Music Hit In your life

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

เรื่องน่ารู้ต่างๆเกี่ยวกับ ชนิดต่างๆของ UPS

เรื่องน่ารู้ต่างๆเกี่ยวกับ ชนิดต่างๆของ UPS

“ UPS ” เป็นอุปกรณ์ชนิดแหล่งจ่ายกำลังงานไฟฟ้าประเภทหนึ่ง ที่ช่วยให้อุปกรณ์สามารถมีกำลังงานไฟฟ้าใช้ และ ทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการออกแบบใช้งานมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ในสมัยก่อนเราใช้งาน UPS เป็นอุปกรณ์เสริมพิเศษเพื่อแก้ไขคุณภาพกำลังไฟฟ้า ( Power Quality ) โดยมักจะมีการใช้เฉพาะงานที่จำเป็น เช่น ในระบบเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ในเครื่องมือแพทย์ ในเครื่องมือวัดเก็บค่าที่ใช้เวลานาน เป็นต้น และยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลายมากนักเนื่องจากราคาสูง แต่ในปัจจุบันซึ่งนับได้ว่าเป็นยุคไอที ได้มีการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากในระบบบริษัท และ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลตามบ้านกันมากขึ้น อีกทั้งปัจจัยทางด้านราคาที่ค่อนข้างต่ำของ UPS ในปัจจุบัน ยิ่งส่งเสริมให้ความต้องการใช้งาน UPS มีเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเมื่อพูดถึงคำว่า UPS เรากล่าวได้ว่าแทบจะไม่มีใครที่ไม่รู้จัก แต่สำหรับโครงสร้างและการทำงานของ UPS ยังไม่เป็นที่รู้กันมากนัก สำหรับ UPS ที่มีขายในตลาดที่แท้จริงแล้วมี 2 ระบบใหญ่ๆแบ่งตามลักษณะของแหล่งกำลังงานคือ 1. โรตารี่ UPS (Rotary Uninterruptible Power

Supply) ซึ่งใช้พลังงานจากแหล่งน้ำมันเชื้อเพลิงเพื่อแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า และ 2. สเตติก UPS (Static Uninterruptible Power Supply) ซึ่งมีแบตเตอรี่เป็นแหล่งพลังงานไฟฟ้า

สำหรับบทความนี้เราจะพิจารณาถึง สเตติก UPS เท่านั้น เนื่องจากเป็นอุปกรณ์ใกล้ตัวและมีการใช้งานกันอยู่ ซึ่งมีหลายขนาด หลายยี่ห้อ อีกทั้งผลิตภายในประเทศ และนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้มีราคาแตกต่างกันไป ตลอดจนมีการออกสินค้าใหม่ที่มีเทคนิคใหม่ๆออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นทุกวันทำให้ผู้ซื้อมีทางเลือกมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็สร้างความยุ่งยากในการตัดสินใจเลือกซื้ออยู่ไม่น้อย เนื่องจาก UPS ต่างยี่ห้อกันต่างก็ระบุคุณสมบัติ ( Specification ) พื้นฐานที่ใกล้เคียงกันทั้ง อัตราวีเอ ( VA ) ระยะเวลาในการสำรองไฟฟ้า ( Back up Time ) และราคา เพราะเป็นคุณสมบัติที่ผู้ซื้อเข้าใจได้ง่าย ดังนั้นในการเลือกใช้งานควรพิจารณาอย่างไร จึงจะถูกต้องตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ เนื่องจาก สเตติก UPS นั้นโดยแท้จริงแล้วสามารถแบ่งออกได้อีกหลายประเภท ตามลักษณะของรูปคลื่น และ โครงสร้างการทำงาน ซึ่งจะเหมาะสมกับการใช้งานกับอุปกรณ์ หรือ ในสภาวะไฟฟ้าที่แตกต่างกันไป

