ปัญญาประดิษฐ์
รูปภาพ จาก http://www.kkpittaya.ac.th
ทราบไหมว่าทุกวันนี้ที่เราเรียกว่า “เทคโนโลยี” นั้นใครเป็นคนคิดค้นขึ้นมา ? แน่นอนหลายคนคงตอบว่า “นักวิทยาศาสตร์” ใช่แล้ว ต้องขอบคุณพวกเขาเหล่านี้ที่สงสัยสิ่งที่ธรรมชาติสร้างขึ้นมาและพยายามกระเสือกกระสนสร้างจนทำสำเร็จให้พวกเราได้ใช้ได้มีความสะดวกสบายจนทุกวันนี้แต่การพัฒนาเหล่านี้ยังไม่จบง่ายๆยังมีกลุ่มนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่พยายามพัฒนาIdeal หรือจินตนาการในการสร้างเทคโนโลยีที่นักวิทยาศาสตร์รุ่นปู่ทิ้งเป็นทฤษฎีไว้ให้ พวกเขาพยายามคิดค้นค้นหามันเพื่อทำให้เป็นรูปธรรม และมีประสิทธิผลที่จะเอื้ออำนวยความสะดวกสบายและเข้าถึงตัวมนุษย์มากขึ้นซึ่งจากเดิมเทคโนโลยีมีเพียงรอรับคำสั่งอย่างเดียวเท่านั้น
ปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีสามารถประมวลผลคำสั่งที่มนุษย์ป้อนเข้าไปว่ามีน้ำหนักเพียงใด แล้วทำการตัดสินใจเองเพื่อหาทางออกที่สมดุลและดีที่สุด ตัวอย่างเช่น จากเดิมคณิตศาสตร์เบื้องต้นสอนว่า1+1เท่ากับเท่าไร ซึ่งคำตอบคือ 2 นั่นคือ การประมวลผลของเทคโนโลยีในช่วงแรก แต่เมื่อเรียนสูงขึ้นแทนที่โจทย์คณิตศาสตร์จะให้หาผลลัพธ์เพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่โจทย์ได้เปลี่ยนหาช่วงคำตอบที่ดูเหมาะสมตามเงื่อนไขที่วางไว้แทน อย่างจากโจทย์ข้างต้นเปลี่ยนเป็น X+Y=2 ซึ่งจากกรณีดังกล่าวจะเห็นผลลัพธ์ที่ออกมานั้นไม่ใช่เพียง 1+1 อย่างเดียวเท่านั้น แต่อาจจะเป็น 0.5+1.5หรือ0.75+1.25ถ้าดูจากโจทย์แล้วคำตอบที่ได้จะไม่สิ้นสุด ยกเว้นจะมีสถานการณ์มาเป็นเงื่อนไขเพื่อมารับรองว่าคำตอบตัวไหนจะสมดุลที่สุด
ลักษณะข้างต้นเป็นการทำงานของ เทคโนโลยี ในปัจจุบัน ส่วนที่เป็นตัวประมวลการตัดสินใจ นั่นคือA.I.(Artificial Intelligence) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นตัวประมวลการตัดสินใจของเทคโนโลยีภายใต้เงื่อนไขต่างๆ โดยเหล่านักวิทยาศาสตร์พัฒนาขึ้นเพื่อเลียนแบบความรักความรู้สึกเหมือนกับมนุษย์ทั้งในด้านซอฟแวร์ และด้านฮาร์ดแวร์ หากใครที่ได้ดูภาพยนตร์เรื่อง“A.I.”ผลงานการสร้างและกำกับของสตีเว่น สปิลเบิร์ทจะทราบว่าเนื้อหาของเรื่องเกี่ยวกับการสร้างพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีความสามารถระดับใกล้เคียงกับมนุษย์เพื่อที่จะได้เป็นเพื่อนเล่นกับมนุษย์จนหุ่นยนต์เริ่มต้องการความรักจากมนุษย์ และภาพยนตร์อีกเรื่องหนึ่งคือ“I.Robot”ลักษณะการนำเสนอคล้ายเรื่อง A.I แต่ต่างตรงที่เรื่องนี้หุ่นยนต์มีลักษณะเป็นทาส
แรงงานของมนุษย์ จนหุ่นยนต์เองมีความรู้สึกไม่ดี เลยคิดจะล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ และปกครองตนเองแทนการอยู่ภายใต้อำนาจของมนุษย์ แต่ภาพยนตร์เหล่านี้เป็นเพียงรูปธรรมเท่านั้น ที่ผู้กำกับสร้างด้วยจินตนาการที่ต้องการให้เทคโนโลยีเป็นเหมือนมนุษย์นั่นเอง
