CIDR Notation (Classless Inter-Domain Routing)
การอ้างอิงหมายเลขไอพีแอดเดรสข้างต้นเป็นไปตามแบบมาตรฐาน แต่อย่างไรก็ ในปัจจุบันได้มีรูปแบบการอ้างอิงหมายเลขไอพีแอดเดรสด้วยการเพิ่มเครื่องหมาย / (Slash) และตามด้วยขนาดของมาสก์ โดยในส่วนของหมายเลขเครือข่ายจะเรียกว่า พรีฟิกซ์ (Prefix) ในขณะที่หมายเลขโฮสต์นั้นจะเรียนกว่า ซัฟฟิกซ์ (Suffix) ตัวอย่างเช่น หมายเลขไอพีแอดเดรส 128.10.0.0 ซึ่งจะมี 16 บิตแรกเป็นพรีฟิกซ์ และ 16 บิตหลังนั้นเป็นซัฟฟิกซ์ถ้าเขียนให้อยู่ในรูปแบบของสัญลักษณ์ CIDR ก็จะได้ดังนี้คือ 128.10.0.0/16 และด้วยการเขียนแอดเดรสให้อยู่ในรูปแบบ CIDR นี่เอง จึงทำให้เราสามารถรับรู้ถึงว่า แอดเดรสนี้ว่ามีการมาสก์อย่างไรไปในตัว
คราวนี้ลองมาดูว่า การใช้หลักการกำหนดหมายเลขไอพีแอดเดรสด้วยหลักการ CIDR นั้น จะช่วยให้เกิดความยือหยุ่นต่อการใช้งานอย่างไร เช่น สมมติว่าบริษัทที่บริการอินเทอร์เน็ตหรือ ISP ได้มีหมายเลขไอพีคลาส B คือ 128.211.0.0 ไว้คอยบริการลูกค้า และหากมีการใช้ดีฟอลต์ซับเน็ตมาสก์ของคลาส B เองก็จะทำให้เครือข่ายนี้มีเพียงหนึ่งเครือข่าย ดังนั้น ทาง ISP จึงต้องกำหนดพรีฟิกซ์นี้ให้กับลูกค้าเพียงรายเดียวเท่านั้น และภายในหนึ่งเครือข่ายก็สามารถมีจำนวนโฮสต์แอดเดรสได้มากถึง 2 16 โฮสต์ด้วยกัน โดยหาก ISP รายนี้เกิดมีลูกค้าที่ต้องการเครือข่ายที่เชื่อมต่อกับจำนวนโฮสต์มากมายเหล่านี้ ก็ถือว่าสามารถให้บริการพรีฟิกซ์นี้ได้กับลูกค้ารายนั้น แต่ถ้าหาก ISP รายนี้เกิดมีลูกค้า 2 รายที่ต้องการเพียงจำนวนโฮสต์ 12 เครื่องเท่านั้น การกำหนดพรีฟิกซ์ดังกล่าว คงไม่สามารถจะกระทำได้เพื่อรองรับเหตุการณ์นี้
คราวนี้ เราลองมาพิจารณาด้วยการใช้หลักการภายใต้ CIDR โดยกรณีแรกถ้าต้องการกำหนดพรีฟิกซ์ให้กับหนึ่งหน่วยงาน ทาง ISP ก็สามารถใช้ 16 บิต CIDR มาสก์ได้เลย ซึ่งก็คือ 128.211.0.0/16
สำหรับกรณีที่ 2 ที่ทาง ISP มีลูกค้าสองรายที่ต้องการจำนวนโฮสต์เพื่อเชื่อมต่อเพียง 12 โฮสต์เท่านั้น ทาง ISP ก็จะสามารถใช้ CIDR ในการแบ่งส่วนแอดเดรสให้กับลูกค้าทั้งสองรายได้ดังต่อไปนี้
ลูกค้ารายแรก ได้ชุดหมายเลขไอพี 128.211.0.16/28
ลูกค้ารายที่สอง ได้ชุดหมายเลขไอพี 128.211.0.32/28
ถึงแม้ว่าลูกค้าทั้งสองรายจะมีมาสก์ขนาดเดียวกัน (28 บิต) แต่พรีฟิกซ์จะแตกต่างกัน ซึ่งไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาใดๆ เนื่องจากลูกค้าแต่ละรายนั้นจะมีพรีฟิกซืของตัวเองไม่ซ้ำกับใคร และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ทาง ISP จะสามารถเก็บกักหมายเลขไอพีจำนวนมากของตน เพื่อบริการให้แก่ลูกค้ารายอื่นๆ ได้อีกจำนวนมาก ด้วยการลดจำนวนหมายเลขที่ต้องสูญเสียไปโดยใช่เหตุ สำหรับหน่วยงานที่ใช้งานหมายเลขไอพีแอดเดรสไม่เต็มจำนวนกับคลาสที่ได้รับ ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการจัดการแบ่งปันหมายเลขไอพีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การหาแอดเดรสซับเน็ต
ในการหาแอดเดรสซับเน็ต จะใช้ประโยชน์จากหมายเลขซับเน็ตมาสก์และไอพีแอดเดรส
Boundary-Level Masking
ปกติการตั้งค่าซับเน็ตมาสก์ตามมาตรฐาน จะกระทำด้วยการกำหนดบิตเป็น 1 หรือ 0 จนครบ 8 บิต ซึ่งจะตรงกับค่าของเลขฐานสิบคือ 255 หรือ 0 การกำหนดด้วยวิธีดังกล่าวเป็นการกำหนดภายในขอบเขตหรือเรียกว่า Boundary-Level Masking ซึ่งจะทำให้สามารถหาแอดเดรสซับเน็ตได้ง่ายมาก โดยแสดงรายละเอียดการหาแอดเดรสของซับเน็ตดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่ 1