เนื่องจากคุณสมบัติพื้นฐานของ UPS แต่ละรุ่นที่ผู้ผลิตแต่ละรายได้กำหนดออกมานั้นจะมุ่งเน้นที่อัตรา วีเอ และ ระยะเวลาในการสำรองไฟ เป็นหลัก ทำให้การเลือกซื้อ UPS เพื่อใช้งานนั้น ผู้ซื้อส่วนใหญ่จึงมักจะเข้าใจว่าควรพิจารณาจากค่า อัตราวีเอ ระยะเวลาในการสำรองไฟ และราคาที่เหมาะสมก็เพียงพอ แต่ในความเป็นจริงแล้วเมื่อนำไปใช้งาน ผู้ใช้บางท่านอาจจะพบว่า UPS ไม่สามารถทำงานได้ตรงกับความต้องการ เช่น จ่ายกำลังงานไฟฟ้าได้ไม่เพียงพอ ไม่สามารถป้องกันสภาวะไฟกระชากได้ เป็นต้น ดังนั้นเราควรรู้จัก ชนิด โครงสร้าง และวิธีการทำงาน พอสังเขป เพื่อให้สามารถใช้เป็นความรู้ประกอบการตัดสินใจที่ถูกต้องมากขึ้น ซึ่งในบทความนี้จะจำแนกชนิด และการทำงานของ UPS แต่ละแบบเพื่อพิจารณาความเหมาะสมในการเลือกใช้งานกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องเสียง ระบบไฟฟ้าส่องสว่าง ฯลฯ

ความต้องการยูพีเอส
ทุกวันนี้ อุปกรณ์ที่ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก แต่ผู้คนไม่ค่อยที่จะให้ความสนใจมากนักสักเท่าไหร่ นั่นก็คือ ยูพีเอส (UPS) โดยเจ้าเครื่องยูพีเอสนี้ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่สามารถช่วยปกป้องคอมพิวเตอร์ตัวโปรดของคุณให้มีความปลอดภัยอยู่เสมอ สามารถที่จะป้องกันปัญหาเกี่ยวกับไฟฟ้าที่จะทำอันตรายต่ออุปกรณ์ต่อเชื่อมของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นการเกิดไฟดับ ไฟกระชาก ไฟตก การเกิดโอเวอร์โหลด ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา เมื่อก่อนยูพีเอสนี้ยังไม่เป็นที่สนใจสำหรับนักคอมพิวเตอร์มากนัก เนื่องจากเห็นว่าอุปกรณ์นี้ยังไม่มีความสำคัญกับพวกเขามากสักเท่าไหร่นัก คือคิดว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นจนทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เกิดความเสียหายขึ้น พวกเขาก็สามารถที่จะส่งอุปกรณ์ไปซ่อมได้ เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวมีประกันอยู่แล้ว แต่ท่านลองคิดดูซิว่าถ้าอุปกรณ์นั้นเกิดหมดระยะประกันขึ้นมาแล้วหละก็ ท่านจะต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นอีกเท่าไรเพื่อที่จะซื้ออุปกรณ์นั้นมาทดแทนอุปกรณ์ที่เสียไป ซึ่งมันไม่คุ้มกันเลยใช่ไหมครับ กับการที่จะต้องเสียเงินเพียงเล็กน้อยเพื่อซื้อยูพีเอสสักเครื่องไว้ใช้งานกัน
ที่บอกมานั่นก็เป็นเพียงตัวอย่างที่สามารถที่จะบอกได้ว่ายูพีเอสนั้นมีความสำคัญมากขนาดไหน แต่สำหรับผู้ที่พอจะมีเงินเหลือใช้มากอาจจะบอกว่าเสียไปก็สามารถซื้อใหม่ได้ ที่บอกมานั่นก็มีความจริงอยู่บ้างสำหรับอุปกรณ์อื่นที่ไม่ค่อยมีความสำคัญมากนัก แต่ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่มีความสำคัญค่อนข้างมากอย่างเช่น ฮาร์ดดิสก์ หละแล้วท่านจะทำอย่างไร (ซึ่งฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่ได้รับอันตรายมากที่สุดในการเกิดปัญหาทางไฟฟ้าต่างๆ) จริงอยู่ราคาของฮาร์ดดิสก์นั้นมีราคาที่ลดลงมากแล้ว แต่ฮาร์ดดิสก์นั้นเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการเก็บข้อมูลที่สำคัญต่างๆ ถ้าหากว่าข้อมูลที่สำคัญนี้เกิดสูญหายไปหละ ท่านจะทำอย่างไร อาจจะคงต้องเสียเวลาอีกนานกว่าจะแก้ไขสถานการณ์นี้ได้หรือไม่เพียงเท่านี้อาจจะต้องต้องเสียอะไรอีกหลายๆอย่างตามมาก็เป็นได้
ดังนั้นในการเลือกซื้อยูพีเอสไว้ใช้งานนั้นถือว่าเป็นทางเลือกที่ดีมากสำหรับนักคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย ไม่เพียงเท่านี้ เจ้าเครื่องยูพีเอสนี้ได้กลายมาเป็นอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับสำนักงาน หน่วยงาน หรือบริษัทต่างๆไปแล้ว เพราะสามารถที่จะป้องกันอันตรายเกี่ยวกับไฟฟ้าได้ดี สำหรับท่านที่เคยใช้งานยูพีเอสมาแล้ว ท่านคงจะพอรู้ว่าในการเลือกซื้อ เลือกใช้ยูพีเอสนั้นควรต้องทำอย่างไรบ้าง แต่สำหรับผู้ที่ไม่มีความรู้เกี่ยวกับยูพีเอสนี้มาก่อนหละครับ คงทำให้ในการเลือกซื้อเป็นเรื่องที่ยากน่าดูเลยใช่ไหมครับ แต่ถ้าท่านได้อ่านบทความนี้คงจะทำให้ท่านทราบถึงวิธีการเลือกซื้อยูพีเอสกันมากขึ้นครับ