ในโลกแห่งความเป็นจริง การพัฒนาเทคโนโลยีในเรื่องนี้ ยังห่างไกล ทั้งที่มีการคิดริเริ่มตั้งแต่ พ.ศ.2504ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ตามทฤษฎีของไอแซก อาซิมอฟ เจ้าพ่อนิยายวิทยาศาสตร์ ที่ได้ตั้งกฎสามข้อของหุ่นยนต์ (3 Laws of Robots) ซึ่งถูกฝังไว้ในสมองกลทุกอัน เพื่อให้แน่ใจว่ามันจะเชื่อฟังและไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์จนได้กลายเป็นบรรทัดฐานที่ถูกอ้างมากที่สุดทั้งๆที่ไอแซกอาซิมอสไม่ได้เป็นนักวิทยาศาสตร์
ในที่สุดประเทศญี่ปุ่นก็สามารถพัฒนาเทคโนโลยีค่อนข้างสมบูรณ์แบบเป็นที่ยอมรับว่าเป็นหุ่นยนต์ตัวแรกในจินตนาการของเหล่านักวิทยาศาสตร์อย่างแท้จริง โดยมีชื่อเรียกว่า“อาซิโม”จากบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ค่ายฮอนด้า แม้ว่าอาซิโมจะสามารถเคลื่อนไหวด้วย ท่าทางเหมือนมนุษย์ และหลบหลีกสิ่งกีดขวางได้ แต่เบื้องหลังแล้วอาซิโมจำเป็นต้องได้รับคำสั่งจากผู้ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นอาซิโมผ่านจอคอมพิวเตอร์ของเขาและใช้คำสั่งสำเร็จรูปในการสั่งการให้มีการเคลื่อนไหวและทักทายตาม“บท” ที่ถูกเขียนไว้ตั้งแต่แรกเท่านั้น จึงทำให้ความสามารถของอาซิโมนั้นยังห่างไกลจาก“ปัญญาประดิษฐ์”อยู่มาก
การสร้างปัญญาประดิษฐ์มีกระบวนการสร้าง 2ด้านคือ พัฒนากระบวนการคิดของเทคโนโลยีซึ่งเปรียบเหมือนสมองของมนุษย์นี้เองและพัฒนากระบวนการโดยเครื่องจักรเปรียบเหมือนร่างกายของมนุษย์โดยทั้ง2 ต้องมีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน โดยการพัฒนาด้านกระบวนการคิดของมนุษย์นั้นเป็นการเขียนโปรแกรมขึ้นมาในเงื่อนไขกับงานที่ต้องการ จากตัวอย่างเดิมที่ได้กล่าวถึงตอนต้นนั้นX+Y=2คำตอบที่ได้จะไม่สิ้นสุด จึงต้องวางเงื่อนไขในการหาคำตอบ จากตัวอย่างนี้อาจวางกำหนดเงื่อนไขขึ้นเป็นX มากกว่า Y หรือ X น้อยกว่า Y เพื่อให้เกิดการประมวลผลการตัดสินใจหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุดโดยภาษาที่เขียนนี้เป็นการใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ ได้แก่ ภาษา C, Java หรือ Basic Visual C++ส่วนอีกด้านในเรื่องของเครื่องจักรต้องทราบว่าที่เขียนโปรแกรมขึ้นมานั้นมีวัตถุประสงค์ในการเขียนเพื่ออะไรเสียก่อน เพื่อเป็นการหาความเหมาะสมที่สุด
ดังนั้นจากลักษณะดังกล่าวการสร้าง ปัญญาประดิษฐ์นั้นได้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ จึงทำให้เกิดการผสมผสานกับศาสตร์ด้านต่างๆ เกิดเป็นเทคโนโลยีและระบบการทำงานหลายแขนง ได้แก่
