ว

BIOS (Basic Input Output System)
BIOS เป็นโปรแกรมเล็ก ๆที่ถูกจัดเก็บไว้ในหน่วยความจำประเภท ROM มีหน้าที่ในการตรวจสอบความพร้อมของ อุปกรณ์ต่าง ๆ หลังจากที่ เราเปิดเครื่อง คอมพิวเตอร์ขึ้นมาเพื่อทำงาน ขบวนการหลังจากเปิดเครื่องนั้นจะถูกเรียกว่า POST (Power On Self Test) ซึ่งเป็นกระบวนการในการทดสอบตัวเองของคอมพิวเตอร์ โดยมี BIOS โปรแกรมนี้เป็นตัวช่วยจัด การ หากวันใดที่ BIOS มีความเสียหายเกิดขึ้น ก็ไม่สามารถที่ใช้ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อีก ยกเว้นว่าเราจะดำเนินการนำ BIOS นั้นไปโปรแกรมใหม่

ROM BIOS
สัญญาณนาฬิกาของระบบ (Real Time Clock)
เป็นส่วนที่คอยกำหนดจังหวะถี่ในการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ความถี่ต่าง ๆ บนเมนบอร์ดจะได้มาจากผลึกควอซท์ที่ เรียกว่าแร่คลิสตัล ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดความถี่ ความถี่ที่ใช้ป้อนให้แก่ซีพียูแต่ละรุ่น ก็ได้มาจากส่วนนี้นั่นเอง

ขั้วต่ออุปกรณ์ประเภทตัวขับ (Drive)
ขั้วต่ออุปกรณ์ประเภทตัวขับ หรืออาจเรียกว่า Controller เป็นส่วนที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ประเภท ตัวขับ หรือ Drive ต่าง ๆ ที่สำคัญได้แก่ Hard Disk Drive , CD-ROM Drive และ Floppy Disk Drive ที่จะต้อง พึ่งพาขั้วต่อเหล่านี้… ในอดีตนั้นชุดควบคุมอุปกรณ์ประเภทตัวขับจะอยู่ภายนอกแยกเป็นอิสระ ที่เรียกกันว่า Controller Card หรือ Multi I/O หมายถึงว่าสามารถควบคุมและก็เป็น ตัวค่อยเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ส่วนการนำเข้าและส่วนการ แสดงผลได้ใน การด์ตัวเดียวกันนั่นเอง แต่ในปัจจุบันจะถูกติดตั้งไว้บนเมนบอร์ดอย่างสมบูรณ์แล้ว
ช่องเสียบ(Port) บนเมนบอร์ดแบบ ATX
1. Serial Port หรือ พอร์ตแบบอนุกรม มีชื่อเรียกกันหลายอย่างด้วยกันเช่น เช่น COM 1 , COM 2 , พอร์ต สื่อสาร หรือ พอร์ตของเม้าส์ เป็นต้น มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลขนาด 8 บิตได้ครั้งละ 1 บิตใน สาย 1 เส้น จนครบที่ปลายทาง 8 บิต ใช้กับอุปกรณ์ที่ไม่ต้องการความเร็วสูงมากนัก เช่น เม้าส์ (Mouse) , โมเด็ม (Modem) ฯลฯ
2. Parallel Port หรือ พอร์ตแบบขนาน มีชื่อเรียกกันหลายอย่างด้วยกัน เช่น LTP Port, Printer Port เป็นต้น มีความสามารถในการขนถ่ายข้อมูลขนาด 8 บิตได้ครั้งละ 8 บิตในสาย 8 เส้น ดังนั้นพอร์ตประเภทนี้จึง ถือ เป็นพอร์ตที่มีความเร็วสูง นิยมใช้กับ Printer , Scanner และอื่น ๆ
3. USB (Universal Serial Bus) เป็นพอร์ตหรือช่องเสียบที่เข้ามามีบทบาทต่ออุปกรณ์ในปัจจุบันเป็นอย่ามาก มีความเร็วสูงกว่า 2 พอร์ตแรก ที่ได้ กล่าวข้างต้น อีกทั้งยังมีความปลอดภัยต่อการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นการ เสียบ/ถอดอุปกรณ์ในขณะที่เครื่อง คอมพิวเตอร์ยังเปิดทำงานอยู่ ก็จะไม่เกิดความเสียหาย มาตรฐาน USB นั้นสนับสนุนระบบ Plug & Play ที่ทำ ให้การติดตั้งอุปกรณ์ของผู้ใช้กลายเป็นเรื่องง่าย อุปกรณ์ที่ใช้กับ USB Port นั้นมีมากมายหลายชนิดด้วยกัน เช่น Mouse , Keyboard , Printer , Scanner , Modem , Camera Digital และอื่น ๆ แทบจะเรียกได้ว่า อุปกรณ์ที่ทำการ Interface กับคอมพิวเตอร์ ณ วันนี้แทบจะเป็น USB กันเกือบจะหมดแล้ว
ขั้วต่อปุ่มสวิทซ์และไฟหน้าเครื่อง
เป็นส่วนที่ใช้สั่งการทำงานภายนอกตัวเครื่องคอมฯรวมถึงเป็นการแสดงสีสันหน้าตาที่โดดเด่นของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนหนึ่งก็ว่าได้ เพราะในชุดขั้วต่อหรือปุ่มสวิทซ์หน้าปัดเครื่องนั้นจะมี Power LED ซึ่งเป็นชุดไฟแสดงสถานะการทำงาน ของ Power Supply Turbo LED เป็นส่วนที่แสดงสถานะว่าขณะนี้ได้ใช้ความเร็วสูงที่สุดของเครื่อง HDD. LED เป็นไฟสถานะบอกว่า HDD กำลังอ่าน/เขียนข้อมูลอยู่ ซึ่งกรณีของ HDD. LED นี้จะกระพริบตามจังหวัดการอ่าน/เขียนของ HDD
ส่วนในด้านของปุ่มสวิทซ์ก็จะมี Power Switch ซึ่งถ้าเป็นเมนบอร์ดแบบ AT ก็จะเป็นการเปิดปิดไฟกระแสสลับ 220 V. แต่ถ้าเป็นเมนบอร์ด ATX ก็จะเป็นการสั่งงานผ่านทางเมนบอร์ดเพื่อเปิด Power Supply ให้ทำงาน ส่วนสวิทซ์อีกตัว หนึ่งก็คือ Reset Switch นั้นจะมีหน้าที่ในการสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มการทำงานใหม่อีกครั้ง (Boot)
JUMPER
จั้มเปอร์เป็นอุปกรณ์ที่เป็นตัวนำทางไฟฟ้า ทำจากแผ่นทองแดงมาพลับเข้าหากัน มีหน้าที่ในการเชื่อมต่อวงจรให้ถึงกัน เพื่อให้ทำงานหรือให้ยกเลิกการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งสุดแล้วแต่ว่าผู้ผลิตเมนบอร์ดจะกำหนดไว้เป็นอย่างไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น