IP address 45 . 23 . 21 . 8
Mask 255 . 255 . 0 . 0
Subnetwork address 45 . 23 . 0 . 0
ตัวอย่างที่ 2
IP address 173 . 23 . 21 . 0
Mask 255 . 255 . 255 . 0
Subnetwork address 173 . 23 . 21 . 0
Nonboundary-Level Masking
สำหรับกรณีมาสกิ้งที่ไม่ได้กำหนดเป็น 255 หรือ 0 จะถือเป็นการกำหนดที่อยู่ภายนอกขอบเขตหรือเรียกว่า Nonboundary-Level Masking ซึ่งวิธีนี้จะใช้ค่าของซับเน็ตมาสก์เป็นตัวกำหนดจำนวนซับเน็ตและจำนวนโอสต์ขึ้นเองตามความเหมาะสม ดังนั้น ในการหากแอดเดรสซับเน็ตสำหรับกรณีนี้จะใช้วิธีการเทียบบิตด้วยตัวลอจิก AND โดยนำตำแหน่งไบต์ของมาสก์ที่มีค่านอกเหนือจาก 0 หรือ 255 ไปเทียบกับหมายเลขไอพีแอดเดรสแสดงดังตัวอย่างต่อไปนี้
ตัวอย่างที่3
IP address 45 . 123 . 21 . 8
Mask 255 . 192 . 0 . 0
Subnetwork address 45 . 64 . 0 . 0
สังเกตได้ว่าตำแหน่งไบต์ที่ 1, 3 และ 4 นั้นง่ายต่อการแปลง ในขณะที่ตำแหน่งไบต์ที่ 2 จะได้ค่าซับเน็ตเวิร์กเป็น 64 ซึ่งมีกระบวนการหาดังต่อไปนี้
123 = 0 1 1 1 1 0 1 1
192 = 1 1 1 1 1 1 1 1
_____________________________________ (เปรียบเทียบบิตด้วยลอจิก AND)
64 = 0 1 0 0 0 0 0 0
ตัวอย่างที่ 4
IP address 213 . 23 . 47 . 37
Mask 255 . 255 . 255 . 240
Subnetwork address 213 . 23 . 47 . 32
สังเกตได้ว่าตำแหน่ง 3 ไบต์แรกสามารถกำหนดได้ทันที ในขณะที่ตำแหน่งไบต์สุดท้ายจะต้องดำเนินการต่อไปนี้
37 = 0 0 1 0 0 1 0 1
240 = 1 1 1 1 0 0 0 0
_____________________________________ (เปรียบเทียบบิตด้วยลอจิก AND)
32 = 0 0 1 0 0 0 0 0
ตัวอย่างการแบ่งซับเน็ตของแอดเดรสคลาส B
w 255.555.0.0/16 (11111111 . 11111111 . 00000000 . 00000000)
1 เครือข่าย/65534 โฮสต์ (ไม่มีซับเน็ต เนื่องจากใช้ดีฟอลต์ซับเน็ต)
w 255.255.192.0/18 (11111111 . 11111111 . 11000000 . 00000000)
2 ซับเน็ต/ซับเน็ตละ 16,382 โฮสต์
w 255.255.252.0/22 (11111111 . 11111111 . 11111100 . 00000000)
62 ซับเน็ต/ซับเน็ตละ 1, 022 โฮสต์
w 255.255.255.0/24 (11111111 . 11111111 . 11111111 . 00000000)
254 ซับเน็ต/ซับเน็ตละ 254 โฮสต์
w 255.255.255.240/28 (11111111 . 11111111 . 11111111 . 11110000)
4, 096 ซับเน็ต/ซับเน็ตละ 14 โฮสต์
From : http://www.burapaprachin.ac.th/network/Lesson.htm
อัพเดตความรู้ ข้อมูล ข่าวสารด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ กับเว็บบล็อก http://computertru.blogspot.com
Music Hit In your life
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
กสทช
(1)
เกมส์คอมพิวเตอร์
(6)
ข่าวสั้นไอที
(3)
ข่าวไอที
(27)
คุณธรรมสำหรับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต
(4)
ทิปคอมพิวเตอร์
(13)
เนื้อหา รูปภาพ หรือสื่ออื่นที่ปรากฎเป็นของเจ้าของบทความนั้นๆ
(15)
แนะนำเว็บไซต์
(2)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
(1)
ระบบเติมเงิน
(1)
ระบบปฏิบัติการ Operating System
(8)
ละเมิด
(1)
Computer IT Technology
(17)
Computer Virus
(7)
Hardware Computer
(32)
Information technology IT
(58)
Network ระบบเครือข่าย
(57)
Software Internet
(28)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น