หลักพิจารณาในการเลือกซื้อยูพีเอส
หลักเกณฑ์ในการพิจารณาสำหรับการเลือกซื้อยูพีเอสนั้น ความจริงแล้วนั้นมีอยู่มากเลยทีเดียว แต่ขอสรุปออกมาเป็นข้อๆ ให้เห็นกันดังนี้ครับ
ชนิดของยูพีเอส
ก่อนอื่นสิ่งที่ท่านควรจะทราบก่อนการเลือกซื้อคือ ท่านต้องทราบว่ายูพีเอสชนิดไหนที่เหมาะกับการใช้งานของท่าน โดยยูพีเอสนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้คือ
1.True Online UPS (Double Conversion UPS) ยูพีเอสแบบนี้เป็นยูพีเอสที่มีความสามารถในการปกป้องอุปกรณ์ต่างๆและคอมพิวเตอร์ของคุณได้ดีที่สุด แต่ก็ต้องแลกกับราคาที่ค่อนข้างแพงด้วย โดยหลักการทำงานของยูพีเอสชนิดนี้คือ เครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่างๆที่ต่อเข้ากับยูพีเอสนี้จะไม่ได้รับกระแสไฟฟ้าโดยตรงจากสายไฟเลย เพราะระบบจะทำการจ่ายกระแสไฟเข้าสู่แบตเตอรี่ก่อน ก่อนที่จะส่งกระแสไฟที่มีความราบเรียบเข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ต่อเชื่อมต่างๆ โดยจะมีอุปกรณ์ที่มีไว้สำหรับเป็นตัวปรับแรงดันไฟให้มีความสม่ำเสมอ ทำให้ไม่มีโอกาสที่จะเกิดไฟตก ไฟเกิน ไฟกระชากได้เลย ซึ่งจากที่เครื่องยูพีเอสแบบนี้มีราคาที่แพงมาก จึงไม่เหมาะที่จะนำไปใช้กับอุปกรณ์คอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ยูพีเอสชนิดนี้เหมาะสำหรับที่จะนำไปใช้กับอุปกรณ์ที่จะเกิดความผิดพลาดไม่ได้เช่น เครื่องมือแพทย์, เซิร์ฟเวอร์, ตู้ ATM, ระบบคอมพิวเตอร์สื่อสาร, ระบบคอมพิวเตอร์การเงินหรือธนาคาร เพราะจำเป็นที่จะต้องการคุณภาพของพลังงานไฟฟ้าที่สมบูรณ์

