Music Hit In your life

วันอาทิตย์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2553

26 Trick And Tip GOOGLE Search

26 Trick การสืบค้น Google อย่างชาญฉลาด


Google มีอะไรให้เลือกใช้มากกว่าที่คิด เราคงปฎิเสธไม่ได้ว่า google นับว่าเป็นเสิร์ชเอนจินที่มีผู้ใช้มากที่สุด และเชื่อหรือไม่ว่า google ยังมี เคล็ดลับ หรือ Trick อื่นๆที่น่าสนใจอีกมากมาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อนักสืบค้นข้อมูล อย่างกลุ่มนักท่องอินเทอร์เน็ต รวมทั้งผู้เขียนได้เป็นอย่างดี จึงขอเล่าเทคนิคเหล่านี้ไว้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้หลงไหล


1.ใช้เป็นเครื่องคิดเลข สามารถค้นหาผลลัพท์ด้วยสูตรทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างเช่น ต้องการได้ผลลัพท์ของ รูทห้าของ 32 โดยพิมพ์ในเสิร์ชได้ดังนี้ 5th root of 32 หรือ 20 เปอร์เซ็นของ 150 ให้พิมพ์ตัวเลข 20% of 150

2.ใช้เป็นเครื่องแปลงหน่วยมาตรวัด โดยใช้คำว่า in เป็นคำขั้นตรงกลางระหว่างคำศัพท์ เช่น 100 kilometers in centimeters

3.ใช้เป็นเครื่องแปลงสกุลเงิน เช่น ต้องการแปลงสกุลค่าเงินของสหรัฐจาก ดอลลาร์(USD) เป็นสกุลเงินไทย บาท(ฺB) ให้พิมพ์คำว่า 1 usd in baht

4. ค้นหาความหมายของคำ โดยเติมคำว่า define: ไว้หน้าคำศัพท์ที่ต้องการทราบความหมาย เช่น define: agricultural กูเกิ้ลก็จะแนะแหล่งเว็บไซต์ที่ให้คำนิยาม และกลุ่มคำที่เกี่ยวข้องให้

5.เพิ่มผลลัพธ์เป็น 100 รายการ เพียงแค่เติม คำว่า num=100 ลงไปหลังคำว่า search? ในช่องเว็บบราวเซอร์ เมื่อได้ผลลัพธ์จากการสืบค้นแล้ว ตัวอย่างเช่น ต้องการทราบเว็บไซต์ ของ ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แต่ไม่แน่ใจว่า ใช้โดเมนอะไร จึงใช้คำค้น “stks.or.th“ ได้ผลลัพท์คือ http://www.google.com/search?hl=en&q=stks.or.th ให้เปลี่ยนเป็น http://www.google.com/search?num=100&q=stks.or.th

6.การค้นหาข้อมูลเฉพาะสกุลไฟล์ที่ต้องการ โดยเติมเครื่องหมาย โคล้อน(:) ตามด้วยสกุลไฟล์ที่ต้องการ เช่น ต้องการค้นหาเอกสารเกี่ยวกับ เทคโนโลยีชีวภาพ หรือ biotechnology ที่เป็นสกุลไฟล์ .pdf ให้พิมพ์ในกูเกิ้ลดังนี้ biotechnology.pdf

7.การค้นหาคำเฉพาะในเว็บไซต์นั้นๆ เช่น ถ้าต้องการทราบว่ามีบริการอะไรบ้างใน สำนักหอสมุด เกษตรศาสตร์จำได้แต่ชื่อเว็บ ให้พิมพ์คำว่า “บริการ” โดยใช้ คำว่า site: ขั้นกลาง ตามด้วย URL ของห้องสมุด ดังตัวอย่าง บริการ site:www.lib.ku.ac.th/html2

8.การค้นหาข้อมูลภาพยนต์ โดยพิมพ์คำว่า “movie:” ขั้นด้วยเครื่องหมาย โคล้อน (:) ตามด้วยชื่อภาพยนต์ เช่น ถ้าต้องการรู้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องวีรบุรุษชาติพยัคฆ์ หรือ defiance ให้พิมพ์ลงในกูเกิ้ลดังนี้ movie:defiance

9.ต้องการตรวจสอบสถานะการส่งสินค้า ของบริษัท UPS หรือ FedEx และ USPS คุณสามารถพิมพ์รหัสตรวจสอบสถานะลงไปในกูเกิ้ลได้ทันที
10. Google จะใช้ and (และ) อยู่ในประโยคเสมอ เช่น ค้นหา harvest moon back to nature. Google จะค้นหาแบบ harvest AND moon AND back... (พูดง่ายๆคือค้นหาแบบแยกคำ)

11. การใช้ OR (หรือ) คือการให้ Google หาข้อมูลมากขึ้นจาก คำA และ คำB (พูดง่ายๆ คือนำผลที่ได้ มารวมกันรวมกัน) วิธีใช้ พิมพ์ OR ด้วยตัวใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน London และ Paris

12. Google จะละคำทั่วๆไป (เช่น the, to, of) และตัวอักษรเดี่ยว เพราะจะทำให้ค้นหาช้าลง แต่ถ้าคำ พวกนั้นสามารถช่วยให้หาข้อมูลง่ายขึ้น ก็ต้องใช้เครื่องหมาย + ช่วยโดยนำไปอยู่หน้าคำนั้น (ต้องเว้นวรรคก่อนด้วย) เช่น back +to nature final fantasy +x

