Music Hit In your life

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

OPEN SYSTEM INTERCONNECTION MODEL (OSI)

OPEN SYSTEM INTERCONNECTION MODEL (OSI)



OSI model พัฒนาโดย ISO เพื่อให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งออกแบบมาแต่ละเครือข่ายสามารถให้ทำงานด้วยกันได้ ISO พัฒนารูปแบบระบบเปิดสำหรับเครือข่าย อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ OSI model สามารถติดต่อกับอุปกรณ์อื่น ๆ ซึ่งใช้ OSI model ด้วยได้โดยง่าย ระบบเปิด (open system) คือ กลุ่มของโปรโตคอลซึ่งอนุญาตให้คอมพิวเตอร์สองเครื่องสามารถติดต่อกันได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงการออกแบบ โรงงานผู้ผลิต หรือ ชนิดของซีพียู OSI model แบ่งเครือข่ายการติดต่อออกเป็น 7 ชั้น ซึ่งแต่ละชั้นจะทำงานโดยมีลักษณะเฉพาะ

Layer 1 : Physical Layer
Physical layer กำหนดชนิดของสัญญาณทางอิเลคโทรนิค และชนิดของตัวเชื่อมต่อ เช่น RS-232 หรือ RJ-45 ที่ใช้สำหรับ Network Interface Card (NIC) ยังกำหนดถึงชนิดของสาย เช่น สาย coaxial สายเกลียว หรือ สาย fiber-optic ที่ใช้สำหรับการส่งผ่านข้อมูล

Layer 2 : Data Link Layer

Data Link layer กำหนดรูปแบบของเฟรม เช่น จุดเริ่มต้นของเฟรม จุดสิ้นสุดของเฟรม ขนาดของเฟรม และชนิดของการส่งผ่าน Data Link layer ประกอบไปด้วยรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

• ด้านผู้ส่งผ่าน Data Link layer รับข้อมูลมาจาก Network layer และ แบ่งข้อมูลออกเป็นเฟรม แล้วเพิ่มที่อยู่ปลายทาง ที่อยู่ต้นทาง Frame Check Sequence (FCS) field และความยาวของฟิลด์ในแต่ละเฟรม และส่งแต่ละเฟรมไปยังชั้น Physical layer
• ด้านผู้รับ Data Link layer รับ bit มาจาก Physical layer และ แปลงมาเป็นเฟรม ตรวจสอบความผิดพลาด ถ้าเฟรมไหนว่าง หรือ ผิดพลาด Data Link layer จะส่งเฟรมนั้นขึ้นไปยังชั้น Network layer
• การแยกเฟรม แยกจุดเริ่มต้นและสิ้นสุดของแตกละเฟรม
• ควบคุมการเดินทาง
• แยกเฟรมควบคุมและ เฟรมข้อมูล
• การจัดการการเชื่อมต่อ ประสานการส่งผ่านระหว่างผู้รับและผู้ส่ง

Layer 3 : Network layer
เลเยอร์ชั้น Network เป็นชั้นที่ออกแบบหรือกำหนดเส้นทางการเดินทางของข้อมูลที่ส่ง-รับในการส่งผ่าน ข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง ซึ่งแน่นอนว่าในการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายการสื่อสารจะต้องเส้นทางการรับ-ส่งข้อมูลมากกว่า 1 เส้นทาง ดังนั้นเลเยอร์ชั้น Network นี้จะมีหน้าที่เลือกเส้นทางที่ใช้เวลาในการสื่อสารน้อยที่สุด และระยะทางสั้นที่สุดด้วย ข่าวสารที่รับมาจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 จะถูกแบ่งออกเป็นแพ็กเกจ ๆ ในชั้นที่ 3 นี้
Network layer มีการทำงาน 2 อย่างคือ Connection less และ Connection Oriented Service
Connection less ทำการตรวจสอบว่าปลายทางมีความพรอ้มในการรับข้อมูลหรือไม่
Connection Oriented Service เชื่อมต่อระหว่างต้นทางและปลายทาง

Layer 4 : Transport Layer

เลเยอร์ชั้น Transport บางครั้งเรียกว่า เลเยอร์ชั้น Host-to-Host หรือเครื่องต่อเครื่อง และจากเลเยอร์ชั้นที่ 4 ถึงชั้นที่ 7 นี้รวมกันจะเรียกว่า เลเยอร์ End-to-End ในเลเยอร์ชั้น Transport นี้เป็นการสื่อสารกันระหว่างต้นทางและปลายทาง (คอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์) กันจริง ๆ เลเยอร์ชั้น Transport จะทำหน้าที่ตรวจสอบว่าข้อมูลที่ส่งมาจากเลเยอร์ชั้น Session นั้นไปถึงปลายทางจริง ๆ หรือไม่ ดังนั้นการกำหนดตำแหน่งของข้อมูล (Address) จึงเป็นเรื่องสำคัญในชั้นนี้ เนื่องจากจะต้องรับรู้ว่าใครคือผู้ส่ง และใครคือผู้รับข้อมูลนั้น

Layer 5 : Session Layer
เลเยอร์ชั้น Session ทำหน้าที่เชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้งานกับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ โดยผู้ใช้จะใช้คำสั่งหรือข้อความที่กำหนดไว้ป้อนเข้าไปในระบบ ในการสร้างการเชื่อมโยงนี้ผู้ใช้จะต้องกำหนดรหัสตำแหน่งของจุดหมายปลายทางที่ต้องการติดต่อสื่อสารด้วย เลเยอร์ชั้น Session จะส่งข้อมูลทั้งหมดให้กับเลเยอร์ชั้น Transport เป็นผู้จัดการต่อไป ในบางเครือข่ายทั้งเลเยอร์ Session และเลเยอร์ Transport อาจจะเป็นเลเยอร์ชั้นเดียวกัน

Layer 6 : Presentation layer

ทำหน้าที่เหมือนบรรณารักษ์ กล่าวคือคอยรวบรวมข้อความ (Text) และแปลงรหัส หรือแปลงรูปของข้อมูลให้เป็นรูปแบบการสื่อสารเดียวกัน เพื่อช่วยลดปัญหาต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ใช้งานในระบบ

Layer 7 : Application Layer
Application เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อกันระหว่างผู้ใช้โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น แอปพลิเคชันในเลเยอร์ชั้นนี้สารมารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่าจะมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะมีเลเยอร์ชั้น Presentation เป็นผู้รับผิดชอบแทนอยู่แล้ว ในรูปแบบ OSI เลเยอร์นั้น Application จะทำการติดต่อกับเลเยอร์ชั้น Presentation โดยตรงเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น