2.Standby UPS (Off line UPS) ยูพีเอสชนิดที่สองนี้ถือได้ว่าเป็นยูพีเอสที่มีราคาที่ถูก ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของยูพีเอส มีขนาดเครื่องที่เล็กและมีความซับซ้อนภายในเครื่องน้อยที่สุด โอกาสเสียจึงน้อยแต่ถ้าเกิดเสียขึ้นมาจริงๆก็สามารถที่จะซ่อมได้ไม่ยากนัก แต่ถือว่ามีระดับการป้องกันปัญหาทางด้านไฟฟ้าต่ำด้วย คือสามารถที่จะป้องกันไฟดับได้อย่างเดียว แต่ในปัจจุบันยูพีเอสรุ่นใหม่ๆ จะมีวงจรที่ใช้ในการตรวจสอบความผิดพลาดของกระแสไฟโดยเมื่อเกิดปัญหาทางไฟฟ้าขึ้น วงจรก็จะสลับจากการใช้ไฟบ้านเปลี่ยนเป็นไปจากแบตเตอรี่ที่ได้ทำการสำรองไว้ ซึ่งระหว่างการสลับกระแสไฟนี้จะทำให้เกิดปัญหาขึ้นและอาจทำให้คอมพิวเตอร์เกิดปัญหาขึ้นได้ โดยจะไม่เหมือนกับแบบแรกที่สามารถปรับระดับไฟให้มีความสม่ำเสมอได้เป็นยูพีเอสที่หาได้ยากในปัจจุบันแล้ว

3.Line Interactive UPS สำหรับยูพีเอสแบบนี้เป็นยูพีเอสที่เหมาะสมที่จะนำมาใช้ร่วมกับคอมพิวเตอร์โดยทั่วไปหรืออาจจะนำมาใช้กับเซิร์ฟเวอร์ขนาดเล็กก็ได้ เป็นยูพีเอสที่มีราคาไม่สูงมาก หาได้ง่ายในปัจจุบัน มีระดับการป้องกันที่ถือว่าอยู่ในระดับที่น่าพอใจเลยทีเดียว ความซับซ้อนของอุปกรณ์อยู่ในระดับปานกลาง การซ่อมบำรุงทำได้ไม่ยากนัก ถือได้ว่าเป็นยูพีเอสที่มีคนใช้มากและในปัจจุบันก็มียูพีเอสแบบนี้ออกมาจำหน่ายอย่างมากมาย ในส่วนของการทำงานของยูพีเอสชนิดนี้จะมีการทำงานที่คล้ายๆกับยูพีเอสแบบ Standby แต่จะมีความสามารถที่สูงกว่า จะมีการเพิ่มอุปกรณ์ที่เรียกว่า Stabilizer เข้าไป ซึ่งจะคอยตรวจสอบระดับแรงดันไฟฟ้าที่จะป้อนให้กับอุปกรณ์ที่ต่อเชื่อมและคอยทำหน้าที่ควบคุมระดับแรงดันไฟฟ้าให้มีความสม่ำเสมอตลอด นับว่าเป็นยูพีเอสที่เหมาะสมกับคุณมากเลยทีเดียว