หุ่นยนต์ (Robotic) เป็นการเรียนรู้ด้านสรีระของมนุษย์ ซึ่งในปัจจุบัน สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษามีความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีได้จัดตั้งศูนย์วิจัยที่ชื่อว่า FIBO ตัวข้าพเจ้าเองเคยมีประสบการณ์แข่งขันสร้างหุ่นยนต์เตะบอลในรายการ ROBOCUP ซึ่งจัดขึ้นโดยNet-Techที่มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังเป็นเจ้าภาพ โดยตัวหุ่นเป็นรูปแบบเบื้องต้นมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมมีช่องรับและเตะบอล ซึ่งรูปแบบนี้ขึ้นอยู่กับเรื่องกลศาสตร์ที่เราได้เรียนรู้มา และหลักการควบคุมเป็นการเขียนโปรแกรมด้วยภาษาคอมพิวเตอร์
ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert Systems :ES)เป็นลักษณะเน้นที่องค์ความรู้ โดยใช้ผู้เชี่ยวชาญแต่ละสาขามาเกี่ยวข้องเพื่อประยุกต์ใช้กับงานเฉพาะด้าน เช่น เครื่องมือในการพัฒนาและวิจัยการแพทย์
การประมวลผลภาษาธรรมชาติ(Natural Language Procressing : NLP)และเทคโนโลยีเสียง(Voice / Speech Technology) เป็นการสื่อสารระหว่างผู้ใช้กับอุปกรณ์เทคโนโลยี เช่น การส่งอีเมล์ด้วยเสียง หรือการโทรออกของโทรศัพท์มือถือด้วยเสียง
คอมพิวเตอร์โครงข่ายใยประสาท (Neural Computing)เป็นการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งสามารถประมวลผลข้อมูลสารสนเทศคราวละมากๆ เช่นโปรแกรม NeroXL Predictorเป็นโปรแกรมที่ใช้พยากรณ์หุ้นและการลงทุนด้านการตลาดหรือการสืบค้นสื่อสารสนเทศในหอสมุดสุรัตน์โอสถานุเคราะห์ของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ระบบช่วยสอนอันชาญฉลาด (Intelligent Tutoring Systems) และระบบความจริงเสมือน(Vertual Reality Systems) เป็นระบบในการสอนมนุษย์โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งขณะนี้เป็นที่นิยมในโรงเรียน และประยุกต์ในวงการทหารและองค์กรธุรกิจ โดยจำลองสถานการณ์และการทดสอบ
จากข้างต้นได้รู้เรื่องเทคโนโลยีและระบบทำงานหลายแขนงที่จำแนกออกมาใช้ในองค์กรต่างๆนอกจากจะช่วยให้การใช้งานในเทคโนโลยีเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น และยังมีประโยชน์ในด้านอื่น ดังนี้
1.ช่วยพัฒนาในด้านศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์
2.ช่วยให้กระบวนการในการแก้ปัญหามีความรวดเร็วและมีความสอดคล้องกันมากขึ้น
3.กระบวนการในการประมวลผลมีความเที่ยงตรง
4.ช่วยแก้ปัญหาที่ไม่สามารถแก้เองได้ หรือยากต่อการแก้ไขด้วยการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบธรรมดาของมนุษย์ 5.สนับสนุนในการแก้ปัญหาที่ข้อมูลไม่ชัดเจนหรือไม่สมบูรณ์
6.ช่วยค้นหาวิเคราะห์สรุปความหรือแปลผลสารสนเทศที่มีจำนวนมากได้
7.ช่วยเพิ่มผลิตผลในการทำงานมากขึ้น
1.ช่วยพัฒนาในด้านศักยภาพการเรียนรู้ของมนุษย์
2.ช่วยให้กระบวนการในการแก้ปัญหามีความรวดเร็วและมีความสอดคล้องกันมากขึ้น
3.กระบวนการในการประมวลผลมีความเที่ยงตรง