13. Google สามารถกันขอบเขตการค้นหาให้เล็กลงด้วยการใช้ Advanced Search หรือ การค้นหา แบบพิเศษ ใน Google ภาษาไทย

14. Google สามารถตัดคำพ้องรูปได้โดยใช้เครื่องหมาย - ช่วยโดยการนำไปอยู่คำที่จะตัด เช่น คำว่า bass มี 2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนดรีเราจะตัดที่มีความหมายเกี่ยว กับดนตรีออกโดยพิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีคำว่า music นอกจากนี้มันยังสามารถตัดอย่างอื่นได้อีก เช่น "front mission 3" -filetype:pdf หมายความว่า เรื่องเกี่ยวกับ front mission 3 แต่ไม่แสดงไฟล์ PDF

15. การค้นหาแบบทั้งวลี (คือการค้นหาทั้งกลุ่มคำ) ให้ใช้เครื่องหมาย " " เช่น "Breath of fire IV"

16. Google สามารถแปลเวปภาษา Italian, French, Spanish, German, และ Portuguese เป็น ภาษาอังกฤษได้ (โดยคลิ้กที่คำว่า "Translate this page" ด้านข้างชื่อเวป)

17. Google สามารถหาไฟล์ในรูปแบบอื่นๆที่ไม่ใช่ HTML ได้ ประเภทไฟล์ที่รองรับคือ
- Adobe Portable Document Format (pdf) Microsoft PowerPoint (ppt)
- Adobe PostScript (ps) Microsoft Word (doc)
- Lotus 1-2-3 (wk1, wk2, wk3, wk4, wk5, wki, wks, wku)
- Lotus WordPro (lwp) Microsoft Write (wri)
- MacWrite (mw) Rich Text Format (rtf)
- Microsoft Excel (xls) Text (ans, txt)
- Microsoft Works (wks, wps, wdb)
วิธีใช้ filetype:นามสกุลของไฟล์ เช่น "Chrono Cross" filetype:pdf หมายความว่าเอกสารของ Chrono Cross ที่เป็น PDF และมันยังมีความสามารถดูไฟล์เหล่านั้นในรูปแบบของ HTML ได้ (โดยคลิ้ก View as HTML หรือ รูปแบบ HTML ใน Google ไทย)

18. Google สามารถเก็บ Cached ของเวปที่จะเข้าชมไว้ได้ (โดยคลิ้กที่ Cached หรือ ถูกเก็บไว้ ใน Google ภาษาไทย) ประโยชน์ของมันคือช่วยให้เราสามารถเข้าเวปบางเวปที่อาจโดนลบไปแล้ว โดย ข้อมูลที่ได้เป็นข้อมูลก่อนถูกลบ (ใหม่สุดที่มันจะมีได้)

19.Google สามารถค้นหาหน้าที่คล้ายกัน (โดยคลิ้ก Similar pages หรือ หน้าที่คล้ายกัน ใน Google ภาษาไทย) โดยจะค้นหาข้อมูลที่คล้ายๆ กันให้เรา เช่น ถ้าเรากำลังหาข้อมูลการวิจัย ความสามารถนี้จะ ช่วยให้หาข้อมูลได้มากมายในเวลาที่รวดเร็วโดยไม่ต้องเป็นห่วงเรื่อง keyword

20.Google สามารถค้นหา link ทั้งหมดที่เชื่อมไปยังเวปนั้นได้ วิธีใช้ link:ชื่อ URL เช่น ink:www.google.com และคุณไม่สามารถใช้ความสามารถนี้ร่วมกับการหาแบบอื่นๆ ได้

21.Google สามารถค้นหาเวปที่จำเพาะเจาะจงได้ โดยพิมพ์ คำที่คุณต้องการเจาะจง site:ชื่อ URL เช่น ถ้าคุณต้องการหาเวปเกี่ยวกับการเข้า (admission) มหาวิทยาลัย Stanford ให้พิมพ์ admission site:www.stanford.edu

22.ถ้าคุณมีเวลาน้อย (และคิดว่าโชคดี) Google มีบริการการค้นหาด่วน (ชื่อบริการ I'm Feeling Lucky) โดยที่ Google จะนำเวปที่อยู่ลำดับแรกของการค้นหา ส่งให้คุณเลย (link ไปเวปนั้นให้เสร็จ) เช่น คุณต้องการค้นหาเวปมหาวิทยาลัย Stanford อย่างด่วนให้พิมพ์ Stanford แล้วกด I'm Feeling Lucky หรือ โชคเข้าข้างเราแน่ ใน Google ไทย

23.Google สามารถหาแผนที่ของสหรัฐอเมริกาได้โดยพิมพ์ ที่อยู่ ชื่อถนน พร้อมด้วยชื่อรัฐ เช่น 165 University Ave Palo Alto CA Google จะจัดการส่งแผนที่คุณภาพสูงมาให้คุณ

24.Google สามารถหาเบอร์โทร (เฉพาะอเมริกา) หรือพิมพ์เบอร์โทรแล้วหาบริษัทได้โดยพิมพ์ first name (or first initial), last name, city (state is optional) phone number, including area codefirst name (or first initial), last name, state last name, city, statefirst name (or first initial), last name, area code last name, zip codefirst name (or first initial), last name, zip code แล้วแต่ว่าคุณจะใช้แบบไหน

25.Google สามารถค้นหา Catalog สินค้าได้ (เข้าไปที่ http://catalogs.google.com)

26.Google สามารถเก็บข้อมูลลักษณะการใช้ที่คุณต้องการได้โดยเข้าไปที่ Preferences หรือ ตัวเลือก ใน Google ไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น