ขนาดของยูพีเอสและการนำไปใช้งาน
ก่อนที่เราจะไปเลือกซื้อยูพีเอสมาใช้งานกัน เราต้องทราบก่อนว่าเราต้องนำยูพีเอสนี้ไปใช้งานในด้านใดด้านใด เมื่อเราทราบแล้วว่าเราต้องการนำยูพีเอสนี้ไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ใด จากนั้นต้องหายูพีเอสที่มีขนาดที่เหมาะสมกับอุปกรณ์ต่อเชื่อมของเรา โดยขนาดของยูพีเอสนี้จะมีหน่วยเป็นค่า VA หรือ KVA ซึ่งค่านี้อาจทำให้ท่านสับสนอยู่บ้างเพราะไม่ทราบว่าความจุขนาดนี้เหมาะสมกับการใช้งานขนาดใด ดังนั้นผมจึงมีวิธีการในการคำนวณหาค่า VA ที่เหมาะสมกับการใช้งานของท่านมาฝากกันครับ
ท่านลองประมาณค่าของเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณนั้นกินไฟสักกี่วัตต์ (Watts) แล้วนำค่าวัตต์นี้ไปหารด้วยค่า Power Factor (ค่านี้สามารถสังเกตได้จากบนเครื่องของยูพีเอส) แล้วท่านจะได้เป็นค่า VA ออกมา แต่ส่วนมากอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วไปก็จะบอกขนาดวัตต์ให้คุณทราบเลย นอกจากจะใช้วิธีคำนวณเพื่อหาค่า VA ที่เหมาะสมจากข้างบนแล้ว ยังมีวิธีคำนวณอื่นๆด้วย คือ เมื่อท่านทราบว่ายูพีเอสมีขนาดกี่ VA แล้วและมีค่าของ Power Factor แล้ว เราก็นำค่า VA และค่า Power Factor นี้มาคูณกัน เพื่อจะได้ค่าเป็นจำนวนวัตต์ ที่ยูพีเอสตัวนั้นสามารถที่จะรองรับได้
ตัวอย่างการคำนวณ
1.สมมติว่า UPS เครื่องหนึ่งมีขนาดเท่ากับ 500 VA และมีค่า Power factor เท่ากับ 0.8 เราก็สามารถที่จะหาขนาดวัตต์ที่ UPS นี้สามารถรองรับได้ คือ 500x0.8= 400 วัตต์
2.สมมติว่าขนาดของอุปกรณ์ต่อเชื่อมของคุณมีค่า 250 วัตต์ และมีค่า Power factor เท่ากับ 0.8 ก็สามารถที่จะคำนวณได้จาก 250/0.8 ซึ่งเท่ากับ 312.5 VA ดังนั้นคุณก็ควรเลือก UPS ที่มีขนาด 312.5 VA ขึ้นไป ซึ่งขนาดของยูพีเอสที่น้อยสุดในปัจจุบันมีค่า 500VA โดยเป็นค่าที่เหมาะสมมากกับการนำไปใช้งานเล็กๆน้อย ยิ่งจำนวนวัตต์ของคุณมีค่ามากเท่าไหร่ ท่านก็ควรจะหายูพีเอสที่มีค่า VA เพิ่มมากขึ้นเท่านั้นครับ

ความสามารถในการสำรองไฟ
ท่านคงจะทราบว่ายูพีเอสแต่ละตัวก็จะมีความสามารถในการสำรองไฟฟ้าหรือค่า Backup Time ที่แตกต่างกัน ซึ่งค่านี้หมายความว่า ระยะเวลาที่ยูพีเอสของคุณสามารถที่ส่งกระแสไฟฟ้าไปให้อุปกรณ์ต่อพ่วงได้ โดยนับหลังจากเกิดกระแสไฟฟ้าดับหรือเหตุขัดข้องเกี่ยวกับไฟฟ้าต่างๆไปจนถึงเวลาที่ยูพีเอสไม่สามารถดึงพลังงานของแบตเตอรี่เพื่อส่งให้อุปกรณ์ต่อพ่วงต่อไปได้ โดยระยะเวลาดังกล่าวนั้นจะมีค่าที่แตกต่างกันออกไปตามความสามารถของยูพีเอสที่ท่านใช้งานอยู่ ซึ่งบางเครื่องอาจสามารถสำรองไฟไว้ได้เป็นเวลานานในช่วงระหว่าง 10 – 30 นาที เป็นต้น ซึ่งในการบอกค่า Backup Time เป็นช่วงเวลานั้นก็เพราะว่าไม่สามารถบอกค่าที่แน่นนอนในการสำรองไฟได้ เพราะเราไม่ทราบว่าอุปกรณ์ที่นำไปต่อเข้ากับยูพีเอสนี้มีจำนวนมากเท่าไร ยิ่งจำนวนของอุปกรณ์ต่อเชื่อมมีจำนวนมากขึ้นเท่าใด ระยะเวลาในการสำรองไฟนั้นก็มีค่าน้อยลงเท่านั้น ดังนั้นในการเลือกซื้อยูพีเอสจึงควรที่จะหายูพีเอสที่มีระยะเวลาในการสำรองไฟที่มีค่ามากๆ ยิ่งมากเท่าไรยิ่งดีครับ