4.ช่วยแก้ปัญหาที่ไม่สามารถแก้เองได้ หรือยากต่อการแก้ไขด้วยการใช้ระบบสนับสนุนการตัดสินใจแบบธรรมดาของมนุษย์ 5.สนับสนุนในการแก้ปัญหาที่ข้อมูลไม่ชัดเจนหรือไม่สมบูรณ์
6.ช่วยค้นหาวิเคราะห์สรุปความหรือแปลผลสารสนเทศที่มีจำนวนมากได้
7.ช่วยเพิ่มผลิตผลในการทำงานมากขึ้น
นอกจากปัญญาประดิษฐ์จะมีประโยชน์แล้วย่อมต้องมีข้อจำกัดและขีดความสามารถในการทำงานของมันเช่นกัน
1.ปัญญาประดิษฐ์จะไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ
2.สารสนเทศที่เป็นองค์ความรู้ (ความรู้บวกประสบการณ์) สำหรับปัญญาประดิษฐ์แล้วจะต้องแปลสารสนเทศนั้นก่อนจึงจะสามารถเข้าใจและใช้งานได้ในขณะที่มนุษย์สามารถเข้าใจสารสนเทศ
นั้นได้เลย
3.การให้เหตุผลจะดีกว่ามนุษย์ก็ต่อเมื่อเป็นปัญหาเฉพาะด้านเท่านั้น
จากเดิมในการสร้างปัญญาประดิษฐ์มีทิศทางการพัฒนาที่เน้นการเอื้ออำนวย สะดวกสบาย และเข้าถึงตัวมนุษย์แต่ในอนาคตอาจเน้นไปเชิงธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ
ในโลกทุกวันนี้มีองค์ความรู้เกิดขึ้นอย่างมากมาย และรวดเร็ว ซึ่งมีอยู่หลายด้านด้วยกัน จึงทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ด้านต่างๆ ขึ้นมากมาย เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีด้านอาหาร เทคโนโลยีด้านการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการดำรงชีวิตของมนุษย์ และอำนวยความสะดวกสบายความรวดเร็ว
ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีเหล่านี้ก็มีผลในทางลบอยู่ไม่น้อย ทั้งที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์โดยตรงและต่อระบบนิเวศที่เป็นส่วนสำคัญของการดำรงชีวิตของมนุษย์ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือเทคโนโลยีมีทั้งผลบวก และผลลบต่อมนุษย์ เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และระบบ คุณค่าด้านวัตถุได้รับความสำคัญมากขึ้น ค่านิยมในการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมากและยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ มีความสอดคล้องกับปัจจัยสี่ ของมนุษย์ที่ต้องการความสะดวกสบาย ดังนั้น การหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีนั้นเป็นไปไม่ได้
มนุษย์หลงใหลไปกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น นับวันยิ่งทวีคูณเพราะเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งตอบรับความต้องการของมนุษย์ได้มากเพียงใด มนุษย์ก็ยิ่งตกอยู่เป็นทาสของมันมากขึ้น ทั้งที่มนุษย์เป็นเจ้าของเทคโนโลยี แต่ก็ยอมรับว่ามันมีส่วนช่วยได้มากโดยเฉพาะโลกที่มีแต่ความเร่งรีบ และในอนาคตของมนุษยชาตินั้นต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างเลี่ยงไม่พ้นแต่จะเป็นนายหรือเป็นทาสของเทคโนโลยีขึ้นอยู่กับมนุษย์เป็นผู้กำหนดเองเท่านั้น
--------------------------------------