จำนวนปลั๊กไฟฟ้าหรือพอร์ตเชื่อมต่อของ UPS
พอร์ตต่างๆนี้ถือว่ามีความสำคัญค่อนข้างมากในการเลือกซื้อยูพีเอสในปัจจุบันของเรา เพราะยิ่งจำนวนของพอร์ตเชื่อมต่อของยูพีเอสมีจำนวนมากขึ้นเท่าไร ก็ทำให้สามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอกมากขึ้นเท่านั้น ท่านจึงมั่นใจได้ว่าอุปกรณ์เชื่อมต่อทั้งหลายจะมีความปลอดภัยมากขึ้นด้วย พอร์ตเชื่อมต่อของยูพีเอสที่ได้ทำการผลิตออกมาให้ผู้บริโภคได้ใช้กันนั้น อย่างน้อยก็ต้องมีจำนวน 2 พอร์ตขึ้นไป คือเพื่อใช้ต่อเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์ 1 เครื่อง (เคส 1 พอร์ตและจอมอนิเตอร์อีก 1 พอร์ต) แต่ในปัจจุบันได้มีการผลิตพอร์ตเหล่านี้เพื่อมากขึ้นเพื่อรองรับกับอุปกรณ์ต่อเชื่อมที่เพิ่มมากขึ้น อาทิ เช่นเครื่องสแกนเนอร์ และเครื่องพรินเตอร์ แต่อุปกรณ์เหล่านี้ไม่ค่อยความเสียหายเกิดขึ้นมากเท่าไรเมื่อเกิดความผิดพลาดของกระแสไฟฟ้าขึ้น แต่ถ้ามีไว้ก็ไม่เสียหายอะไรใช่ไหมครับ แต่ยูพีเอสตามท้องตลาดของบ้านเรานั้นได้มีการเพิ่มพอร์ตสำหรับเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดกับพรินเตอร์เลเซอร์กันมากขึ้น เพราะว่าราคาของพรินเตอร์เลเซอร์นั้นมีราคาที่สูง ข้อเสียของพอร์ตนี้ก็คือไม่สามารถที่จะสำรองไฟไว้ได้
นอกจากพอร์ตที่ได้บอกมานี้ ยังมีพอร์ตอีกชนิดหนึ่งที่คนให้ความสำคัญเป็นอย่างมากเหมือนกันคือ พอร์ตสำหรับเสียบสายโทรศัพท์หรือสำหรับโมเด็ม เพราะพอร์ตเหล่านี้สามารถที่จะป้องกันความเสียหายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูงที่ผ่านเข้ามาทางสายโทรศัพท์ได้ ทำให้ลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับอุปกรณ์ดังกล่าวได้อีกขั้นหนึ่ง

ซอฟต์แวร์ควบคุมการทำงานของ UPS
สิ่งที่ UPS รุ่นใหม่ๆ นั้นจำเป็นที่จะต้องมีคือซอฟต์แวร์พิเศษที่ใช้สำหรับควบคุมการทำงานของเครื่องยูพีเอสนี้ด้วย ซึ่งซอฟแวร์เหล่านี้มีความสำคัญค่อนข้างมากแต่ไม่ค่อยมีใครให้ความสนใจมากนัก แต่จะมีความสำคัญในตอนที่ไม่มีใครคอยดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ถ้าเกิดมีไฟดับขึ้นจริงๆและเกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน จนไม่มีใครคอย Shutdown เครื่องคอมพิวเตอร์ให้ ซอฟต์แวร์นี้จะเป็นเสมือนผู้ช่วยที่จะคอย Shutdown คอมพิวเตอร์ให้คุณโดยอัตโนมัติ นอกจากความสามารถที่บอกแล้วเจ้าซอฟต์แวร์นี้สามารถที่จะบันทึกข้อมูลที่สำคัญของคุณไว้ได้ในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ทางไฟฟ้าขึ้น และสามารถที่จะรายงานผลการทำงานของยูพีเอสหรือสามารถที่จะตั้งเวลา Shutdown ในเวลาที่คุณกำหนดได้


การรับประกันของ UPS
ที่หลายๆ คนมองข้ามความสำคัญอีกอย่างนั่นก็คือเรื่องของการรับประกันของยูพีเอสนั่นเอง ซึ่งสิ่งนี้สามารถที่จะประกันได้ว่ายูพีเอสจะมีความปลอดภัยและสามารถที่จะใช้งานได้ อย่างมั่นใจ เพราะถ้ายูพีเอสเกิดมีปัญหาขึ้นและยังอยู่ในประกันอยู่ คุณก็สามารถที่จะส่งซ่อมหรือเปลี่ยนยูพีเอสตัวใหม่มาใช้งานได้โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ระยะเวลาการประกันนั้นก็ขึ้นอยู่กับว่ายูพีเอสของคุณนั้นมีการรับประกันกี่ปี แต่อย่างน้อยควรมีการรับประกัน 1 ปีหรือมากว่านั้นก็ยิ่งดีครับ แต่ยูพีเอสบางยี่ห้อนั้นอาจมีการรับประกันที่แตกต่างกันคือ อาจจะมีการรับประกันแบตเตอรี่หรือบางร้านอาจไม่มีก็ได้ ดังนั้นจึงควรสอบถามรายละเอียดเหล่านี้ให้มีความเข้าใจเสียก่อน เพื่อที่จะได้ไม่เกิดปัญหาในภายหลังได้ครับ

คุณสมบัติต่างๆ
สิ่งที่จะทำให้ผู้บริโภคเห็นว่ายูพีเอสนี้มีคุณภาพนั้นก็คือ มาตรฐานของยูพีเอส ที่ยูพีเอสนี้ได้รับ เช่น มาตรฐาน ISO 9001 หรือมาตรฐาน มอก. เป็นต้น
แบตเตอรี่ จริงๆแล้วเมื่อท่านซื้อยูพีเอสมาก็จะมีแบตเตอรี่อยู่ภายในยูพีเอสนั้นแล้ว แต่เมื่อแบตเตอรี่เกิดเสื่อมขึ้นมา จึงจำเป็นต้องหายูพีเอสใหม่มาทดแทน ดังนั้นควรจะเลือกแบตเตอรี่ที่มีคุณภาพ เพราะจะทำให้มีคุณภาพในการสำรองไฟเพิ่มมากขึ้น และมีอายุการใช้งานเพิ่มมากขึ้น
ฟังก์ชันพิเศษของยูพีเอส ยูพีเอสที่ดีนั้นควรจะต้องมีไฟแสดงสถานะการทำงานของเครื่องเพื่อที่จะทำให้ทราบว่าตอนนี้เครื่องอยู่ในสถานะใด อีกทั้งยังทำให้สามารถสังเกตเห็นสถานะการทำงานได้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ยูพีเอสที่ดีควรต้องมีเสียงเตือนเมื่ออยู่ในสภาวะอันตรายของยูพีเอส เช่นมีเสียงเตือนว่าไฟในแบตเตอรี่กำลังจะหมด เพื่อทำให้ผู้ใช้สามารถได้ยินได้อย่างชัดเจนและสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ทัน


รูปทรง ขนาดของยูพีเอสก็มีส่วนสำคัญเช่นกัน ควรต้องเลือกยูพีเอสที่มีขนาดและรูปทรงที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ และต้องดูว่าสถานที่จะท่านจะนำยูพีเอสนี้ไปใช้มีขนาดของพื้นที่มากน้อยเท่าไรด้วย เพื่อที่จะได้มียูพีเอสที่มีขนาดที่เหมาะสมไว้ใช้งานกัน


ที่มา http://202.143.163.252

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น