ที่มา
สรุปบทความเรื่องปัญญาประดิษฐ์
ของ ภูริลาภ ลิ้มมนตรี
จาก www.nitadebangkok.com
1.ปัญญาประดิษฐ์จะไม่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และแรงบันดาลใจ
2.สารสนเทศที่เป็นองค์ความรู้ (ความรู้บวกประสบการณ์) สำหรับปัญญาประดิษฐ์แล้วจะต้องแปลสารสนเทศนั้นก่อนจึงจะสามารถเข้าใจและใช้งานได้ในขณะที่มนุษย์สามารถเข้าใจสารสนเทศ
นั้นได้เลย
3.การให้เหตุผลจะดีกว่ามนุษย์ก็ต่อเมื่อเป็นปัญหาเฉพาะด้านเท่านั้น
จากเดิมในการสร้างปัญญาประดิษฐ์มีทิศทางการพัฒนาที่เน้นการเอื้ออำนวย สะดวกสบาย และเข้าถึงตัวมนุษย์แต่ในอนาคตอาจเน้นไปเชิงธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบ
ในโลกทุกวันนี้มีองค์ความรู้เกิดขึ้นอย่างมากมาย และรวดเร็ว ซึ่งมีอยู่หลายด้านด้วยกัน จึงทำให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ด้านต่างๆ ขึ้นมากมาย เช่น เทคโนโลยีด้านการสื่อสาร เทคโนโลยีด้านอาหาร เทคโนโลยีด้านการคมนาคมขนส่ง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพื่อตอบสนองการดำรงชีวิตของมนุษย์ และอำนวยความสะดวกสบายความรวดเร็ว
ในขณะเดียวกันเทคโนโลยีเหล่านี้ก็มีผลในทางลบอยู่ไม่น้อย ทั้งที่เกิดขึ้นกับชีวิตมนุษย์โดยตรงและต่อระบบนิเวศที่เป็นส่วนสำคัญของการดำรงชีวิตของมนุษย์ กล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือเทคโนโลยีมีทั้งผลบวก และผลลบต่อมนุษย์ เพราะโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว และระบบ คุณค่าด้านวัตถุได้รับความสำคัญมากขึ้น ค่านิยมในการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปอย่างมากและยากที่จะหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีต่างๆ โดยเฉพาะเมื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ มีความสอดคล้องกับปัจจัยสี่ ของมนุษย์ที่ต้องการความสะดวกสบาย ดังนั้น การหลีกเลี่ยงการใช้เทคโนโลยีนั้นเป็นไปไม่ได้
มนุษย์หลงใหลไปกับเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น นับวันยิ่งทวีคูณเพราะเทคโนโลยีเป็นสิ่งที่เกิดใหม่ได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ยิ่งตอบรับความต้องการของมนุษย์ได้มากเพียงใด มนุษย์ก็ยิ่งตกอยู่เป็นทาสของมันมากขึ้น ทั้งที่มนุษย์เป็นเจ้าของเทคโนโลยี แต่ก็ยอมรับว่ามันมีส่วนช่วยได้มากโดยเฉพาะโลกที่มีแต่ความเร่งรีบ และในอนาคตของมนุษยชาตินั้นต้องเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีอย่างเลี่ยงไม่พ้นแต่จะเป็นนายหรือเป็นทาสของเทคโนโลยีขึ้นอยู่กับมนุษย์เป็นผู้กำหนดเองเท่านั้น
--------------------------------------
ที่มา
สรุปบทความเรื่องปัญญาประดิษฐ์
ของ ภูริลาภ ลิ้มมนตรี
จาก www.nitadebangkok.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น